28 ส.ค. – คลัสเตอร์ “เหล้าเถื่อน” เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ป่วยเพิ่มอีก 4 ราย พบจุดขายเหล้าเถื่อนเพิ่มอีก 5 จุด อยู่ระหว่างขยายผล
ความคืบหน้าสถานการณ์ผู้ป่วยสะสมที่ได้รับสารพิษเมทานอลจากการดื่มสุราเถื่อน ล่าสุดเช้านี้ (28 ส.ค.) มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย โดยเสียชีวิตที่ รพ.นวมินทร์ 9 จำนวน 1 ราย และเสียชีวิตที่บ้านพักโดยไม่ได้มารับการรักษา 1 ราย ส่วนระดับความรุนแรง มีผู้ป่วยได้รับการฟอกไต 23 ราย (เพิ่มมา 2 ราย) ได้รับการปั๊มหัวใจ 6 ราย (คงเดิม) และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 37 ราย (เพิ่มมา 4 ราย) โดยมีผู้ป่วยมีทั้งหมด 22 ราย แบ่งพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 11 ราย, รพ.นวมินทร์9 6 ราย, รพ.สิรินธร, รพ.เกษมราษฎร์ รามคำแหง, รพ.เลิดสิน, รพ.ราชวิธี และ รพ.เวชการุณย์รัศมี ที่ละ 1 ราย
โดยวันนี้ทางนายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจาก 18 จุดดังกล่าว แต่ยังพบว่ามีจุดอื่นที่ขายเหล้าเถื่อนอีก 5 จุด (ตลาดนิคมลาดกระบัง / สุวินทวงศ์/ ตลาดมารวย และย่านรามอินทรา 44) ต้องไล่ย้อนไปว่ารับเหล้าถื่อนมาจากไหน และต้องสอบสวนทางเจ๊ปูกับผู้ต้องหาอีก 2 คน ว่าได้มีการส่งไปที่ซุ้มไหนอีกหรือไม่ ส่วนอาการของผู้ป่วยที่มาจาก 5 จุดใหม่ มีอาการคล้ายกัน
ด้าน พญ.มินตรา ตั้งรุ่งเรืองกิจ ผู้ช่วย ผอ.ด้านการพัฒนาคุณภาพ ระบุเพิ่มเติมว่า ที่ รพ.นพรัตน์ฯ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 2 ราย ที่มีอาการหนัก โดยคนแรกมีอาการหนักตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับการรักษา มีอาการเหนื่อยหอบรุนแรง จึงมีการใส่ท่อช่วยหายใจ และล้างไต อีกรายรับมาใหม่เมื่อคืนมีการฟอกไตเหมือนกัน จึงฝากเตือนไปยังประชาชนที่ยังมีการรับประทานเหล้าเถื่อนอยู่ในปัจจุบันว่าให้เลิกก่อน เพราะไม่รู้ว่าตอนนี้สารพิษต่าง ๆ ที่เจอ กระจายไปกี่ที่ในกรุงเทพฯ และถ้าหากมีอาการ อยากให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที หากรับการรักษาช้า ฤทธิ์ของสารพิษอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
สำหรับ 9 ราย ที่รักษาหาย เกิดจากผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเอง และตรวจเช็คอาการเร็ว และได้รับการรักษาเร็ว จึงสามารถรักษาได้ทัน
นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ฯ ระบุเพิ่มเติมว่า จากการนำเลือดของผู้ป่วยส่วนใหญ่ไปตรวจ พบว่ามีสารทั้ง 3 ชนิด ไอโซโพพิล เป็นสารที่รับประทานไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อไต กับเส้นประสาททำงานผิดปกติ, เอทานอล, เมทานอล ซึ่งอาการที่ออกฤทธิ์ส่วนใหญ่เป็นเมทานอล เป็นหลัก เพราะมีความรุนแรงที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยกลุ่มแรกที่มาตรวจยังไม่สามารถระบุอาการชัดเจนได้ เนื่องจากอาการแตกต่างจากการมาแอลกอฮอล์ปกติ จึงต้องมีการตรวจเลือดเพื่อหาสารเมทนอล. -420- สำนักข่าวไทย