กรุงเทพฯ 3 ก.ย.-รองนายกฯ วิษณุ เปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พร้อมฝาก ราชบัณฑิตยสภา และคนไทย ร่วมกันอนุรักษ์ พัฒนา และต่อยอด คุณค่าทางภาษา ใช้ภาษาเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการเนื่องในวันภาษาไทย รู้ทันสีสันภาษาสื่อ โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ รู้ รัก ภาษาไทย พร้อมมอบเกียรติบัตรใก้แก่นักเรียนที่ชนะการประกวดเล่าเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านอาหาร โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยตามกำหนดเดิม การจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฏาคมของทุกปี แต่ปีนี้เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเลื่อนการจัดงานมาวันนี้
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในนามรัฐบาลขอบคุณราชบัณฑิตยสภา ที่มีการจัดงานวันภาษาไทยขึ้น หลังโควิด-19 ขึ้น แม้จะยกเลิกก็ได้ ซึ่งราชบัณฑิตยสภา เป็นหลักของประเทศในด้านภาษา หัวใจสำคัญคือ ภาษาไทย เมื่อเอ่ยถึงราชบัณฑิตจะต้องนึกถึงภาษาไทย เนื่องจากเป็นผู้จัดทำพจนานุกรมขึ้น เมื่อมีการถกเถียงในทางกฏหมายเรื่องภาษาที่ใช้ ศาลต้องให้เปิดพจนานุกรม เพื่อยุติ กล่าวกันว่าราชบัณฑิต ถือเป็นศาลฎีกา ของภาษาไทย คำใดที่ไม่มีในพจนานุกรม แม้แต่คำใดที่มีการถกเถียงกันในทางราชการ ต้องให้ถามราชบัณฑิตยสภา บทบาทของราชบัณฑิตยสภา มีความสำคัญมาก เมื่อถึงวันภาษาไทย ต้องมีการสืบทอด จัดงาน ทุกปี เพื่อให้หน่วยงานอื่นเจริญรอยตามในการให้ความสำคัญของภาษาไทย เพราะเป็นภาษาไทย เป็นภาษาที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารกันมายาวนาน และมีภาษาเป็นของเราเอง เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ ต้อง รักษา พัฒนา และต่อยอด เป็นสิ่งที่ใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆของประเทศ การใช้ภาษา มีทั้งใช้ภาษาไทยให้เป็นประโยชน์ หรือใช้ในการประหัตประหารกัน ทำลายกัน หลอกลวง ต้องเลือกใช้ให้ถูกทาง
พร้อมขอบคุณราชบัณฑิต ที่จัดช่วง รู้ทันสีสันภาษาสื่อ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาไทยในทางออนไลน์ หรือ ซึ่งมีความสำคัญมากกับยุคปัจจุบัน ที่จะได้รูเท่าทันและเข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง
ด้านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน ให้ภาษาไทยอยู่คู่สังคมไทยต่อไป ในฐานะภาษาแม่ แม้ในโลกยุคปัจจุบัน มีศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งศัพท์ทางดิจิทัล ต้องมีการบัญญัติขึ้นมาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง คือความสำคัญของราชบัณฑิตยสภา ต้องมีทั้งการอนุรักษ์ พัฒนา วิธีการใช้ให้ถูกต้องเพื่อส่งต่อคสามรู้จากรุ่นสู่รุ่น
นอกจากนี้ต้องสอดรับกับโลกยุคไอทีและรูปแบบการนำเสนอการเรียนการสอนต้องทันสมัย เพื่อสร้างความน่าสนใจในการเรียนภาษาไทยในอนาคต เช่น สร้างแอนิเมชันทางภาษา รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ภาษาถิ่นที่เป็นมรดกตกทอดของบรรพบุรุษ ซึ่งราชบัณฑิตคือส่วนสำคัญ รวมถึงในโลกยุคข้อมูลข่าวสารเพื่อการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้อง ราชบัณฑิต มีการบัญญัตศัพท์ใหม่เพราะอาจมีศัพท์แสลงใหม่ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง .-สำนักข่าวไทย