fbpx

กสศ. ดัน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 ค้นหาครูรุ่นใหม่ในพื้นที่ห่างไกล

กรุงเทพฯ 30ส.ค.-กสศ. ลงนามความร่วมมือ10 สถาบันผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2ให้เป็นครูยุค 4.0 ที่เป็นทั้งครูและผู้นำชุมชน  ตอบโจทย์การสร้างครูนักพัฒนาคืนชุมชน สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กขาดแคลนทุนทรัพย์ได้เรียนครู


นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น กสศ. และ ผศ.ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล ผู้จัดการโครงการฯ ร่วมลงนามความร่วมมือกับ10 สถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 ด้วยแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างครูรุ่นใหม่หัวใจรัก(ษ์)ถิ่น” ใน โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน

รศ.ดร.ดารณี กล่าวว่า โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 กสศ. ได้คัดเลือกสถาบันการผลิตครูที่เชื่อมั่นว่ามีศักยภาพ เหมาะสมที่จะผลิตครูตามเป้าหมายได้ทั้งสิ้น 10 สถาบัน ซึ่ง กสศ. มีเกณฑ์คัดเลือกที่ชัดเจน คือ ต้องเป็นสถาบันที่อยู่ในภูมิภาคที่เด็กสามารถมาเรียนได้ ไม่ห่างไกล และต้องเข้าใจภูมิหลังและบริบทของชุมชน และในรุ่นที่ 2  นี้ กสศ. มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่ดูบริบทและสภาพจริงของทุกมหาวิทยาลัยที่ผ่านการพิจารณามากขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภูมิภาคเข้าร่วมพิจารณาทุกสถาบันเพื่อความเป็นธรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสถาบันทั้งที่ได้รับคัดเลือก และไม่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้สถาบันที่ไม่ผ่านเข้าร่วมโครงการในปีนี้ได้รู้ข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองในปีถัดไป


“บางสถาบันเขียนโครงการดีมาก พอลงไปดูสภาพจริงไม่เป็นไปตามนั้น มีความไม่สอดคล้อง ไม่เป็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัยกับอาจารย์คณะที่จะดำเนินการ   บางแห่งเขียนโครงการมาไม่โดดเด่น แต่ลงไปดูแล้วโดดเด่น เพราะฉะนั้นสภาพจริงจึงมีความสำคัญกว่า  ปีนี้ กสศ. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง อดีตผู้อำนวยการเขตศึกษานิเทศก์ มาช่วยกันลงพื้นที่ประเมินด้วยซึ่งกลยุทธ์ความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิจะมองออกว่า มีจุดเด่นหรือจุดด้อยอย่างไร “รศ.ดร.ดารณี กล่าว

โดยหลังการลงนามความร่วมมือ สถาบันผลิตครูทั้ง10แห่ง ต้องลงพื้นที่ไปค้นหาเด็กที่จะมาเรียนครูตามเกณฑ์ที่ กสศ. กำหนด ปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ 1. ปัจจัยด้านความยากจน ต้องมีรายได้เฉลี่ยรายครอบครัวไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน 2. เด็กทุนและผู้ปกครองต้องอยู่ในภูมิลำเนาอย่างน้อย 3 ปี 3. เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.5 และ 4.ได้รับการค้นหาคัดเลือกโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มีเป้าหมายผลิตครูสู่โรงเรียนปลายทาง นอกจากมาตรฐานกลางแล้ว ครูรัก(ษ์)ถิ่น ต้องเป็นครูยุค 4.0 ที่ต้องเป็นผู้นำชุมชนได้ด้วย สอนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษา สอนได้แบบคละชั้นและทุกสาขาวิชา

“กสศ. มีข้อระมัดระวังเป็นบทเรียนจากรุ่นที่ 1 ว่าอาจารย์ต้องลงไปค้นหาเด็กถึงพื้นที่ ไม่ใช่รออยู่มหาวิทยาลัย แต่ต้องลงไปทำงานกับท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเด็กต้องขาดแคลนจริง ต้องไปดูถึงบ้าน สัมภาษณ์พ่อแม่ ศึกษาข้อมูลของเด็กจากชุมชน ให้ผู้นำชุมชน อย่างผู้ใหญ่บ้าน มีส่วนร่วมพิจารณา เพราะรู้จักคนในท้องถิ่นดี เมื่อมหาวิทยาลัยลงไปค้นหาเด็ก ก็จะรู้บริบทของโรงเรียนที่เด็กต้องกลับไปบรรจุเป็นครู รู้ว่าจะผลิตบัณฑิตของไปสอนเด็กแบบไหน ต้องออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนและท้องถิ่น อย่างไรเพื่อจะให้บัณฑิตที่จบออกไปมีองค์ความรู้ และมีทักษะ “รศ.ดร.ดารณี กล่าว


ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาราชการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี กล่าวว่า จากการเข้าร่วมโครงการ ในรุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยประสบปัญหาข้อมูลไม่ถึงเด็กและชุมชนที่เข้าไม่ถึงสื่อโซเชียล ทำให้เด็กบางคนที่ควรได้รับการสนับสนุนมากกว่าเสียโอกาส ดังนั้นวิธีที่ข้อมูลจะถึงเด็กได้ดีที่สุดคือโรงเรียนในพื้นที่ต้องให้คำแนะนำกับเด็กโดยตรง มหาวิทยาลัยต้องปรับกระบวนการเป็นเชิงรุก คือประสานข้อมูลไปยังโรงเรียนพื้นที่ก่อน เพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ ให้ข้อมูลกับเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงเรียนก่อนที่มหาวิทยาลัยจะประกาศรับสมัครอย่างเป็นทางการ เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาเด็กมารู้ข้อมูลเชิงลึกทีหลัง ทำให้เด็กถอนตัวในช่วงที่คัดมาอยู่ค่ายแล้ว เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้

“ เราไม่อยากให้เด็กตัดสินใจสมัครเข้าโครงการเพราะว่ามีทุนอย่างเดียว  แต่อยากให้เด็กตัดสินใจบนพื้นฐานของความอยากเป็นครูอยู่ในพื้นที่จริงๆ เพราะเด็กต้องทำงานหนัก เรียนไม่เหมือนคนอื่น ต้องเรียนเสริมนอกเวลาเยอะ ซึ่งต่างจากการเรียนทั่วไป เพราะสถาบันต้องการให้เด็กนำประสบการณ์กลับไปเป็นครูเพื่อพัฒนาบ้านเกิด อันนี้เป็นเรื่องที่เด็กต้องรับรู้เพื่อเจตคติที่ดี ถ้าเราได้เด็กที่พร้อมตั้งแต่ต้นมหาวิทยาลัยก็จะพัฒนาต่อได้ง่าย โดยปีนี้มหาวิทยาลัยได้วางระบบให้โรงเรียนปลายทางที่เด็กจะไปบรรจุเป็นครูเมื่อจบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและพิจารณาคัดเลือกเด็กมากยิ่งขึ้นเพื่อความชัดเจน ” ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ กล่าว

ดร.วิชญา ผิวคำ อาจารย์ประจำสาขาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า นักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นที่ 1 ที่เข้าศึกษาในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2563 มีจำนวนทั้งหมด 31 คน  ทางคณะกำลังปรับหลักสูตรใหม่ เน้นการบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยร่วมกับคณะอุตสาหกรรมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ออกแบบรายวิชาใหม่ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความถนัด ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น มีความสามารถแตกต่างกัน ซึ่งเราได้ผลักดันให้เข้าชมรมตามความชอบ เพื่อคลายความกังวลลดปัญหาคิดถึงบ้าน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Shadow ติดตามเงาของครู นำเด็กลงพื้นที่ชุมชนดูการทำงานของครู เพื่อปลูกฝังการรักถิ่นเกิด การทำงานร่วมกับชุมชนให้มากขึ้น โดยหลอมรวม “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ให้เชื่อมโยงกัน “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ตอบโจทย์สำหรับเด็กที่ยากจนและขาดโอกาสทางการศึกษามาก เห็นได้จากการลงพื้นที่สำรวจ มีการค้นหาเด็กอย่างเข้มข้นเข้าถึงตัวเด็กที่ยากจนในพื้นที่ห่างไกล   ชุมชนชนบทจะได้มีครูที่อยู่ในท้องถิ่นจริง ลดปัญหาครูโยกย้าย สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง หากทำอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าการศึกษาของโรงเรียนในชุมชนจะพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน” ดร.วิชญา กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยแจงเหตุ นศ.สาวปี 3 แทงแฟน นศ.ปี 1 สาหัส

มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีนักศึกษาหญิงทำร้ายนักศึกษาชาย ในหอพักจนบาดเจ็บสาหัส ด้านตำรวจยืนยันนักศึกษาหญิงที่ก่อเหตุมอบตัวแล้ว ยอมรับเป็นแฟนและทะเลาะกัน

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

ข่าวแนะนำ

รวบ 2 ใน 4 อุ้มฆ่าหนุ่มไทใหญ่ทิ้งป่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รวบแล้ว 2 ใน 4 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่า “จ๋อมวัน” หนุ่มไทใหญ่ ก่อนนำศพไปทิ้งในป่าที่ จ.เชียงใหม่ ปมสังหารอ้างไม่พอใจถูกแซวเรื่องหญิงคนสนิท

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี

วันนี้เป็นครั้งแรกของปีที่ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. และเดือน ก.ค.-ก.ย.

“บิ๊กต่าย” ยันทำตามหน้าที่ ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง “บิ๊กโจ๊ก”

“บิ๊กต่าย” แถลงข่าวการจับยาเสพติด ยันไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง “บิ๊กโจ๊ก” ย้ำทำตามหน้าที่รักษาการฯ ไม่มีเวลาเอาสมองไปคิดเรื่องปลดป้ายชื่อ

ระทึกถังสารแอมโมเนียโรงน้ำแข็งระเบิดอีก

วิ่งหนีอลหม่าน! ถังสารแอมโมเนียโรงน้ำแข็งระเบิด ย่านตลาดสดเทศบาลนางัว อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี คาดสาเหตุจากอากาศร้อนจัด