กทม.เริ่มปรับปรุงทางเท้าแก้ปัญหาคับแคบช่วงต้นไม้

กทม. 7 ก.ย.- กทม.เริ่มปรับปรุงทางเท้าด้วยพอรัสแอสฟัลต์แก้ปัญหาทางเท้าแคบช่วงต้นไม้ รากต้นไม้ริมทางรับน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น


(7 ก.ย.66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่สำรวจทางเท้าเส้นทางซอยอินทามระ 14 ถึงแยกสะพานควาย เขตพญาไท เพื่อทดสอบการใช้พอรัสแอสฟัลต์(Porous Asphalt) ปูบริเวณโคนต้นไม้ การปรับปรุงทางเท้าทั้งเส้น ด้วย Universal Design และการปรับภูมิทัศน์นำสายสื่อสารลงดิน โดยมีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายเอกวรัญญู​ อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร​ นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา(สนย.) นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และ กลุ่ม Big Tree ร่วมลงพื้นที่

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า กทม.อยู่ระหว่างปรับปรุงทางเท้าใน 17 เส้นทาง โดยในปีนี้จะดำเนินการประมาณ 200 กิโลเมตร สิ่งที่สำคัญ คือต้นไม้บนทางเท้าต้องสามารถรดน้ำได้และหายใจได้ ซึ่งจากการไปดูงานที่เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้ยางมะตอยพอรัสแอสฟัลต์ปูบนทางเท้าก่อนใช้กระเบื้องปูทับเพื่อให้น้ำสามารถซึมลงไปได้ และยังสามารถช่วยเมืองในกรณีระบายน้ำจากถนนได้ด้วย เนื่องจากพอรัสแอสฟัลต์ เป็นแอสฟัลต์ประเภทที่มีรูพรุน มีคุณสมบัติเด่นในการระบายน้ำในแนวดิ่ง ทำให้รากต้นไม้สามารถระบายอากาศและรับการรดน้ำได้ดี และช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเท้าได้บางส่วน ซึ่งก่อนจะเทต้องมีการปรับปรุงดินและใส่ปุ๋ยให้เรียบร้อย จากนั้นใส่ทรายใส่กรวด ก่อนดำเนินการลาดยางมะตอย ทำให้น้ำลงไปที่รากต้นไม้ได้เต็มที่ 100%


ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบพอรัสแอสฟัลต์ที่ใช้เทบริเวณโคนต้นไม้เส้นทางซอยอินทามระ 14 ถึงแยกสะพานควาย ตามโครงการนำร่องการใช้พอรัสแอสฟัลต์ทดแทนการปูอิฐบล็อกเพื่อขยายพื้นที่ทางเท้า ซึ่งภาพรวมก็เรียบเสมอกับทางเดินเท้าดี และน้ำสามารถไหลผ่านได้ดี วิธีนี้เมื่อมีการซ่อมแซมปรับปรุงทางเท้าก็จะทำให้แก้ไขได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งการสร้างทางเท้าในรูปแบบนี้ได้มีการสร้างท่อสายสื่อสารใต้ดินไว้รองรับผู้ประกอบการสาธารณูปโภค และรองรับการขยายท่อประปาในอนาคตอีกด้วย ลดปัญหาการขุดก่อสร้างทางเท้าซ้ำซาก ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน โดยประชาชนตลอดเส้นทางชื่นชมว่าสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว นอกจากนี้ เพื่อให้ถนนในกรุงเทพฯ เดินได้สะดวดขึ้น แก้ปัญหาการจราจร และสามารถเชื่อมต่อกับการเดินทาง เช่น รถไฟฟ้า และระบบ Feeder ในอนาคตจะปรับเปลี่ยนทางเดินเท้าให้เป็น covered walkway ซึ่งมีหลังคาคลุมตลอดเส้นทาง ซึ่งในขณะนี้มีการดำเนินการแล้วที่บริเวณโรงเรียนหอวัง

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวตอนท้ายว่า สิ่งที่ต้องขอความร่วมมือ คือ เรื่องของหาบเร่แผงลอย ต้องไม่กลับมาขายบนทางเท้าที่ห้ามขาย รวมถึงรถจักรยานยนต์ห้ามขับขี่บนทางเท้า ซึ่งเส้นทางในวันนี้มีร้านซ่อมรถจักรยานยนต์จำนวนมาก ก็ได้ขอความร่วมมือให้ประชาสัมพันธ์บอกลูกค้าว่าอย่าขับขี่บนทางเท้าเพื่อนำรถขึ้นมาซ่อม แต่ให้ใช้วิธีจูงรถจักรยานยนต์ขึ้นมาซ่อมแทน เนื่องจากน้ำหนักของรถจักรยานยนต์ส่งผลต่อความเสียหายของกระเบื้องทางเท้า อีกทั้งเกิดอันตรายแก่ประชาชนคนเดินเท้า และยังผิดกฎหมายอีกด้วย

รองฯ วิศณุ กล่าวเสริมว่า ในอนาคตการก่อสร้างหรือซ่อมแซมทางเท้าในกรุงเทพฯ จะใช้รูปแบบดังกล่าว คือ รูปแบบที่ 1 คือ เทคอนกรีตและเสริมตะแกรงเหล็กไวร์เมช 10 cm แล้วปูกระเบื้องทับ ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ การลาดยางมะตอยทั้งหมดแล้วค่อยปูกระเบื้องทับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทการซ่อมแซมก่อสร้างทางเท้าแต่ละเส้นทาง ซึ่งต้องวิเคราะห์จากวิธีการที่ใช้งบประมาณให้ประหยัดที่สุด แต่ได้จำนวนระยะทางมากที่สุด นอกจากนี้ทางเท้าที่ปรับปรุงใหม่จะปรับปรุงเป็นแบบ universal design คือให้เหมาะกับคนทุกประเภท ทุกวัย รวมถึงผู้พิการซึ่งสำนักการโยธา กทม. พยายามปรับปรุงมาตรฐานในการทำทางเท้าใหม่ให้เป็นตามมาตรฐานโลกในปัจจุบัน เพื่อนำมาปรับใช้ให้เป็นลักษณะนี้ทั้งกรุงเทพฯ ในอนาคต


ทั้งนี้ ประโยชน์ของการใช้ยางมะตอยพรุน พอรัสแอสฟัลต์ (Porous Asphalt) บริเวณโคนต้นไม้ คือ 1. แก้ปัญหาทางเท้าแคบช่วงต้นไม้ 2. แก้ปัญหารากต้นไม้ดันกระเบื้องทางเท้า 3. แก้ปัญหาน้ำขังบนทางเท้าช่วงฝนตก โดยแนวทางพัฒนาการใช้งานต่อไป จะจัดทำพื้นที่ทดลองใช้งาน เช่น รอบต้นไม้บริเวณศาลาว่าการกทม. และถนนต่างๆ พร้อมทั้งทำการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่/ผู้รับเหมาเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง รวมถึงการจัดทำมาตรฐานการใช้งานยางมะตอยพรุน ระหว่างสำนักการโยธาและสำนักงานสวนสาธารณะ ร่วมกับผู้ผลิตยาง มะตอยพรุน และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย อีกด้วย .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม