สธ.ชี้แยกกักโควิด 5 วัน สอดคล้องสถานการณ์จริง

กรุงเทพฯ 21 ส.ค. – สธ.ยืนยันข้อมูลวิชาการ แยกกักรักษาโควิด 5 วัน สอดคล้องสถานการณ์จริง ความเสี่ยงแพร่เชื้อไม่แตกต่างกับแยกกัก 7 วัน หรือนานกว่า


โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แจงแนวทางรักษาโควิด กลุ่มไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย แบบ 5+5 คือ แยกกักรักษาที่บ้าน 5 วัน และป้องกันเข้มอีก 5 วัน ถูกต้องตามข้อมูลวิชาการ เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน และสมดุลของการควบคุมโรคกับการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน ช่วยเดินหน้าสังคมและเศรษฐกิจ ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดได้ ชี้โอกาสเสี่ยงแพร่เชื้อไม่แตกต่างกับการแยกกัก 7 วัน หรือนานกว่านั้น เหตุประชาชนรับวัคซีนจำนวนมาก และเมื่อติดเชื้อจะมีการป้องกันตนเองไม่ให้แพร่เชื้อต่อ

วันนี้ (21 สิงหาคม 2565) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 กลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แบบ 5+5 ว่า การกำหนดให้แยกกักรักษา 5 วัน เฝ้าระวังสังเกตอาการและเคร่งครัดมาตรการป้องกันตนเอง คือ สวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างอีก 5 วัน เป็นแนวทางที่เป็นไปตามสถานการณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และผ่านคำปรึกษาของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสมดุลของการควบคุมโรคกับการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน ทั้งนี้ มีข้อมูลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย 1-2 วัน และวันเริ่มป่วยจะเป็นระยะที่มีโอกาสแพร่โรคให้ผู้อื่นได้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องแยกกักที่บ้าน เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อในชุมชน


“ช่วงแรกเราใช้ระยะเวลา 14 วัน แต่เมื่อเชื้อมีความรุนแรงลดลง ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีภูมิคุ้มกันจำนวนมาก ส่วนใหญ่จึงเป็นการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย และไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งเรามีคำแนะนำให้ตรวจเมื่อมีอาการ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น และอยู่ร่วมกับโควิด-19 รวมถึงเดินหน้าสังคมและเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงมีการลดระยะเวลาแยกกักรักษาเป็น 10 วัน ลดเหลือ 7+3 และขณะนี้เป็นแนวทางของ 5+5” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า การพิจารณาปรับระยะเวลาแยกกักที่บ้านลงนั้น เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการที่พบว่า การแยกกักที่บ้าน 5 วัน หรือ 7 วัน หรือนานกว่านั้น สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อชุมชนไม่แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ คนจำนวนมากฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้มีภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันอาการรุนแรง รวมถึงเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อ ก็มีความรู้ความเข้าใจ และป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ ดังนั้น การสังเกตอาการและเข้มมาตรการป้องกันตนเองเพิ่ม 3 วัน หรือ 5 วัน จึงไม่ได้แตกต่างกันมาก เพราะผู้ติดเชื้อจะมีการเฝ้าระวังตนเองไม่ให้แพร่เชื้อต่อ

“ส่วนกลุ่มที่เราเป็นห่วง คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนัก หรือมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ กลุ่ม 608 ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด หรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงต้องเน้นให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดมาแล้วในช่วง 3-4 เดือน เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19 นอกจากนี้ หากประชาชนยังคงร่วมมือกันสวมหน้ากากขณะทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มคนจำนวนมาก หรือสวมหน้ากากขณะอยู่ในที่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่มีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดตามตัว มีการสวมหน้ากากขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น จะช่วยลดการแพร่โรคได้” นพ.รุ่งเรือง กล่าว. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น