fbpx

รร.แพทย์ไม่ขัด 30บาทรักษาทุกที่

กรุงเทพฯ 7 ต.ค.-ประธาน UHOSNET ไม่ขัดนโยบายยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ผู้มีสิทธิบัตรทองไปรับบริการที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้ทำความเข้าใจกับประชาชนว่าหมายถึงหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อไม่ให้หลงไปโรงพยาบาลตติยภูมิจนเกิดความหนาแน่น พร้อมแนะผู้ป่วยโรคเรื้อรังรักษาที่หน่วยบริการใกล้บ้านกับแพทย์คนเดิมจะดีที่สุด

นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และ ประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลในกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) ให้ความเห็นถึงมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งเห็นชอบข้อเสนอยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้ ว่า ในประเด็นที่ให้ประชาชนไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ในระบบบัตรทองโดยนำร่องในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลนั้น เข้าใจว่าเป็นการเพิ่มความสะดวก เพิ่มทางเลือกแก่ผู้รับบริการให้มากขึ้น ซึ่งส่วนตัวไม่ได้ขัดอะไร แต่ขอให้ทำความเข้าใจกับประชาชนว่าหมายถึงหน่วยบริการปฐมภูมิ ไม่ใช่โรงพยาบาลทุกแห่ง เพราะถ้าไม่เข้าใจก็อาจหลงไปโรงพยาบาลตติยภูมิซึ่งจะทำให้เกิดความหนาแน่น


ขณะเดียวกัน ตนมองว่าในส่วนของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น อยากแนะนำให้ไปรับบริการกับหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านเพื่อความสะดวกในการเดินทางและจะได้รับการดูแลได้ต่อเนื่อง การจะไปรับบริการในหน่วยบริการหลายแห่ง ในระยะยาวตนมองว่าไม่ดี เพราะข้อมูลการรักษาพยาบาลจะอยู่ที่หน่วยปฐมภูมิอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน แต่ไม่แน่ใจว่าข้อมูลจะลงลึกในรายละเอียดทั้งหมดหรือไม่ ขณะที่หน่วยบริการเดิมก็ลำบากเพราะแต่เดิมดูแลคนไข้อยู่ แล้วอยู่ๆ คนไข้ไปรักษาที่อื่น หากวันหน้าเป็นอะไรมาก็อาจกังวลว่าจะดูแลได้ดีหรือไม่ ส่วนสถานบริการที่ไม่ใช่ปฐมภูมิก็อาจกังวลว่าคนไข้จะมาที่โรงพยาบาลหรือไม่เพราะขณะนี้ก็มีความหนาแน่นอยู่แล้ว

“ตรงนี้อยากแนะนำประชาชนว่าถ้าเป็นโรคเรื้อรังควรไปรักษากับหน่วยปฐมภูมิใกล้บ้านจะดีกว่า เพราะการวินิจฉัยและยาอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูอย่างอื่นด้วย แพทย์แต่ละคนถ้ารักษากันไปนานๆ จะรู้ว่าการตอบสนองต่อยาของคนไข้แต่ละคนเป็นอย่างไร ยาไม่เหมือนขนมที่จะเลือกกินตัวไหนก็ได้ การตอบสนองของยาในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นโรคเรื้อรังอยากแนะนำให้ไปรับบริการจากแพทย์คนเดิม นอกจากนี้ แพทย์ในระบบปฐมภูมิที่อยู่ในพื้นที่อาจไปช่วยดูแลหรือวางมาตรการสร้างเสริมสุขภาพได้ดีกว่า” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว


สำหรับประเด็นที่จะให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่มีความพร้อม เพื่อไม่ให้อาการลุกลามและเพิ่มโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้น นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ในทางนโยบายเข้าใจว่าเป็นการเพิ่มเป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน แต่ยังแนะนำเช่นเดิมว่ามะเร็งก็เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นอยากให้ไปรับบริการตามพื้นที่ที่กำหนดในเขตสุขภาพ

“เข้าใจว่าทาง สปสช.คงจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาวางระบบด้วยกันเพื่อให้ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปเก้อ เคสเหล่านี้ไม่ได้เร่งด่วน มีเวลาเป็นวันหรือหลายๆ วันในการจัดคิว เช่น เป็นมะเร็งปากมดลูก ก็จัดคิวว่าหน่วยบริการไหนที่พร้อมรับ แล้วเอาไป Match กับความต้องการของคนไข้ ถ้าคนไข้อาจเลือกโรงพยาบาลในโซนใกล้ๆ บ้านแล้วหน่วยบริการพร้อมรับก็จบ คนไข้ไม่เดินทางไปเก้อ แต่ต้องมาร่วมกันออกแบบระบบ รวมทั้งระบบการจ่ายที่ต้องสอดคล้องกัน” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้