ไขข้อข้องใจ แอปฯ หมอชนะ คืออะไร และหากไม่ใช้จะมีความผิดหรือไม่?

ข้อเท็จจริงเรื่องแอป #หมอชนะ
FACT About #MorChana App


รู้จักกับแอปฯ หมอชนะ แอปพลิเคชันที่ประชาชนทุกคนต้องโหลดเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส COVID-19

8 มกราคม 2564
บทความโดย : ชณิดา ภิรมณ์ยินดี / ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์


:: แอปฯ หมอชนะ คืออะไร ? ::

แอปฯ ‘หมอชนะ’ เปิดตัวตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ช่วงแรกของการระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพื่อเป็นแอปฯ ช่วยประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19  โดยลักษณะการทำงานจะเป็นการเก็บข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้แบบเรียลไทม์ และคอยแจ้งเตือนหากผู้ใช้กำลังอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19

บนเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระบุถึงแอปนี้ว่า


“หมอชนะ” เป็นแอปพลิเคชันที่บันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code เช่น ไทยชนะ เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่าง ๆ  ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรคและบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยหมอชนะจะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อ Covid-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง [https://www.dga.or.th/th/profile/2176/]

นอกจากนี้ แอปหมอชนะ ยังสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่า ผู้ใช้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับใด โดยผู้ใช้จะต้องรายงานข้อมูลความเสี่ยงของตนเองเพื่อให้แอปฯ ได้นำมาวิเคราะห์และประมวลผล เช่น อาการที่เข้าข่ายการติดเชื้อไวรัส ประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะเวลา 14 วัน หากระบบพบว่าผู้ใช้งานมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อสูง ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ และยังแนะนำถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องให้ผู้ใช้ได้ทราบอีกด้วย

การลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปฯ จะเป็นแบบ ไม่ระบุตัวตน (Anonymous) โดยที่ไม่ต้องระบุชื่อและนามสกุล เพราะฉะนั้นผู้ใช้สามารถวางใจได้ว่าการใช้งาน ‘หมอชนะ’ จะไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 

“ แอปพลิเคชันถูกออกแบบไม่ให้กระทบต่อเสรีภาพของผู้ใช้งานและระมัดระวังการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล” หน่วยงานเจ้าของแอประบุ

:: แอปฯ หมอชนะ มีการเก็บข้อมูลบุคคลหรือไม่ ? ::

แอปฯ หมอชนะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเท่าที่จำเป็นเกี่ยวข้องและพอเพียงต่อขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับคำแนะนำวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจะมีการเก็บข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังโทรศัพท์มือถือและบันทึกการเดินทางของผู้ใช้งาน เพื่อที่จะสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนและคำแนะนำในการปฏิบัติตนไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย  Covid-19

:: ทำไมประชาชนจึงต้องใช้ ‘หมอชนะ’ และหากไม่ใช้จะมีความผิดจริงหรือ ? ::

ในการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ต่อเนื่องข้ามถึงปี 2564 และมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมใกล้หลักหมื่นอย่างรวดเร็ว เป็นสถานการณ์ที่ทำให้รัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.จำเป็นต้องออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ การใช้แอปหมอชนะ ก็กลายมาเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญเพื่อช่วยการติดตามผู้สัมผัส

โดยเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ได้กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวว่า ผู้ที่ติดเชื้อรายใด ไม่มีแอปพลิเคชั่น ‘หมอชนะ’ จะถือว่าผู้นั้นละเมิดข้อกฎหมายตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17)

“เน้นย้ำว่าจะต้องมีแอปพลิเคชันอยู่ในโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดตามตัว ซึ่งเดิมนี้เราใช้ไทยชนะอยู่ แต่ต่อไปคือการมีหมอชนะจะต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเช้านี้พูดคุยกันในที่ประชุมของศบค. ชุดเล็กนะครับบอกว่า ต่อไปนี้ใครที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วพบว่าไม่มีการติดตั้งแอปหมอชนะก็จะถือว่าท่านละเมิดในข้อกฎหมายฉบับที่ 17  นี้นะครับ นี่คือสิ่งที่เราจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่ามีหลายครั้งที่เราไม่สามารถที่จะติดตามไทม์ไลน์ออกมาได้ เพราะฉะนั้นหมอชนะจะเป็นคำตอบในการระบาดระลอกนี้นะครับ” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ต่อมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โฆษก ศบค. รวมถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และหน้าเฟสบุ๊กของ ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้ชี้แจงว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องโหลดแอปหมอชนะ หรือการไม่มีแอปหมอชนะจะเป็นความผิดแต่อย่างใด 

:: แอปหมอชนะ ใช้งานอย่างไร ::

หลังจากดาวน์โหลด และลงทะเบียนครั้งแรกแล้ว แอปฯ หมอชนะจะคอยส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ  โดยแอปฯ จะทำการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของผู้ใช้งานหากมีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19  ผู้ใช้งานที่มีความเสี่ยงจะได้รับข้อความแนะนำวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องจากกรมควบคุมโรค ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันต่อไป

