ชัวร์ก่อนแชร์: การล็อกดาวน์ไม่ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ?

06 กุมภาพันธ์ 2568
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

หนึ่งในมาตรการบรรเทาสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่การลดปริมาณการใช้รถยนต์ ทั้งการขอความร่วมมือการทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home การจำกัดปริมาณรถยนต์ขนส่งที่ไม่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน และการเปิดบริการขนส่งสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 1 สัปดาห์


บทสรุป :

งานวิจัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ ต่างยืนยันว่า การลดปริมาณไอเสียของรถยนต์ ช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 อย่างชัดเจน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


กระนั้น มีการตั้งคำถามว่า มาตรการดังกล่าวสามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้จริงหรือไม่ เนื่องจากในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็มีการประกาศล็อกดาวน์ซึ่งเป็นการลดปริมาณรถยนต์และการจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมาแล้วเช่นกัน

มีการวิจัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ จำนวน 5 ชิ้น ยืนยันว่า การลดปริมาณไอเสียของรถยนต์ ช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 อย่างชัดเจน

1.ผลกระทบของการล็อกดาวน์จาก COVID-19 ต่อความเข้มข้นของอนุภาค : กรณีของการสร้างแบบจำลองความแตกต่างของการถดถอยการใช้ที่ดินในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(The effect of COVID-19 lockdown on particulate matters concentration : Case of land use regression difference modeling in Bangkok, Thailand)

ผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสาร City and Environment Interactions เมื่อปี 2023 โดย ดร.พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา นักวิจัยชำนาญการ AR-4 สาขาวิศวกรรมสำรวจและขนส่ง และคณะวิจัยจากสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไฮไลต์ของงานวิจัยสรุปว่า แม้การล็อกดาวน์เพื่อรับมือไวรัสโควิด-19 ในปี 2020 จะไม่ช่วยลดปริมาณฝุ่นขนาดใหญ่มากกว่า 10 ไมครอน เช่น PM10 และ PMc มากนัก แต่สามารถลดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือ PM 2.5 ได้ถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการล็อกดาวน์

โดยพบว่า การสนับสนุนกิจกรรมทางออลไลน์ช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการการคมนาคมได้อย่างชัดเจน

2.ผลกระทบของการจำกัดทางสังคมต่อมลพิษทางอากาศ : ความเข้มข้นของ PM 2.5 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรด้วยการจัดการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(Social Restriction Eff ects on Air Pollution : How the PM 2.5 Concentration Changed with Lockdown Management of COVID-19 Pandemic Control in Bangkok Thailand)

ผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสาร EnvironmentAsia เมื่อปี 2023 โดย Thae Thae Han Htwe และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล

ผลวิจัยพบว่า ในช่วงล็อกดาวน์เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM 2.5 บริเวณริมถนนลดลง 18.6% และในบริเวณโดยรอบลดลง 9.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันจากปีก่อน

นอกจากนี้ ยังพบการลดลงอย่างชัดเจนของ PM 2.5 ระหว่างการล็อกดาวน์ทั้งในชั่วโมงเร่งด่วนและนอกชั่วโมงเร่งด่วน

แม้ว่า PM2.5 จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงล็อกดาวน์ แต่ยังคงสูงกว่า 66% (33 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ตามมาตรฐานของประเทศไทยในขณะนั้น

3.ผลกระทบของการล็อกดาวน์ COVID-19 ต่อการสัมผัส NO2 และ PM 2.5 ที่ไม่เท่าเทียมกันในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
(Impact of COVID-19 lockdown on NO2 and PM 2.5 exposure inequalities in London, UK)

งานวิจัยปี 2021 ตีพิมพ์ทางวารสาร Environmental Research ทำการสำรวจปริมาณไนโตรเจนไดออกไซด์และค่าฝุ่น PM 2.5 ช่วงการล็อกดาวน์ในกรุงลอนดอน เทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีก่อนการล็อกดาวน์ในช่วงเวลาเดียวกัน

ทีมวิจัยพบว่าการสัมผัส NO2 ของประชากรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (52.3% ± 6.1%) และการสัมผัส PM2.5 ของประชากรลดลงเล็กน้อย (15.7% ± 4.1%)

ส่วนการสัมผัส NO2 และ PM 2.5 ในช่วงเวลา 08.00 น. ลดลงอย่างมากในช่วงการล็อกดาวน์ โดยการสัมผัส NO2 ลดลง 66% ส่วนการสัมผัส PM 2.5 ลดลง 19%

4.การศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ต่อระดับ PM 2.5 ในพื้นที่ภาคพื้นทวีปของสหรัฐอเมริกา: แนวทางการเรียนรู้เชิงลึก
(A comprehensive study of the COVID-19 impact on PM 2.5 levels over the contiguous United States : A deep learning approach)

งานวิจัยปี 2022 ที่ตีพิมพ์ทางวารสาร Atmospheric Environment ทำการสำรวจค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของปี 2019 และ 2020 ใน 11 เมืองของสหรัฐฯ ได้แก่ วอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก บอสตัน ชิคาโก ลอสแอนเจลิส ฮูสตัน ดัลลาส ฟิลาเดลเฟีย ดีทรอยต์ ฟีนิกซ์ และซีแอตเทิล

ผลปรากฏว่า มีเพียงฟีนิกซ์เท่านั้นที่ค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ในปี 2020 สูงกว่าปี 2019 ที่ 5.5% ส่วน 10 เมืองที่เหลือค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ในปี 2020 ต่ำกว่าปี 2019 ทั้งหมด โดย วอชิงตัน ดี.ซี. มีค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ลดลงถึง 21.1%

ทีมวิจัยพบว่า PM 2.5 ลดลงมากกว่าในภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวของมนุษย์ลดลงมากกว่า และในภูมิภาคที่ผู้คนอาศัยอยู่ในบ้านยาวนานกว่า เน้นย้ำถึงผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลง PM 2.5

5.การล็อกดาวน์เนื่องจาก COVID-19 ทำให้มลพิษทางอากาศทั่วโลกลดลง
(COVID-19 lockdowns cause global air pollution declines)

งานวิจัยปี 2020 ที่ตีพิมพ์ทางวารสาร PNAS ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและเครือข่ายสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศมากกว่า 10,000 แห่ง เพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในชั้นโทรโพสเฟียร์และระดับพื้นดินใน 34 ประเทศ

ทีมวิจัยพบว่าการล็อกดาวน์ในช่วงปี 2020 ทำให้ความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์และฝุ่น PM 2.5 ลดลงประมาณ 60% และ 31% ตามลำดับ

นับเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เชื่อมโยงการลดลงของการขนส่งยานพาหนะทั่วโลก กับการลดลงของการสัมผัสมลพิษในอากาศ

แม้ว่าภาวะล็อกดาวน์จะเป็นสิ่งชั่วคราว แต่ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการบรรเทาความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน ด้วยการลดการปล่อยมลพิษในสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2590252023000272
https://tshe.org/ea/pdf/EA14(3)/EA14(3)_08.pdf
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0013935121005302?via%3Dihub
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1352231022000097?via%3Dihub
https://www.pnas.org/doi/10.1073/pnas.2006853117

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

รวบแล้วนักโทษหนีเรือนจำนนทบุรี จนมุมที่ จ.ชลบุรี

จับได้แล้วนักโทษชายหนีเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ระหว่างออกกองงานภายนอก จนมุมที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางแสน จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี

ตัดไฟ 5 จุดชายแดนเมียนมา วันแรก กระทบชาวบ้านหลายหมื่นคน

หลังทางการไทยตัดไฟฟ้าที่เชื่อมโยงไปยังเมืองเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลชาวบ้านแห่กักตุนน้ำมัน โรงพยาบาลเมียวดีได้รับผลกระทบในการเก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ตู้แช่

ตร.ปัตตานีเร่งล่า 6 คนร้ายควงปืนปล้นร้านสะดวกซื้อ

อุกอาจ 6 คนร้าย พร้อมอาวุธมีด-ปืน ยกพวกปล้นร้านสะดวกซื้อใน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินไป 4,492 บาท ตำรวจเร่งไล่กล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆ ที่คนร้ายใช้เป็นเส้นทางหลบหนี

นายกฯ​ ยกคณะเยือนจีน หารือความร่วมมือรอบด้าน

นายกรัฐมนตรี​ ยกคณะเยือนจีนอย่างเป็นทางการ หารือความร่วมมือรอบด้าน แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนตลอดปี สานต่อ​รถไฟความเร็วสูง-แลนด์บริดจ์ ขณะที่เตรียมรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่​ และจะไปให้กำลังใจนักกีฬาไทยแข่งเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว