เวทีเสวนาฯ ชี้รัฐเลี่ยงให้ข้อมูลด้านการเมือง

กรุงเทพฯ 7 มี.ค. – เครือข่ายองค์กรด้านข้อมูลฯ เพื่อขับเคลื่อนสังคม ชี้รัฐเปิดเผยข้อมูลสาธารณะได้ดีขึ้น เเต่ยังไม่เป็นไปตามเป้า เลี่ยงให้ข้อมูลด้านการเมือง ทั้งที่ควรเปิด โดยที่ประชาชนไม่ต้องร้องขอ นักกฎหมายย้ำกฎหมายไม่ใช่ข้ออ้างเพื่อปกปิดข้อมูลของรัฐ ด้านนักวิชาการติงโครงสร้างของรัฐไม่ออกเเบบให้เปิดเผยข้อมูล มองความลับเป็นมูลค่า เเต่ไม่ช่วยขับเคลื่อนชาติ เเนะหากอยากพัฒนาประเทศ เริ่มสร้างการมีส่วนร่วม เปิดข้อมูลให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ


เครือข่ายองค์กรด้านข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสังคม จัดงานเปิดข้อมูลรัฐสู่สาธารณะ เพื่อประชาธิปไตย” (Open Data for Democracy) เนื่องในวันข้อมูลเปิดสาธารณะ (International Open Data Day) ที่จัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก เพื่อเฉลิมฉลองเเละเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้เห็นถึงความสำคัญเเละประโยชน์ของข้อมูลสาธารณะ นำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดการรับนโยบายข้อมูลเปิดไปใช้ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน เเละภาคประชาสังคม โดยข้อมูลสาธารณะ ถือเป็นทรัพยากรสำคัญในยุคดิจิทัล ยิ่งในปัจจุบันมีการเเพร่ระบาดของโควิด19 ประชาชนใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อ รับรู้ ใช้เเละเเลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น ข้อมูลสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลของภาครัฐ จึงถือเป็นเเหล่งข้อมูลหลักในการช่วยผลักดันให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างเเละสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงสร้างความโปร่งใสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

​น.ส.ธนิสรา เรืองเดช ผู้บริหารบริษัท พันซ์อัพ เวิล์ด จำกัดเเละโครงการ ELECT ในฐานะตัวเเทนเครือข่ายองค์กรด้านข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสังคม กล่าวเปิดงานว่า ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารเเละถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ในสังคม งานครั้งนี้จึงเป็นการรวมตัวขององค์กรที่ทำงานด้านข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลของภาครัฐ ได้มาเเลกเปลี่ยนเพื่อหาทางออกให้ไทยสร้างสังคมที่ Open Data ช่วยขับเคลื่อนประชาธิปไตยได้จริง จึงจัดงานขึ้นภายใต้เเนวคิด “Open Data for Democracy” เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนเเสดงความคิดเห็นเเละสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย เเต่ปัญหาที่เจอในทุกวันนี้คือการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะของภาครัฐ ที่บางหน่วยงานยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูล เปิดเผยไม่ครบถ้วนหรือเปิดเผยเเล้วนำไปใช้งานต่อได้ยาก


น.ส.ธนิสรา กล่าวต่อว่า ในฐานะคนที่ทำ Civic Tech (เทคโนโลยีภาคประชาชน) มองว่าขั้นแรกของสังคมประชาธิปไตย คือทำอย่างไรให้การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นง่ายที่สุด นั่นก็คือการที่รัฐเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบที่สมบูรณ์และนำไปใช้ต่อง่ายที่สุด เพื่อให้ประชาชนติดตาม ตรวจสอบ และช่วยคิดช่วยทำต่อได้ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในระดับต่อๆ ไป เราเชื่อว่า Open Data ก็เหมือนประชาธิปไตยในประเทศนี้ ที่ต้องใช้เวลาสร้างเเละขับเคลื่อน แต่ยิ่งเป็นการวิ่งระยะไกล จึงจำเป็นที่เราต้องเริ่มวันนี้ ช่วยให้สังคมดีขึ้นในอนาคต”

ภายในงานได้จัดเวทีเสวนาใน 2 หัวข้อ “ความฝันเเละความหวัง หาก Open Data ช่วยขับเคลื่อนประชาธิปไตยได้จริง” โดย Mr. Lee Long Hui ผู้ช่วยบรรณาธิการ (Assistant Editor) จาก Malaysiakini ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ Open data ของประเทศมาเลเซีย เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้นในช่วงการเลือกตั้งในปี 2018-2019 เเต่ขณะเดียวกันปัจจุบันยังมีอุปสรรคในการขับเคลื่อนอยู่มาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาลในปี 2020 ทำให้มีข้อจำกัดอยู่มากในการเปิดเผยข้อมูล

Mr. Lee Long Hui กล่าวต่อว่า สำหรับตนการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ภาครัฐเอง ภาคเอกชน เเละประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกเเบบประเทศ อย่างประเทศมาเลเซีย ที่ผ่านมาข้อมูลช่วยให้ประชาชนเข้าถึงประเด็นสำคัญทางการเมืองในประเทศ อย่างกรณีที่ครอบครัวของ Najib Razak อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ใช้ทรัพย์สินสาธารณะเพื่อแสวงหาและได้รับมาซึ่งประโยชน์ส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลของรัฐก็สามารถทำให้ภาคประชาชนรับรู้เรื่องราวและใช้ข้อมูลเพื่อต่อสู้เรียกร้องในเรื่องนี้ได้ และการต่อสู้ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลของ Najib Razak ล้มในเวลาต่อมา / การติดตามนโยบายของพรรคต่าง ๆ ว่าสามารถดำเนินการตามที่ให้สัญญาไว้หรือไม่ / การตรวจสอบใช้งบประมาณของประเทศ ขณะที่ภาคประชาชนเองก็ได้นำเสนอประเด็นปัญหาที่ดินให้รัฐได้รับรู้เเละนำไปสู่การเเก้ปัญหา
เเต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ Open data ในมาเลเซียยังไม่ได้มีประสิทธิภาพมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศไทย ดังนั้นความฝันเเละความหวังของตนที่อยากให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน คืออยากให้รัฐเปิดเผยข้อมูลสาธารณะมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลโควิด 19 ในประเทศ ให้ stakeholder ได้เอาข้อมูลไปใช้


ด้านนางอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์ กล่าวว่า การเปิดเผยข้อมูลนั้น นอกจากจะเป็นการตรวจสอบรัฐบาลและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นสื่อว่า ถ้ามีข้อมูลสำคัญก็ไม่ควรปิดกั้นตัวเอง แต่ต้องนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งการเปิดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเเก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ในฐานะที่อยู่ในแวดวงคนทำงาน Data ตนมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินการเปิดเผยข้อมูล 3 ประการ คือข้อมูลต้อง Timely (ทันสมัยและทันต่อเวลา) Accessible (เข้าถึงได้ง่ายและเปิดในรูปแบบที่นำไปใช้ต่อยอดได้) และคำนึงถึงเรื่อง Data Aggregation (เปิดในระดับที่นำไปวิเคราะห์ต่อได้) ซึ่งพอมาดูตัวอย่างเว็บไซต์ DGA ของภาครัฐ ก็จะเห็นปัญหา เช่น มีข้อมูลที่ว่าด้วยการคมนาคมของประชาชนในปี 2562 ซึ่งถูกอัปเดตในปี 2563 ซึ่งเมื่อไม่ทันต่อเวลา จะวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันท่วงทีได้อย่างไร หรือการที่ภาครัฐชอบ upload หนังสือเอกสารทั้งเล่มลงเว็บไซต์ ซึ่งอ่านไม่สะดวก แต่อย่างไรก็ตาม อาจพูดได้ว่าเรามาไกลพอสมควรในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพราะถ้าเป็นสมัยก่อนเรื่องนี้คงทำได้ยากกว่านี้ อาจต้องไปขอดูที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพียงแต่อนาคตก็ต้องพัฒนากันต่อไป

ตนเชื่อว่า ข้อมูลและข้อเท็จจริงสามารถเอามาใช้วิเคราะห์สถานการณ์ได้ อย่างเช่น เรื่องฐานข้อมูลสิทธิและเสรีภาพ ของ iLaw ที่แสดงให้เห็นความผิดเพี้ยนของกฎหมาย และความไม่เข้าใจของผู้บังคับใช้กฎหมาย ในฐานะที่ตัวเองเคยทำเรื่องแนวนี้ ขอเล่าว่าการหาข้อมูลมีความยากมาก ต้องไปนั่งค้นฐานข้อมูลของศาลอาญาเพื่อไล่เช็คหมายเลขคดีดำไปทีละกรณี เพื่อหารูปแบบคดี ซึ่งทำให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐใช้ พรบ. คอมพิวเตอร์ ไปกับคดีหมิ่นประมาทมาก ซึ่งถือว่าผิด concept กฎหมาย หรืออย่างเรื่องการทำเว็บไซต์ vote 62 ที่ประชาชนอยากรู้ผลเลือกตั้งแบบ real time ซึ่งต้องรวดเร็ว ณ ตอนนั้นก็ต้องข้อมูลหาเยอะมาก เพราะคิดว่า กกต. ไม่น่ามีประสิทธิภาพเพียงพอในการ provide ข้อมูลแบบ real time นำมาสู่การสร้างฐานข้อมูลเอง โดยสร้างหน้าเว็บไซต์ให้ประชาชนสามารถช่วยกันกรอกคะแนนผลเลือกตั้ง และสามารถ upload รูปภาพประกาศคะแนนเลือกตั้ง เพื่อใช้ตรวจเช็คความถูกต้อง

ขณะที่นายอิสร์กุล อุณหเกตุ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากจะพัฒนา Open Data ในไทยให้ดีขึ้นได้ ต้องเริ่มออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูล (data infrastructure) ให้ชัดเจนก่อน เมื่อพูดถึง Open data เราจะนึกถึงคน 2 กลุ่ม คือคนอยากได้ข้อมูลเเละคนที่มีข้อมูล ซึ่งเเบ่งความสัมพันธ์ของคน 2 กลุ่มได้ 4 ประเภท ได้แก่ Hierarchy (ลำดับชั้น) ถ้าอยากได้ข้อมูลต้องไปขอผ่านกฎหมายหรือพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารพ.ศ.2540 / Market(ตลาด) ข้อมูลเปรียบเป็นสินค้าชิ้นหนึ่ง หากอยากได้ต้องใช้เงินซื้อ ยกตัวอย่างข้อมูลบัตรเครดิต / Network (เครือข่าย) มีเจ้าของข้อมูลร่วมกัน หากอยากได้ให้มาเเชร์ข้อมูลเเลกเปลี่ยนซึ่งกันเเละกัน / เเละBazar (ตลาดนัด) คือการเอาข้อมูลมากองรวมกัน ใครอยากได้ข้อมูลใดก็หยิบไปใช้ หากเราอยากให้ข้อมูลเปิด เราไม่ควรจำกัดเจ้าของของข้อมูล ยกตัวอย่างหากอยากให้ Open government data ภาครัฐก็ควรเปิดเผยข้อมูลสาธารณะออกมาทั้งหมด โดยที่ประชาชนไม่ต้องร้องขอ ขณะเดียวกันการเปิดข้อมูลอย่างเดียวไม่เพียงพอ รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยออกมา โดยการทำ Platform รับฟังความคิดเห็น เเละเมื่อประชาชนเเสดงความคิดเห็นไปเเล้ว รัฐได้ทำการเเก้ไขเเละเเสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆอย่างไร ก็ควรบอกให้ประชาชนทราบ ถึงจะพูดได้ว่า Open data จะนำไปสู่ประชาธิปไตยในประเทศได้ เพราะประชาชนตรวจสอบรัฐบาลได้จริง

สำหรับสถานการณ์Open data ไทยในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน(open data barometer2016) ที่ไทยติดอันดับที่ 53 ของโลก เเต่ก็ถือว่ายังได้คะเเนนที่น้อย เนื่องจากเปิดเผยมากขึ้นก็จริง เเต่ยังไม่เพียงพอ ความหวังที่กำลังเกิดขึ้นคือ ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลสาธารณะที่กำลังมีการพิจารณากันอยู่ หากออกมาได้ก็อาจจะทำให้ไทยมีการพัฒนาเรื่อง Open data ได้ดียิ่งขึ้น

ส่วน ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ด้วยโจทย์ของการประกาศใช้พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ก็อาจทำให้เกิดข้อพิจารณาขึ้นได้ แต่จริง ๆ แล้วหลักการว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นคือ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ซึ่งถูกระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในทางปฏิบัติไม่เป็นเช่นนั้น โดย PDPA ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแสดงอาการของโรคนี้ ส่วนเรื่องการเข้าถึงข้อมูล เราก็คงเห็นปัญหากันอยู่แล้ว อย่าว่าแต่เรื่อง Machine Readable เลย คนยังไม่ Readable ด้วยซ้ำ ได้ไฟล์ PDF มา ก็ต้องเอาไฟล์มาแปลง 3-4 รอบ กว่าจะสามารถใช้ได้ ซึ่งแม้จะมี PDPA รัฐก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากมีประเด็นที่ต้องพิจารณา ก็ต้องดูเป็นกรณีไป ไม่ใช่ว่าเช็คแล้วเป็นข้อมูลส่วนบุคคลก็ไม่เปิดเผยหมด ซึ่งจริง ๆ แล้วรัฐต้องมีฐานข้อมูลในการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร ซึ่งพรบ. รัฐบาลดิจิทัล ก็กำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่แล้ว และมีบทบัญญัติที่บอกว่า ต้องพิจารณา พรบ. ข้อมูลข่าวสาร ด้วย

สำหรับประเด็นพิจารณาเรื่องข้อมูลข่าวสารบุคคล ก็ขอบอกว่ามีช่องทางตามกฎหมายให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มาก เพราะตามหลักการแล้ว อะไรที่ไม่ใช่ข้อยกเว้นตามกฎหมายก็ต้องถูกเปิดเผยได้ ซึ่งหากถามว่ารัฐไทยถามต้องทำอย่างไร รัฐก็มีวิธีการในเรื่องนี้หลายประการ เช่น การชั่งน้ำหนักประโยชน์สาธารณะและการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล อาจแจ้งกลับไปหาเจ้าของข้อมูล เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูล หรือการ Anonymization ข้อมูล หรือการทำให้ข้อมูลส่วนตัวกลายข้อมูลเป็นนิรนาม ดังนั้นแล้ว PDPA จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งในมาตรการที่รัฐต้องพิจารณาเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการปกปิดข้อมูลข่าวสาร รัฐยังจำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามหลักการว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะใช้การชั่งน้ำหนักประโยชน์สาธารณะและการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล หรือการ Anonymization ข้อมูล เป็นต้น

ซึ่งหากรัฐอ้างว่า มี PDPA แล้ว จึงไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ในแง่เนื้อหา ถือว่าผิดตั้งแต่เริ่มต้น เพราะ PDPA มีเพื่อให้รัฐพิจารณาเรื่องการคุ้มครองสิทธิของประชาชน และเพื่อให้รัฐใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น โดยหลักการของ PDPA คือการคุ้มครอง Privacy จะทำอย่างไรไม่ให้การใช้ข้อมูลไปกระทบสิทธิส่วนบุคคล ส่วน พรบ. ข้อมูลข่าวสารก็มีระบุเรื่องนี้เช่นกัน ที่ว่าต้องมีการพิจาณาเรื่องความยินยอม แต่สุดท้ายหากเป็นประเด็นพิจารณาเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ก็ต้องดูใน PDPA เพราะมีมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิที่สูงกว่า ซึ่งในท้ายที่สุดหากจะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รัฐก็มีหน้าที่และภาระต้องพิสูจน์ว่าเหตุใดจึงไม่เปิดเผย เข้าข้อยกเว้นใดตามกฎหมาย ไม่ใช่ให้ประชาชนเป็นผู้มีภาระการพิสูจน์

ขณะเดียวกัน ในหัวข้อเสวนา “เปิดเผย โปร่งใส สร้างประชาธิปไตยไทยผ่าน Open Government” ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คุณภาพของ Open Government data. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดแชต “สีกากอล์ฟ” หลอกยืมเงิน “อดีต ผอ.สำนักพุทธฯ พิจิตร” 4 แสน

18 ก.ค. – เปิดแชต “สีกากอล์ฟ” หลอกยืมเงิน “อดีต ผอ.สำนักพุทธฯ พิจิตร” 400,000 บาท อ้างป่วย ต้องใช้เงินผ่าตัด และแลกหลักฐานกรณีอดีตเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร มีความสัมพันธ์กับสีกากอล์ฟ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จ.พิจิตร หลงกลเล่ห์เหลี่ยมของสีกากอล์ฟ โดยเมื่อปี 2559 อดีต ผอ.สำนักพุทธฯ พิจิตร ส่งข้อความไปหาสีกากอล์ฟ ว่ามีเรื่องสำคัญของบ้านเมืองจะปรึกษา และหว่านล้อมว่าสีกากอล์ฟเป็นบุคคลสำคัญยิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนหนึ่งใน จ.พิจิตร ไปในทิศทางที่ดีขึ้น หากให้ความร่วมมือจะมีผู้ใหญ่ใจดีที่พร้อมจะดูแลสีกากอล์ฟและลูก แล้วทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้ติดต่อกลับ จากนั้นสีกากอล์ฟตอบกลับข้อความ ทำให้อดีต ผอ.สำนักพุทธฯ พิจิตร เปิดเผยเป้าหมายทันทีว่าต้องการดำเนินการกับพระราชสิทธิเวที ในขณะนั้น (อดีตเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร และอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง จ.พิจิตร ที่เพิ่งสึกไป) ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต เสพเมถุน และประพฤติตนไม่เหมาะสม อาจเชื่อมโยงมาถึงสีกากอล์ฟ พร้อมเสนอเงิน 1 ล้านบาท แต่สีกากอล์ฟชวนอดีต ผอ.สำนักพุทธฯ พิจิตร คุยเรื่องทั่วไป โดยเฉพาะอ้างว่ามีอาการป่วย ต้องใช้เงินผ่าตัดประมาณ 400,000 บาท […]

“ทักษิณ” ซัดผู้นำกัมพูชาไร้จริยธรรม แต่คนไทยกลับเชื่อ

17 ก.ค. – “ทักษิณ” ซัดผู้นำกัมพูชาไร้จริยธรรม แต่คนไทยกลับเชื่อ งงทำไมคนไทยไม่รักกัน ตอกพรรคที่เพิ่งหลุดร่วมรัฐบาลไป เป็นเขมรหรือไทย หลังติง “ลูกอิ๊งค์” ขายชาติ บอกปัจจุบันการเมืองไม่มีเสถียรภาพเหมือนสมัยรัฐบาล “คึกฤทธิ์” นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก พลิกเกมเศรษฐกิจไทย” และ “พลิกเกมเศรษฐกิจไทย สู่อนาคต” จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.วัฒนธรรม พร้อมครม. อาทิ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ตันเจริญ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี น.ส.จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ […]

แม่ทัพภาค 2 เยี่ยมให้กำลังใจทหารบาดเจ็บเหยียบกับระเบิด

อุบลราชธานี 17 ก.ค.-แม่ทัพภาค 2 เยี่ยมให้กำลังใจทหารได้รับบาดเจ็บเหยียบกับระเบิด ซึ่งอาการโดยรวมดีขึ้น ที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ มณฑลทหารบกที่ 22 อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้เข้าเยี่ยมให้กำลังใจกับทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 6 ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิดทั้ง 3 นาย ซึ่งมีอาการโดยรวมดีขึ้น สำหรับทหารที่ได้รับบาดเจ็บทั้ง 3 นายประกอบด้วย ส.อ.ปฏิพัทธ์ ศรีลาศักดิ์ มีบาดแผลฟกซ้ำบริเวณหน้าอกจากการถูกแรงอัดระเบิด ตอนแรกมีอาการเจ็บหน้า แต่ปัจจุบันดีขึ้น พลทหารณัฐวุฒิ ศรีเข้ม มีบาดแผลฟกซ้ำที่หน้าอกจากการอัดของระเบิด แน่นหน้าอก แต่ช่วยเหลือตัวเองได้ พลทหารธนพัฒน์ หุยวัน ต้องตัดขาซ้ายใต้เข่าจากแรงระเบิด มีอาการปวดแผล แต่กินอาหารได้ตามปกติ หลังเยี่ยมพูดคุยให้กำลังใจ แม่ทัพก็เดินทางกลับไป เพื่อไปติดตามสถานการณ์ชายแดนด้านจังหวัดสุรินทร์ต่อไป.-711.-สำนักข่าวไทย

จนท. เข้าพบพระพรหมบัณฑิต ขอตรวจสอบบัญชีเงินวัดประยูรฯ

กทม. 17 ก.ค. – ตำรวจ ปปป. ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่สำนักพุทธฯ บุกวัดประยุรวงศาวาส เข้าตรวจสอบบัญชีเงินวัด เบื้องต้น  ยืนยันไม่ใช่การบุกค้นกุฏิ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาส พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา รักษาราชการแทนรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), พ.ต.อ.สถาปนา จุณณวัตต์ ผู้กำกับการกองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปราม พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธแห่งชาติแห่งชาติ เดินทางเข้าพบพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เพื่อพูดคุยและขอข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารการเงินภายในวัด หลังอดีตเจ้าคุณประสิทธิ์ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส เข้าไปพัวพันกับสีกากอล์ฟ และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคำให้การของพยาน ที่พบเงินถูกพับในลักษณะถูกนำออกมาจากตู้บริจาคในบ้านของสีกากอล์ฟ ซึ่งการตรวจสอบในวันนี้จะเน้นเรื่องเส้นทางการเงินของวัดทั้งหมด ที่ต้องสงสัยว่าอาจมีบางส่วนถูกยักยอก หลังการตรวจสอบ ผู้กำกับการ 6 บก.ปปป. กล่าวว่า ไม่สามารถที่จะเปิดเผยข้อมูลได้ ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ชี้แจง หลังจากนี้จะนำข้อมูลต่างๆ กลับไปเรียนให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบ แต่ยืนยันว่า วันนี้เป็นเพียงแค่การเข้ามาขอข้อมูลเท่านั้น ด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า เป็นเพียงการบูรณาการของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และในการตรวจสอบเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารแต่อย่างใด มีรายงานเพิ่มเติมว่าเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 หน่วยงาน ได้นำกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หรือ […]

ข่าวแนะนำ

รวบแล้ว “เสือปุ่น” หัวหน้าแก๊งปล้นเงิน 3.4 ล้าน กลางห้างดัง

กรุงเทพฯ 18 ก.ค. – สืบนครบาลจับ “เสือปุ่น” หัวหน้าแก๊งปล้นเงิน 3.4 ล้าน กลางห้างดัง พร้อมสมุน หลังหนีซุกบ้านเช่าย่านลำลูกกา จ.ปทุมธานี เร่งล่าอีก 1 ยังหลบหนี กรณีคนร้าย 7 คน แก๊งเสือปุ่น ใช้อาวุธปืนและมีด ก่อเหตุปล้นเงินสด 3.4 ล้านบาท จากผู้มาซื้อคริปโตฯ เหตุเกิดที่ลานจอดรถชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.ต.โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ผบก.สส.บช.น.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ ผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น.) และตำรวจ บก.สส.บช.น. ร่วมกันจับกุม นายวรวัฒน์ หรือ เสือปุ่น อายุ 43 ปี […]

เดินหน้าเอาผิดหญิงกัมพูชาชี้หน้าด่าไล่ทหารไทย

18 ก.ค. – ปกติคดีทำร้ายร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่คดีใหญ่ แต่เมื่อเป็นคู่กรณีไทย-กัมพูชา ในสถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดน จึงกลายเป็นคดีระดับประเทศที่ผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญ และดำเนินการอย่างรัดกุม ทั้งคดีอดีตทหารพรานทำร้ายร่างกายทหารกัมพูชา และคดีหญิงกัมพูชา ชี้หน้าด่าไล่ทหารไทยบริเวณปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์.-สำนักข่าวไทย

ไทยเตรียมประท้วง UN หากทุ่นระเบิดเป็นของใหม่

18 ก.ค. – แม่ทัพภาค 2 ลั่นรอผลตรวจสอบกับระเบิดทำทหารไทยขาขาด หากเป็นของใหม่ จะเสนอประท้วงไปยังยูเอ็น ขอให้มีมาตรการคว่ำบาตรกัมพูชา ทำผิดอนุสัญญาออตตาวา กรณีทหารเหยียบกับระเบิด บนเนินช่องบก จ.อุบลราชธานี คาดว่าไม่เกิน 2 วัน จะชัดเจนว่าเป็นทุ่นระเบิดใหม่หรือของเก่า แต่มีคำยืนยันว่าไทยไม่เพิกเฉยเรื่องนี้แน่นอน พลโทบุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 บอกว่า หากผลพิสูจน์ชัดเจนว่า ทุ่นระเบิดเป็นของใหม่ จะใช้กลไกกองทัพบกประสานต่อกระทรวงต่างประเทศ ให้ยื่นประท้วงกัมพูชาต่อองค์การสหประชาชาติ เพื่อดำเนินการคว่ำบาตรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาออตตาวา ห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งไทยและกัมพูชาก็เป็นสมาชิกที่มีเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก ส่วนมาตรการตอบโต้อย่างอื่น ยังบอกไม่ได้ สำหรับบริเวณช่องบก จุดเกิดเหตุระเบิดจนทำให้กำลังพลบาดเจ็บ 3 นาย จุดนั้น เป็นพื้นที่สู้รบเก่าที่สามารถพบทุ่นระเบิดเก่าได้ ซึ่งวันนี้ ทางชุดเก็บกู้ทุ่นระเบิดแห่งชาติ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกับระเบิดซึ่งทั่วโลกยอมรับ ได้ลงพื้นที่พิสูจน์ มีแนวโน้มเป็นไปได้ทั้งนำมาวางไว้ก่อน หรือหลังเหตุปะทะที่ช่องบก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนในพื้นที่ ได้กำชับกำลังพลทุกนายให้เฝ้าระวังมากยิ่งขึ้น แม่ทัพภาคที่ 2 ยังพูดถึงประเด็นดราม่า […]

บ้านดอนตัน กว่า 100 หลังคาเรือน ยังจมน้ำ

น่าน 18 ก.ค. – “บ้านดอนตัน” จ.น่าน กว่า 100 หลังคาเรือน ยังคงจมน้ำ น้ำใจหลั่งไหลเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวมทั้งเยาวชนฝีพายเรือแข่งอำเภอท่าวังผา ขนน้ำดื่มลงเรือแจกจ่ายช่วยชาวบ้าน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.น่าน ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะที่บ้านดอนตัน หมู่ 4 ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา ชาวบ้านกว่าร้อยหลังคาเรือนยังอาศัยอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมขัง ระดับน้ำในพื้นที่สูงกว่า 1 เมตร ประชาชนต้องย้ายสิ่งของขึ้นชั้น 2 เพื่อความปลอดภัย ส่วนผู้อาศัยอยู่ในบ้านชั้นเดียว ต้องอพยพไปพักอยู่กับญาติในพื้นที่ใกล้เคียง หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและจิตอาสา ระดมกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน โดยจัดส่งอาหาร น้ำดื่มและสิ่งของจำเป็น โดยเฉพาะเยาวชนฝีพายเรือแข่งจากบ้านสบหนอง อำเภอท่าวังผา นำเรือออกให้ความช่วยเหลือในการขนส่งน้ำดื่มและอาหารไปยังบ้านที่ถูกน้ำล้อม เพื่อส่งต่อถึงผู้ประสบภัยที่ยังติดอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่บ้านดอนตัน เปิดเผยว่า ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและ มีแนวโน้มลดลง แต่บริเวณท้ายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและอยู่ติดแม่น้ำยังคงมีน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งไร่ข้าวโพดและลำไย รวมกว่า 2,000 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด ขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงในพื้นที่ ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา ได้แก่ […]