:: โหลดแอปหมอชนะ แล้วทำให้แบตมือถือหมดเร็วหรือไม่ ? ::

ในแอปหมอชนะมีทางเลือกให้เปิดใช้งาน “การค้นหาด้วยบลูทูธ” ซึ่งมีคำอธิบายว่า “เปิดการค้นหาการเข้าใกล้บุคคลอื่นผ่านบลูทูธพลังงานต่ำ โดยอัตโนมัติ อาจส่งผลให้มือถือมีการใช้พลังงานมากกว่าปกติ สามารถเลือกปิดได้ถ้าต้องการ แต่ระบบจะไม่สามารถค้นหาอุปกรณ์อื่นโดยอัตโนมัติได้” นั่นคือ ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาว่า อาจทำให้มีการใช้พลังงานมากกว่าปกติ

:: เมื่อติดตั้งแอปหมอชนะแล้ว ถูกเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ? ::

จากการตรวจสอบในหมวดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของระบบปฏิบัติการ iOS 14 พบว่า แอปหมอชนะ ได้ขอสิทธิ์ในการเข้าถึง 4 หมวด คือ พิกัด (Location), บลูทูธ (Bluetooth), การเคลื่อนไหวและฟิตเนส (Motion & Fitness) และ กล้อง (Camera)

ดูคลิปแนะนำแอปหมอชนะ จาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล > https://youtu.be/U1WaiKNFfiM

ดาวน์โหลดแอปหมอชนะ 
 iOS 👉 https://apple.co/3mTo6en
Android 👉 https://bit.ly/3mWguaS
HUAWEI AppGallery 👉  https://bit.ly/2WQ9HFa

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักท่องเที่ยวแห่ไหว้ขอพรพญานาค ท่าน้ำวัดโคกเปี้ยว จ.สงขลา

นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย แห่เดินทางท่องเที่ยว กราบสักการะบูชา ขอพร พญานาค บริเวณท่าน้ำวัดโคกเปี้ยว ริมทะเลสาบสงขลา ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

เผยเครื่องบินของ jeju air บิน 13 เที่ยวใน 48 ชม. ก่อนเกิดเหตุตก

แหล่งข่าวทางด้านอุตสาหกรรมการบินของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เครื่องบินของสายการบินเชจู แอร์ ลำที่เกิดอุบัติเหตุตกที่คร่าชีวิต 179 ราย ถูกพบว่ามีการบินใฃ้งาน 13 เที่ยวบินในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง

เชจูแอร์ล้อไม่กาง

เชจู แอร์ ประสบปัญหาล้อไม่กางอีกลำ

เกิดเหตุระทึกกับเที่ยวบินของสายการบินเชจู แอร์ ของเกาหลีใต้อีกลำหนึ่งจนต้องบินวกกลับสนามบินต้นทางหลังพบปัญหาที่ระบบล้อที่เพิ่งเกิดกับเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-มูอัน และพบเป็นเครื่องบินโบอิ้ง รุ่นเดียวกัน

ไฟไหม้โรงแรมย่านข้าวสาร เสียชีวิต 3 คน

ระทึกกลางดึก! ไฟไหม้โรงแรมแห่งหนึ่งย่านถนนข้าวสาร เจ้าหน้าที่เข้าสกัดเพลิงและเร่งช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ภายใน เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 3 ราย

ข่าวแนะนำ

พระราชทาน ส.ค.ส.2568

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานบัตรพระราชทานพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานบัตรพระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช 2568 แก่พสกนิกรชาวไทย

อวยพรปีใหม่

นายกฯ อวยพรปีใหม่ 2568 ขอคนไทยมีความสุข ปราศจากอุปสรรค-อันตราย

นายกฯ อวยพรวันขึ้นปีใหม่ 2568 ขอคนไทยมีความสุข ปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวงประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวัง เป็นปีแห่งโอกาสของทุกคน

สงขลาเคาท์ดาวน์

สงขลาจัดสถานที่เคาท์ดาวน์หลายจุดในตัวเมือง

หาดใหญ่เคาท์ดาวน์ 2025 ปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เนรมิตย่านธุรกิจการค้าบริเวณถนนตั้งแต่แยกสถานีรถไฟ ให้เป็นย่านแห่งสีสันด้วยการจัดแสดง Lighting บนตึกเก่าสไตล์ชิโนยูโรเปียน

เคาท์ดาวน์เชียงใหม่

เชียงใหม่เคาท์ดาวน์กลางดอกไม้ ส่งท้ายปีคอนเสิร์ต “แบมแบม”

เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงแล้วที่เราจะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ งานอะเมซิ่งเชียงใหม่เคาท์ดาวน์ 2025 ซึ่ง ททท. ร่วมกับ จ.เชียงใหม่ ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์เชียงใหม่ เต็มไปด้วยแสงสีจากแสงไฟ และคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว รวมทั้งแฟนคลับของ “แบมแบม” ที่จะมาร่วมส่งความสุขส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่