fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ธงสีรุ้งรุ่นใหม่ สนับสนุนคนเป็นโรค “ใคร่เด็ก” จริงหรือ?

29 มิถุนายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

สี ฟ้า ชมพู และขาว ที่ประดับบนธง Progress Pride Flag นำมาจากสีธง Transgender Pride Flag ไม่เกี่ยวข้องกับธง NOMAP Pride Flag ของกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็กแต่ไม่มีพฤติกรรมล่วงเกิน


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าธงสีรุ้งซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ มีการปรับปรุงธงรุ่นใหม่ด้วยการนำสี ฟ้า ชมพู และขาว มาประดับบนธง เพื่อใช้เป็นตัวแทนกลุ่มคนที่มีรสนิยมใคร่เด็กหรือ Pedophilia

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


จากการตรวจสอบโดย Reuters Fact Check และ Politifact ไม่พบหลักฐานว่าธงสีรุ้งแบบใดของ LGBTQ+ สื่อถึงกลุ่มคนที่มีรสนิยมใคร่เด็กตามที่กล่าวอ้าง

ธงสีรุ้ง (Rainbow Flag หรือ Pride Flag) ออกแบบเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 โดย กิลเบิร์ต เบคเกอร์ ศิลปินชาวอเมริกัน

แต่เดิมมีด้วยกัน 8 สี ก่อนที่จะนำสีชมพูและสีเทอร์ควอยซ์ออกไป จนธง 6 สี กลายเป็นธงสีรุ้งแบบมาตรฐานที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสี แดง(ชีวิต) ส้ม(การเยียวยา) เหลือง(แสงอาทิตย์) เขียว(ธรรมชาติ) น้ำเงิน(ความสงบ) และม่วง(จิตวิญญาณ)

(Rainbow Flag)

นอกจากนี้ กลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender) ก็มีธงที่ใช้เป็นตัวแทนกลุ่มได้แก่ Transgender Pride Flag ประกอบด้วย 3 สีได้แก่ ฟ้า(ความเป็นชาย) ชมพู(ความเป็นหญิง) และขาว(ความเป็นกลางทางเพศ/ไม่ระบุเพศ) โดยออกแบบและนำมาใช้เมื่อปี 1999 โดย โมนิกา เฮล์มส์ สตรีข้ามเพศและนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกัน

(Transgender Pride Flag)

หลายปีที่ผ่านมา ธงสีรุ้งถูกพัฒนาให้เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยปี 2018 มีการออกแบบ Progress Pride Flag โดย แดเนียล คุยซาร์ ศิลปินชาวอเมริกัน โดยเพิ่มสีฟ้า ชมพู และขาวของ Transgender Pride Flag และสีดำและน้ำตาลซึ่งสื่อถึงสมาชิก LGBTQ+ ที่เป็นคนผิวสี, ผู้ป่วยเอดส์, ผู้ล่วงลับ และผู้ตกเป็นเหยื่อการตีตราอย่างผิด ๆ เพราะอัตลักษณ์ทางเพศ

(Progress Pride Flag)

ส่วนปี 2021 วาเลนติโน เวคเคียติ ศิลปินชาวอังกฤษ ได้ปรับปรุง Progress Pride Flag ด้วยการเพิ่มสามเหลี่ยมสีเหลืองและวงกลมสีม่วงมาประดับธง เพื่อสื่อถึงกลุ่มคนที่มีภาวะเพศกำกวม (Intersex)

สาเหตุที่มีการเชื่อมโยงว่า Progress Pride Flag กับกลุ่มคนที่มีรสนิยมใคร่เด็ก เนื่องจากกลุ่ม NOMAP (Non Offending Minor Attracted Persons) หรือ กลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็กแต่ไม่มีพฤติกรรมล่วงเกิน ก็มีธงประจำกลุ่มตัวเองได้แก่ NOMAP Pride Flag ซึ่งประกอบด้วยสี สีฟ้า ชมพู เหลืองและขาว ที่คล้ายกับ Progress Pride Flag รุ่นปี 2018

(NOMAP Pride Flag)

จริง ๆ แล้ว NOMAP Pride Flag ออกแบบขึ้นมาโดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ Tumblr เมื่อเดือนมิถุนายน 2018 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการล้อเลียนกลุ่มคนที่มีพฤติกรรม Pedophilia แต่ภายหลังกลุ่ม NOMAP ได้นำ NOMAP Pride Flag มาใช้เป็นตัวแทนของกลุ่มอย่างแพร่หลาย

ตัวแทนของ B4U-ACT และ Global Prevention Project องค์กรช่วยเหลือการบำบัดกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็ก (Minor Attracted Persons) ยืนยันว่ามีการใช้ NOMAP Pride Flag ในกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็กจริง แต่องค์กรไม่ได้สนับสนุนการใช้ธง NOMAP Pride Flag พร้อมย้ำว่าไม่มีความพยายามที่จะนำกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็กไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ แต่อย่างใด

ตัวแทนของ Human Rights Campaign องค์กรส่งเสริมสิทธิกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งมีสมาชิกและผู้สนับสนุนกว่า 3 ล้านคน ยืนยันว่า ไม่มีธงสีรุ้งรุ่นใดเชื่อมโยงกับกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็ก พร้อมย้ำว่าข่าวลือดังกล่าวเป็นการตอกย้ำความพยายามใส่ร้ายกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยข้ออ้างที่ไม่เป็นจริง

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2023/jun/08/instagram-posts/internet-created-flag-for-pedophiles-is-not-connec/
https://www.reuters.com/article/idUSL1N37S2DT
https://en.wikipedia.org/wiki/Rainbow_flag_(LGBT)
https://en.wikipedia.org/wiki/Transgender_flag
https://en.wikipedia.org/wiki/File:MAPs_Pride_Flag.svg

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ลาบูบู้ เที่ยววัดพระแก้ว – ททท.จ่อดึงน้องเนย ร่วมโปรโมตท่องเที่ยว

ลาบูบู้ เริ่มภารกิจโปรโมตท่องเที่ยวไทย แต่งชุดไทยไปวัดพระแก้ว ขณะที่ ททท.เตรียมดึง Butter Bear หรือ “น้องเนย” ร่วมโปรโมตท่องเที่ยว ดึงแฟนคลับจีนมาเที่ยวไทย

ตามหา “โยเซฟ” คนดวงเฮงถูกรางวัลปีเดียว 2 หน รวย 114 ล้าน

หลังมีข่าว นายโยเซฟ หัวหน้าองค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และพลัดถิ่นชาวเมียนมา ดวงเฮง 4 เดือน ถูกรางวัลที่ 1 ถึง 2 ครั้ง รวมเงินรางวัล 114 ล้านบาท ทำให้นักข่าวหลายสำนักต่างตามหาตัว เพื่อพูดคุยยืนยันความโชคดี

ข่าวแนะนำ

ทั่วไทยจัดพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

ทั่วไทยประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ทร. ประกอบพิธีอัญเชิญเรือสุพรรณหงส์ลงแม่น้ำ

วันนี้ กองทัพเรือ ประกอบพิธีอัญเชิญเรือสุพรรณหงส์ ลงแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีพระบรมราชานุญาตให้เห็นขั้นตอนการอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ

ผู้ว่าการ ธปท. แจงปรับดอกเบี้ยต้องดูรอบด้าน

ผู้ว่าการ ธปท. แจงปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องดูผลกระทบรอบด้าน สร้างความสมดุล ขณะมุมมองเศรษฐกิจไทยปี 2567 มั่นใจยังขยายตัวได้ 3%

กกต. เบี้ยวชี้แจง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ อ้างติดภารกิจ

กกต. เบี้ยวชี้แจง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ อ้างติดภารกิจ ด้าน “ไอลอว์” จี้เปิดผลกระบวนการเลือก สว. ทุกขั้นตอน เหตุหน่วยเลือกใช้มาตรฐานไม่เหมือนกัน ตัวแทนสื่อฯ ยันมีจริงกระบวนการดักคอยผู้สมัคร