ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาถุงจุ่มน้ำร้อน เสี่ยงไมโครพลาสติก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ใครที่ชอบดื่มชา กาแฟ “บรรจุซอง” จุ่มน้ำร้อน เลิกได้แล้ว เพราะมีการฉีดเคลือบพลาสติกไว้บนซอง เมื่อชงในน้ำร้อนจะมีไมโครพลาสติกออกมาปนเปื้อน ส่งผลต่อหลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ จนเป็นมะเร็งได้ ?


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากคลิปที่แชร์กันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ยังเป็นการพูดแบบเหมารวม และอาจมีข้อมูลบางส่วนยังไม่อาจนำมาอ้างอิงได้


ถุงใส่ชาถึงแม้จะเป็นกระดาษแต่ก็มีการเคลือบพลาสติก ซึ่งอาจมีทั้งถุงชาแบบกระดาษมีการเคลือบพลาสติก และถุงชาแบบพลาสติกก็มีไมโครพลาสติกหลุดออกมาได้ ถ้าไล่เรียงโอกาสพบไมโครพลาสติกก็อาจจะเป็นกลุ่มที่เป็นซองพลาสติก และกลุ่มกระดาษที่เคลือบพลาสติกด้วย

กลุ่มสุดท้ายที่อาจพบได้น้อยที่สุด คือถุงผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะมีบางส่วนที่เรานึกไม่ถึง ก็คือตัวใบชาที่มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกได้

เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก น้ำที่ใช้รด ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ ก็มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในนั้นแล้ว


ถัดมา เมื่อเก็บเกี่ยวใบชาแล้วนำมาหมัก ถ้าหมักในภาชนะพลาสติก ก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกได้เช่นกัน

เมื่อหมักใบชาเสร็จแล้วก็นำมาตากแห้ง ในอากาศก็มีไมโครพลาสติก เพราะฉะนั้นก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกตั้งแต่ตัววัตถุดิบด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน สามารถพบไมโครพลาสติกในอาหารทะเลจากแหล่งน้ำที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ ซึ่งรวมถึงเกลือทะเลด้วย

นอกจากนี้ อาหารที่บรรจุในถุงพลาสติกก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกด้วย การใช้ชีวิตประจำวัน มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก มีบางส่วนที่อาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า พรม ก็มีโอกาสปลดปล่อยไมโครพลาสติกออกมา

“ไมโครพลาสติก” เสี่ยงก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

ปัจจุบัน ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์เกี่ยวกับอันตรายของไมโครพลาสติกจากการดื่มชาบรรจุซอง แต่มีการทดลองในสัตว์ทดลองแล้ว หรือการทดลองระดับเซลล์ โดยการใช้แบบประเมินอันตรายที่จะเกิดขึ้น

อันตรายที่พูดถึงเกี่ยวกับไมโครพลาสติกคืออาจทำให้เซลล์อักเสบ และเมื่อการอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งได้ แต่ขอย้ำว่ายังไม่ได้มีการทดลองในมนุษย์ ดังนั้นยังต้องมีการทดลองและวิจัย ขนาด ชนิดของไมโครพลาสติกที่จะไปส่งผลต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายของเราอย่างไร

ขอชี้แจงว่ายังไม่ถึงกับต้องเลิกดื่มชาบรรจุซอง ถึงแม้จะมีการทดลองต้นปี พ.ศ. 2567 ประเด็นที่ว่า ถ้าล้างถุงชาด้วยน้ำธรรมดา (อุณหภูมิห้อง) 3 น้ำ ครั้งละ 10 วินาที และนำมาชงด้วยน้ำร้อน (ตามอุณหภูมิและระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด) การล้างซองบรรจุชาก่อนจะสามารถลดปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำชาที่จะดื่มได้มากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้น การล้างถุงชา (ใช้น้ำอุณหภูมิห้อง) ด้วยการจุ่มถุงชาในน้ำ 10 วินาที ทำ 3 ครั้ง (เปลี่ยนน้ำใหม่ทุกครั้ง) หลังจากนั้นนำมาชงในน้ำร้อนด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

นอกจากนี้ ผู้ดื่มชายังสามารถเลือกวิธีชงด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ เช่น ตะแกรงกรองชา ถ้วยกรองชา

“ไมโครพลาสติก” เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราหลายรูปแบบ และยังไม่ทราบผลอันตรายในระยะยาว มีเพียงแค่การประเมินจากการทดลอง สิ่งที่ทำได้คือการป้องกันด้วยการลดโอกาสการได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาชนะ หรือการเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดไมโครพลาสติกมากขึ้น เช่น การใช้ความร้อนอุ่นอาหารจากภาชนะพลาสติก แต่ถ้าเลือกได้ก็เปลี่ยนใช้ภาชนะที่ทำจากแก้ว และ/หรือ เซรามิก

กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กทารก และผู้สูงวัย ถ้าหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกและการกระตุ้นทำให้มีไมโครพลาสติกออกมาได้ ก็น่าจะเป็นการป้องกันที่ดีกว่า

ในภาพรวม เรื่องนี้เป็นการเหมารวมถุงชาทุกชนิด หรือบอกว่าต้องหยุดื่มชาทันที ยังมีข้อมูลบางส่วนไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ ถ้าแชร์ต่ออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างได้

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาถุงจุ่มน้ำร้อน เสี่ยงไมโครพลาสติก จริงหรือ ?

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

รวบแล้วนักโทษหนีเรือนจำนนทบุรี จนมุมที่ จ.ชลบุรี

จับได้แล้วนักโทษชายหนีเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ระหว่างออกกองงานภายนอก จนมุมที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางแสน จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี

ตัดไฟ 5 จุดชายแดนเมียนมา วันแรก กระทบชาวบ้านหลายหมื่นคน

หลังทางการไทยตัดไฟฟ้าที่เชื่อมโยงไปยังเมืองเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลชาวบ้านแห่กักตุนน้ำมัน โรงพยาบาลเมียวดีได้รับผลกระทบในการเก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ตู้แช่

ตร.ปัตตานีเร่งล่า 6 คนร้ายควงปืนปล้นร้านสะดวกซื้อ

อุกอาจ 6 คนร้าย พร้อมอาวุธมีด-ปืน ยกพวกปล้นร้านสะดวกซื้อใน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินไป 4,492 บาท ตำรวจเร่งไล่กล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆ ที่คนร้ายใช้เป็นเส้นทางหลบหนี

นายกฯ​ ยกคณะเยือนจีน หารือความร่วมมือรอบด้าน

นายกรัฐมนตรี​ ยกคณะเยือนจีนอย่างเป็นทางการ หารือความร่วมมือรอบด้าน แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนตลอดปี สานต่อ​รถไฟความเร็วสูง-แลนด์บริดจ์ ขณะที่เตรียมรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่​ และจะไปให้กำลังใจนักกีฬาไทยแข่งเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว