เสวนากฏหมายควบคุมน้ำเมา ไม่ลิดรอนสิทธิประชาชน

กรุงเทพฯ 2 ก.ย.-เวทีเสวนา ย้ำกฎหมายควบคุมน้ำเมาไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เครื่องมือกลั่นแกล้งคนทำมาหากิน และไม่ได้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน


วันนี้ (2ก.ย.) ที่เดอะฮอลล์ บางกออก ในเวทีเสวนาหัวข้อ “ผ่าความจริง…มาตรา32คุมโฆษณาน้ำเมาเพื่อใคร” จัดโดย เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่

ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา โฟนอินร่วมเวทีว่า จากกรณีมีการขยายประเด็นโจมตี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา32 ว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเกิดกระแสแบนหรือห้ามโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอ้างว่ามีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่มีกฎหมายนี้ ตนมองว่าเป็นขบวนหนึ่งของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เช่น กลุ่มธุรกิจ craft beer ที่ต้องการขยายตลาด เขามองว่าตัวกฎหมายจำกัดโอกาสขยายตลาด แม้ทุนใหญ่จะไม่กระทบมากนักแต่ถ้าแก้กฎหมายได้ ทุนใหญ่จะปลดล็อกและได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะทุ่มโฆษณาและการตลาดได้เพิ่มขึ้น


“ต้องสร้างความเข้าใจว่ากฎหมายนี้ ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยที่บังคับใช้ แต่มีครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง70%และอ้างอิงตามหลักการประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องสร้างความชัดเจนขั้นตอนบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอาจแก้ไขในกฎหมายลูกหรือชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ เพื่อช่วยลดแรงกดดันจากภาคประชาชน และช่วยสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนด้วย” นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าว

ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ประเทศฟินแลน์ ถือว่ามีกฎหมายกำกับสื่อโฆษณาที่เข้มแข็ง ทำให้การดื่มลดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในประเทศอเมริกา ที่แบ่งสื่อ 3 ประเภท ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์ พบว่า มาตรการแบนหรือควบคุมโฆษณาในสื่อ1ประเภท จะลดการดื่มในกลุ่มประชากรได้ถึง 5-8%ประกอบกับข้อมูลงานวิจัยภายในประเทศที่ไม่ได้กำหนดให้สื่อประเภทต่าง ๆ แบนการโฆษณาแอลกอฮอล์ในโทรทัศน์ พบว่า ถ้าดูโทรทัศน์เพิ่มขึ้นมากกว่า1ชั่วโมง/วัน มีโอกาสเริ่มเป็นผู้ดื่มมากขึ้น 9-30%

นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมโรคที่ 5 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าธรรมดาทำลายสุขภาพ จากการศึกษาทั่วโลกพบว่า หากจะหยุดยั้งภัยคุกคามนี้ ต้องใช้3มาตรการ 1.การจำกัดการเข้าถึงสถานที่/วันเวลา/บุคคล2.ขึ้นภาษี 3.ห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาด และต้องทำทุกมาตรการไปพร้อมๆกัน ยิ่งมาตรการห้ามโฆษณา ถือว่า สำคัญมาก หากปล่อยให้โฆษณาอิสระ แล้วมาตรการอื่นๆแม้จะทำเต็มที่ ก็จะไม่ได้ผลสำเร็จ


“ขอย้ำว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญและหลักสิทธิมนุษยชนสากล เพราะร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศ และผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจน ว่าไม่ได้ขัดแย้งกับกับรัฐธรรมนูญเพราะอยู่ภายในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจกระทำได้เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดี ดังนั้นกฎหมายนี้จึงตรงตามเจตนารมณ์ที่จะช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนมาตรา 32 เป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ควบคุมการโฆษณา ให้อยู่ในขอบเขต เนื่องจากไม่ได้ห้ามโฆษณาโดยเด็ดขาด ที่ผ่านมาเกิดการหลบเลี่ยง ทำให้อิทธิพลของการโฆษณามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมาก” นพ.สมาน กล่าว

นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา กล่าวว่า การเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายของกลุ่มคราฟเบียร์ มี 2 เรื่องคือ พ.ร.บ.สรรพสามิต เรื่องเงื่อนไขการผลิตสุราเบียร์เสรี และ 2.ขอแก้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะมาตรา 32 โดยมองว่าไม่เป็นธรรม ขัดขวางการทำธุรกิจสุรารายเล็ก กลั่นแกล้งคนหาเช้ากินค่ำ เป็นเครื่องมือหาประโยชน์จากสินบนนำจับ เลยเถิดไปถึงการอ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มดังกล่าวเคลื่อนไหวหนัก ต้องการเปิดทางให้คราฟเบียร์เปิดเพจสื่อสารทางออนไลน์ อวดอ้างสรรพคุณได้ และจะพบบรรดาเพจต่างๆโชว์ตราสัญลักษณ์ ภาพบรรจุภัณฑ์ทั้งที่รู้ว่าผิดกฎหมาย การรับจ้างโพสสื่อสาร รีวิวอวดอ้างสรพคุณ จูงใจให้ดื่ม และยังพบว่ากลุ่มนายทุนเจ้าใหญ่แบรนด์ดังๆก็ใช้การจ้างการโพสเช่นเดียวกัน

นพ.พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กล่าวว่า เรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากที่สุดคือการโฆษณาตามมาตรา32ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ จึงเป็นเหตุผลว่าช่วงนี้ทำไมจึงมีการเรียกผู้ถูกร้องเรียนเข้ามา ให้ข้อมูลหรือเปรียบเทียบปรับ ส่วนหลักการตัดสินว่าผิดหรือไม่ ใช้แนวทางคือหากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามในมาตรา3แล้ว ถ้าประชาชนเห็น ได้ยิน ทราบข้อความ ก็ถือว่าเป็นการโฆษณา โดยนิยามของข้อความ หมายถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใด ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจความหมายได้ แต่หากเป็นการแสดงชื่อหรือเครื่องหมายซึ่งไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า หากอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อมก็จะเป็นความผิดเช่นกัน ดังนั้น การที่ประชาชนทั่วไปโพสต์รูปลงในโซเชียลมีเดีย แล้วมีเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดอยู่ในรูปด้วย จึงไม่เป็นความผิด

“ขอให้ผู้ประกอบการระมัดระวังการรับสื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจมาในรูปแบบต่างๆเช่น แผ่นป้ายไวนิล ป้ายชื่อร้าน เมนู อาหาร ร่ม แก้ว ถังน้ำแข็ง ฯลฯ โดยสื่อเหล่านี้จะไม่ระบุบริษัทผู้ผลิต หรือสถานที่ผลิต หากเขาเกลี้ยกล่อมให้รับสื่อด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น บอกว่าไม่ผิดกฎหมายหรือเคลียร์กับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยแล้ว หากสังเกตเครื่องหมายด้วยตนเองแล้วเข้าใจว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรรับสื่อนั้นมาใช้ หรือหากนำมาใช้จะต้องปิดเครื่องหมายนั้นเสียก่อน หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค1422 หรือที่สคอ.02-590-3035” นพ.พงศ์ธร กล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้