จำคุก –ปรับ “ธณิกานต์” คดีเสียบบัตรแทนกัน

ศาลฎีกานักการเมือง 3 ส.ค.-ศาลฎีกานักการเมืองสั่งจำคุก “ธณิกานต์”  1 ปี ปรับ 2 เเสน คดีเสียบบัตรเเทนกัน โทษจำคุกรอลงอาญา 2 ปี ถือขัด รธน.- ข้อบังคับประชุมสภา ให้อุทธรณ์ภายใน 30 วัน ถ้าไม่อุทธรณ์จะสิ้นสมาชิกสภาพส.ส.


องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 19/2564 อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562  ซึ่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ  รัชกาลที่ 10  พ.ศ. …….โดยไม่ได้ลาประชุมและไม่ได้อยู่ในที่ประชุมระหว่างเวลาประมาณ 13.30 ถึง 15.00 น. ทั้งยังฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น หรือบัตรของจำเลยอยู่ในความครอบครองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น โดยความยินยอมของจำเลย เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายนั้นใช้บัตรของจำเลยกดปุ่มแสดงตนและลงมติแทนจำเลยในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. วาระที่ 1 เวลา 13.41 น.และวาระที่ 3  เวลา  14.01 น.

การกระทำดังกล่าวมีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็น หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการออกเสียงลงคะแนนแทนกัน อันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 จำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานตามการไต่สวนของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกอบสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และแถลงปิดคดีของจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ร่วมประชุมและลงมติร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ.  วาระที่ 1 และวาระที่  3 ซึ่งระบบลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ในการลงมติทั้งสองวาระไม่มีความผิดพลาดหรือบกพร่อง


เมื่อจำเลยไม่ได้อยู่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรขณะที่มีการลงมติ แต่มีการนำบัตรอิเล็กทรอกนิกส์ของจำเลยไปใช้ลงมติ ประกอบกับระบบคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความผิดพลาดหรือบกพร่อง และช่องเสียบบัตรลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นช่องทางให้สามารถนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นมาลงมติได้ พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า  จำเลยฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยกับส.ส.รายอื่น หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยไปอยู่ในความครอบครองของส.ส.รายอื่น โดยจำเลยยินยอมให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายนั้นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยแสดงตนและลงมติแทน เมื่อการออกเสียงลงคะแนน

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของส.ส.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ส.ส. ซึ่งเข้าประชุมและอยู่ในที่ประชุมในขณะที่มีการออกเสียงลงคะแนนเท่านั้น การกระทําใดเพื่อให้มีการออกเสียงลงคะแนนแทนกัน จึงเป็นการขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 120 วรรคสาม ที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน และไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 72 วรรคสาม ที่กำหนดว่าการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันไม่ได้ อันเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต มีผลทําให้การออกเสียงลงคะแนนของสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมพิจารณานั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย

การกระทำของจำเลยจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นองค์กรที่ทําหน้าที่นิติบัญญัติแล้ว แม้จะไม่ทำให้กระบวนการตรากฎหมายเสียไป การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และการที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ แต่กลับฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยกับส.ส.รายอื่นหรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยไปอยู่ในความครอบครองของส.ส.รายอื่น โดยจำเลยยินยอมให้ส.ส.รายนั้นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยแสดงตนและลงมติแทนจำเลย เป็นผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรณีที่จำเลยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง ถือว่าเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตแล้ว  การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตด้วย  


อย่างไรก็ตาม  มูลเหตุที่ทำให้จำเลยกระทำความผิดครั้งนี้เกิดจากจำเลยต้องไปเป็นวิทยากรในงานเสวนาแบ่งปันความรู้บทบาทแม่ยุคดิจิทัลที่ห้องประชุมชั้น 5  สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ ตามโครงการกิจกรรมเวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับแม่และเด็กในชุมชน หัวข้อเรื่องการเลี้ยงดูลูกในยุคสมัยดิจิทัล ที่จัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่  สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. … ซึ่งเป็นกฎหมายที่สำคัญ ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงมากนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำผิดหรือได้รับโทษจำคุกมาก่อน กรณีมีเหตุสมควรปรานีแก่จำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ เห็นควรลงโทษปรับจำเลยในสถานหนัก พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172  จำคุก 1 ปี และปรับ  200,000  บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้  2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  56  หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 , 30  กรณีต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังไม่เกิน 1  ปี

สำหรับมูลเหตุแห่งคดีนี้ คณะกรรมการป.ป.ช.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 87  ตามคดีหมายเลขดำที่ คมจ. 2/2564 ด้วยหรือไม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลฎีกานัดพร้อมในวันที่ 16  สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. เพื่อรอฟังผลคดีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาดังกล่าว รัฐธรรมนูญ  พ.ศ.2560 มาตรา 101 (13) บัญญัติไว้ว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. สิ้นสุดลงเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท  ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งนี้ ศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง มีชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์อีก 1 ชั้น ซึ่งน.ส.ธณิกานต์สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษา โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะคัดเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก 9 คนที่ไม่เคยตัดสินคดีนั้นมาก่อน เท่ากับว่าคดีนี้หากขึ้นไปถึงชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์คดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด เเต่หาก น.ส.ธณิกานต์ ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันสมาชิกสภาพส.ส.จะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 101 (13).-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง