ราชทัณฑ์แจงหลักเกณฑ์ “อภัยโทษ”

กรมราชทัณฑ์ 9 ธ.ค.- อธิบดีราชทัณฑ์แจง “อภัยโทษ” จูงใจผู้ต้องขังให้ประพฤติดี ยันมีเกณฑ์พิจารณาปล่อย


นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงชี้แจงหลักเกณฑ์การอภัยโทษว่า การอภัยโทษเป็นการทั่วไปเป็นมาตรการอย่างหนึ่งเพื่อจูงใจให้ผู้ต้องขังมีความประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัยของเรือนจำ และพัฒนาพฤตินิสัย กลับตัวเป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป การอภัยโทษมีเกณฑ์พิจารณาตามความร้ายแรงของคดีและลดหลั่นตามชั้นของนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเป็นไปตามหลักอาชญวิทยาและทัณฑวิทยา รวมถึงเป็นไปตามหลักสากลของการอภัยโทษด้วย

สำหรับการอภัยโทษมี 2 รูปแบบ คือ การอภัยโทษเป็นการทั่วไป และการอภัยโทษเฉพาะราย โดยหลักการอภัยโทษทุกครั้งจะแบ่งผู้ต้องขังเป็น 3 ประเภท คือ 1.ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว ได้แก่ ผู้ต้องกักขัง ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติที่เป็นผู้เจ็บป่วย พิการ ชราภาพ นักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้พิการ เจ็บป่วย ชราภาพ หรือได้รับการจำคุกมานานเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และนักโทษที่ได้รับการพัฒนาพฤตินิสัยจนได้รับการเลื่อนชั้นเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ซึ่งผู้ที่จะได้รับการอภัยโทษปล่อยตัวต้องเป็นนักโทษชั้นกลางขึ้นไป ไม่เป็นผู้กระทำผิดซ้ำ และไม่เป็นผู้กระทำผิดอาญาร้ายแรง เช่น ปล้น ฆ่า ข่มขืน คดีทุจริต หรือคดียาเสพติด


ประเภทที่ 2 ผู้ที่ได้รับการพิจารณาอภัยโทษลดโทษ แบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความร้ายแรงของประเภทคดี และได้รับการลดโทษตามชั้นของนักโทษเด็ดขาด โดยกลุ่มคดีอาญาทั่วไป ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยมจะได้รับการลดโทษ 1 ใน 2 ผู้ต้องขังชั้นกลางจะได้ลดโทษ 1 ใน 5 สำหรับคดีอาญาร้ายแรงตามบัญชีแนบท้ายของ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยมจะได้ลดโทษ 1 ใน 3 ผู้ต้องขังชั้นกลางจะได้ลดโทษ 1 ใน 6 ส่วนคดียาเสพติดรายย่อย ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยมจะได้ลดโทษ 1 ใน 5 ผู้ต้องขังชั้นกลางจะได้รับการลดโทษ 1 ใน 8 และคดียาเสพติดรายใหญ่ ผู้ต้องขังจะต้องได้รับโทษมาแล้วระยะหนึ่งและไม่ได้รับการอภัยโทษในครั้งแรก ซึ่งผู้ต้องขังชั้นเยี่ยมจะได้รับการลดโทษ 1 ใน 6 ผู้ต้องขังชั้นกลาง 1 ใน 9

นายอายุตม์ กล่าวอีกว่า ประเภทที่ 3.ผู้ที่ไม่ได้รับการอภัยโทษ มี 4 กลุ่ม คือ นักโทษเด็ดขาดประหารชีวิตที่ได้รับการลดโทษไปแล้ว คดียาเสพติดรายใหญ่ที่ได้รับโทษจำคุกมาไม่นาน ผู้ทำผิดซ้ำที่ไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดหรือชั้นเยี่ยม และกลุ่มนักโทษชั้นต้องปรับปรุงหรือปรับปรุงมาก หรือกระทำผิดอาญาร้ายแรง เช่น ฆ่าข่มขืน หรือกระทำผิดวินัยได้รับการปรับลดชั้นนักโทษ

ทั้งนี้ การตรากฎหมายได้คำนึงถึงสัดส่วนการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาล โดยกรมราชทัณฑ์ได้เสนอหลักการใหม่ในส่วนผู้ต้องขังที่ได้รับการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจำคุก จากเดิมปล่อยตัวทุกกรณี เป็นให้ได้รับการลดโทษที่เหลืออยู่และลดระยะเวลาคุมประพฤติลงกึ่งหนึ่ง ยกเว้นผู้เจ็บป่วย พิการ ชราภาพ ให้ได้รับการปล่อยตัวไปเช่นเดียวกับนักโทษเด็ดขาด โดยยืนยันดูแลผู้ต้องขังทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และพร้อมให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดที่กลับตัวเป็นคนดีของสังคม.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว