ระวังโรคไข้เลือดออก แพร่ระบาดต่อเนื่อง

กรมควบคุมโรค 15 ก.ย.-แพทย์ห่วงโรคไข้เลือดออก แพร่ระบาดต่อเนื่องยังไม่สงบ ย้ำประชาชนทุกคนช่วยหยุดยั้งได้


สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด) ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-29 สิงหาคม 2563 พบผู้ป่วย 6,029 ราย เสียชีวิตแล้ว 4 ราย ครองสถิติสูงอันดับที่ 2 ของประเทศ

นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ เนื่องจากมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ ทำให้มีแหล่งน้ำขังตามภาชนะเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถานการณ์โรคที่เฝ้าระวัง พบว่า ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ยังพบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมเพิ่มขึ้น ดังรายงานที่แจ้งข้างต้น


หากจะถามว่าเหตุใดโรคไข้เลือดออกจึงยังเป็นปัญหาในพื้นที่ คงต้องถามต่อว่าประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเต็มที่แล้วหรือยัง หากตอบว่ายังไม่เต็มที่ นั่นคืออุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหาของโรคไข้เลือดออกให้ลดลงไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดในบทบาท ที่ทุกคนคาดหวังให้ อสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่กำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านเรือนของประชาชน ควรปรับความเข้าใจใหม่ว่า การจัดบ้านเรือนให้สะอาด ปลอดภัย เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านเอง ที่จะต้องลงมือสำรวจ และกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายด้วยตนเอง

ด้วยการใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้โล่ง อากาศปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก 2.เก็บขยะ เศษภาชนะต่างๆไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และ 3.เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด เช่น โอ่ง ไห ขวด ถัง เป็นต้น ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ที่สำคัญหากมีสมาชิกในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วยที่ต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ใบหน้าหรือผิวหนังแดง อาเจียน ปวดท้อง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันเวลา


ทั้งนี้ หากในบ้านหรือบริเวณใกล้เคียงบ้านมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดสเปรย์กระป๋อง เพื่อความรวดเร็วในการควบคุมการระบาดของไข้เลือดออก เนื่องจากราคาไม่แพง หาซื้อง่าย ใช้งานสะดวก และส่วนใหญ่มีใช้ในครัวเรือนอยู่แล้ว ในการพ่นสารเคมีมีข้อควรระวังคือ ก่อนพ่นจะต้องเตรียม เก็บอาหาร ปกปิดให้มิดชิด และให้คนและสัตว์เลี้ยงออกจากห้องหรือบริเวณที่จะฉีดพ่น ผู้ที่ฉีดพ่นควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดก่อนฉีดพ่น

หลังจากฉีดพ่นแล้วให้ปิดอบทิ้งไว้ 10 -15 นาที แล้วจึงเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศออก หลังการฉีดพ่นทุกครั้งควรล้างมือและฟอกสบู่ เก็บกระป๋องสเปรย์ให้มิดชิด ห่างไกลจากมือเด็กหรือเปลวไฟหรือที่ที่มีความร้อน และห้ามนำกระป๋องไปเผาไฟเพราะจะเกิดการระเบิดได้ ขอให้แยกทิ้งเป็นขยะอันตราย หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ

เดินทางปีใหม่สายเอเชีย

ถนนสายเอเชียมุ่งสู่ภาคเหนือรถเริ่มมาก

ประชาชน เริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา และไปท่องเที่ยวช่วงส่งท้ายปี 2567 รับปีใหม่ 2568 การจราจรถนนสายเอเชีย ฝั่งขาขึ้นภาคเหนือ ช่วงชัยนาท รถเริ่มมาก

ฉายาตำรวจปี67

เปิด 10 ฉายาตำรวจ ปี 67

สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมฯ เปิด 10 ฉายา ตำรวจ “บิ๊กต่าย” ฉายา “กัปตันเรือกู้” จากภารกิจร้อนในการกอบกู้วิกฤติศรัทธา-ภาพลักษณ์องศ์กร “สารวัตรแจ๊ะ” ได้ฉายา “อย่าเล่นกับระบบ แจ๊ะ”