ปรับเกณฑ์ผู้เลี้ยงกุ้งเข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น

กรุงเทพฯ 13 เม.ย. – เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเฮ! ครม. ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (12 เมษายน 2565) ว่า ครม.เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานฟาร์มกุ้ง CoC (Code of Conduct) จากมติ ครม.เมื่อ 30 ก.ย.2546 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเดิมได้กำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) จากเดิมอยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน
  2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP (Good Aquaculture Practice) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Code of conduct หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมง หรือหน่วยงานรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จากเดิมที่ต้องผ่านการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินและแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบต่อไป


นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบังคับใช้อยู่แล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่จะขอรับรองมาตรฐานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับกรมประมงก่อน ซึ่งต้องแสดงหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบการไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงต้องอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด และต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

“ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม

ใช้ดนตรีฮีลใจ “ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงคลายเครียดให้กับญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม ที่ศูนย์พักคอยฯ ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว เผยเข้าใจความรู้สึกแรงงานดี เพราะตนเคยทำมาก่อน

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จประชุมผู้นำบีมสเทค รับรองเอกสาร 6 ฉบับ

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จการประชุมผู้นำบีมสเทค รับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญ 6 ฉบับ ดันวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 สร้างโอกาสเศรษฐกิจ ยันคนไทยได้ประโยชน์ พร้อมบรรเทาผลกระทบ-ฟื้นฟู ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ขณะที่ กต. ย้ำเชิญผู้นำเมียนมา ตามกฎบัตร ปัดคุยการเมืองภายใน ไร้ถกปมสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า

ประชุมBIMSTEC

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเวทีผู้นำ BIMSTEC เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″

นายกฯ แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลง วงประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″ กระชับความร่วมมือสร้างภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองและเปิดกว้าง พัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ

DSI เปิดความเชื่อมโยง “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินี

DSI เปิดความเชื่อมโยงบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด รับงาน 29 โครงการรัฐ มูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านบาท พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินีอำพรางถือหุ้น