รมว.แรงงาน รับข้อเรียกร้องแรงงานนอกระบบ

7 ธ.ค.- รมว.แรงงาน รับข้อเรียกร้องแรงงานนอกระบบ ยันรัฐบาลจริงใจช่วยเหลือให้ประชาชนมีอาชีพ ได้ประโยชน์เต็มที่


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับข้อเรียกร้องจากประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ยื่นต่อรัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เรียกร้องนโยบายแรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมภายหลังโควิด – 19 คลี่คลาย ยันยัน รัฐบาลจริงใจช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีอาชีพ ได้ประโยชน์เต็มที่

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับข้อเรียกร้อง เรื่อง “การฟื้นฟูแรงงานนอกระบบจากโควิด-19″จาก นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) และเครือข่ายแรงงานนอกระบบประมาณ 300 คน ณ ห้องกลุ่มงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ชั้นล่างอาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่เสนอกระทรวงแรงงานผ่านไปยังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มิได้นิ่งนอนใจ ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานทุกกลุ่มเหมือนคนในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบถือเป็นกลุ่มแรงงานขนาดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้กำชับมาโดยตลอดว่า ทำอย่างไรให้แรงงานนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบได้มากที่สุด วันนี้ที่ทำได้คือ นำแรงงานนอกระบบเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40


ในวันนี้เมื่อพี่น้องกลุ่มแรงงานนอกระบบได้รับความเดือดร้อน ผมฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้ลงมารับหนังสือข้อเรียกร้องด้วยตนเอง สำหรับข้อเรียกร้องต่างๆ ซึ่งหลายเรื่องได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์
ได้แก่ กองทุนรับงานไปทำที่บ้าน การหารือกับกรุงเทพมหานครเพื่อคืนพื้นที่ทางการค้าเพื่อการประกอบอาชีพแก่แรงงานนอกระบบ การจ้างงานอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทยตำบลละ 2 คน การรักษาการจ้างงานแรงงานในระบบกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 การจัดทำแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการขายสินค้าและบริการของแรงงานนอกระบบ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น ส่วนโครงการคนละครึ่งเป็นโครงการที่ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นคนคิดให้กระทรวงการคลังไปทำการบ้าน และนายกรัฐมนตรีได้เพิ่มจำนวนให้อีกเป็นเฟส 2 และเพิ่มจำนวนเงินให้อีก ทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนหลายหมื่นล้าน การคุ้มครองทางสังคมที่เท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสถานการณ์วิกฤตจากโควิด-19

ส่วนข้อเรียกร้องที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนการประกอบอาชีพอิสระเพื่อให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงทุน ให้ฝ่ายเลขาฯ เชิญผู้แทนกระทรวงการคลังเข้ามาร่วมหารือ การขอลดเงินสมทบมาตรา 40 ในระบบประกันสังคม มอบหมายให้ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานบอร์ดร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ ให้มีการประกันการมีงานทำ ให้ สปส.ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ สปส.ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาหารือในรายละเอียดเพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อไป เป็นต้น

สำหรับข้อเรียกร้องของสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ที่ขอยื่นต่อรัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อเรียกร้องนโยบายแรงงานนอกระบบที่ดีกว่าเดิม มีดังนี้


1) ขอให้รัฐสนับสนุนให้มีกองทุนประกอบอาชีพอิสระแรงงานนอกระบบ เพื่อให้แรงงานนอกระบบทุกกลุ่มได้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านทุนการประกอบอาชีพ
2) ขอให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การให้เงินกู้สำหรับกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน
3) คืนพื้นที่ทางการค้าขายเพื่อการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานนอกระบบ
4) ให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำโครงการจ้างงาน workfare เพื่อจ้างงานแรงงานที่ทำงานบริการสาธารณะ
5) ให้มีการประกันการมีงานทำแก่แรงงานนอกระบบอย่างน้อย 10 วันต่อเดือน โดยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
6) ให้รัฐรักษาการจ้างงานแรงงานในระบบกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด–19 โดยอุดหนุนค่าจ้างในลักษณะร่วมจ่ายแบบ Co – Payment ในกิจการขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อป้องกันการผลักแรงงานออกมาเป็นแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้น
7) โครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ต้องจัดสรรโควตาให้แก่แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากโควิด–19 อย่างน้อยร้อยละ 30
8) ให้จัดสรรงบประมาณแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบให้สามารถยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน สนับสนุนการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการขายสินค้าและบริการของแรงงานนอกระบบ
9) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐทุกมาตรการ ทั้งเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง และอื่นๆ ต้องครอบคลุมสินค้าและบริการของแรงงานนอกระบบ
10) ต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพในตลาดแรงงานใหม่หลังโควิด–19 ได้
11) ต้องการคุ้มครองทางสังคมที่เท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสถานการณ์วิกฤตจากโควิด–19 รวมถึงวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
และ 12) ในการดำเนินการตามข้อเสนอทุกข้อ ต้องให้มีการมีส่วนร่วมและกำกับติดตามจากสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ภาคประชาสังคม และภาคีวิชาการ เพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ชาวนครฯ ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.

ชาวนครศรีธรรมราช ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ.ต่อเนื่อง หลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเปิดให้มีการลงคะแนน

เปิดหีบเลือกตั้ง “นายก อบจ.อุดรธานี” ปชช.ทยอยใช้สิทธิ

ชาวอุดรธานีทยอยใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ต่อเนื่อง ด้านเลขาธิการ กกต. เผยคืนหมาหอน ทั้งที่อุดรธานี เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช ยังไม่พบการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น-ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น เตือนภาคใต้ตอนล่างฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก