สำนักข่าวไทย ๙ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการพัฒนาผูประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน สอนแนะนำการจัดทำบัญชีจำนวน ๔๔๔ แห่ง ส่งเสริมและพัฒนาวิสากิจชุมชนตนแบบ จำนวน ๑๗,๐๐๔ ราย และพัฒนาผลิตภัณฑแปรรูปวิสาหกิจชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ ผลิต/สถานที่ผลิต/ตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ ๒๔ แห่ง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดทำร่างแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างกลไกในการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญหาท้องถิ่น โดย ทส. (สพภ.) ได้เสนอร่างแผนดังกล่าวต่อ สศช. แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สศช.
กระทรวงกลาโหม โครงการเศรษฐกิจพอเพียง / โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
กระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialised Financial Institutions : SFIs) แก้ไข พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ใหอํานาจ ธปท. ออกหลักเกณฑ์ การกํากับดูแล โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อดูแลความมั่นคง (Prudential Regulation) ของ SFIs พร้อมแต่งตั้งผูตรวจการเพื่อตรวจสอบ SFIs เพื่อป้องกันการดําเนินงานในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของรัฐ (Prompt Preventive Action: PPA) และกําหนดโทษ ช่วยให้ SFIs สามารถดําเนินธุรกิจ และดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคงมากขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
กระทรวงอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป้าหมายในพื้นที่ EEC (จังหวัดระยอง ชลบุรี และปราจีนบุรี) โครงการการพัฒนาและขยายผลการใช้เทคโนโลยีรีไซเคิลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ โครงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป้าหมายในพื้นที่เมืองปริมณฑล (จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และปทุมธานี) โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีรีไซเคิล เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้วัตถุดิบทดแทนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ ๓ ซึ่งผลการดำเนินงานล่าสุด ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากกรมเจ้าท่า การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อลดปัญหาอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑. การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในพื้นที่ เทศบาลเมืองน่าน เทศบาลเมืองเชียงราย เทศบาลเมืองพังงา และ จ.ขอนแก่น, อุดรธานี, นครพนม, มุกดาหาร ๒. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทีโอที พัฒนาการใช้ประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมในเขตพื้นที่ EEC
กระทรวงคมนาคม การพัฒนาท่าอากาศยานสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ท่าอากาศยานเบตง จ.ยะลา กำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี ๒๕๖๓ พัฒนาถนนทุกสายให้กลายเป็นเส้นทางแห่งความสุขเชื่อมโยงการเดินทาง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา – มาบตาพุด ระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร พัฒนาระบบรางให้เป็นแกนหลักการเดินทางและขนส่งของประเทศ เร่งผลักดันแนวทางการบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โครงการระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระยะทาง ๒๕๒ กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ระยะทาง ๒๒๐ กิโลเมตร กระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดพื้นที่ EEC อำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร โดยใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ – สนามบินอู่ตะเภา ๔๕ นาที เร่งรัดดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการจัดให้มีระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค โดยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก โดยใช้มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) พัฒนาถนนทุกสายให้เป็นเส้นทางแห่งความสุขเชื่อมโยงการเดินทาง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา – มาบตาพุด ระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร ก่อสร้างสะพานเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน เปิดสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา แห่งที่ ๒ (แม่น้ำเมย – ตองยิน) ระยะทาง ๒๑.๔ กิโลเมตร เชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งและพื้นที่เศรษฐกิจระหว่างไทยกับเมียนมา และเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก เปิดสะพานมิตรภาพไทย – กัมพูชา (หนองเอี่ยน – สตึงบท) ระยะทาง ๔.๗๑๔ กิโลเมตร เชื่อมเส้นทาง GMS ส่งเสริมเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พัฒนาศูนย์การขนส่งชายแดนและสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค เร่งรัดการก่อสร้างโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย เพื่อการขนส่งสินค้าจากจีนตะวันตก และเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งเป็นระบบรางด้วยรถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ เพื่อขนส่งมายังท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือปากบาราในอนาคต บริษัท ขนส่ง จำกัด ดำเนินโครงการบริการรถโดยสารเชื่อมต่อแบบ Feeder Services เพื่อสนับสนุนบริการรถโดยสารให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น และมีแผนการเชื่อมต่อระบบ Feeder ในเส้นทางที่มีความเหมาะสมอีก ๑๒ เส้นทาง
ศอ.บต. ดำเนินการพัฒนา ผลักดันเกี่ยวกับเมืองต้นแบบ ๔ แห่งคือ เบตง, สุไหงโก-ลก, หนองจิก และจะนะ พัฒนาประสิทธิภาพการค้าชายแดน ๙ จุด ในจังหวัดชายแดนใต้.-สำนักข่าวไทย