หนุนพิจารณาร่างแก้ไข รธน. 6 ฉบับ พร้อมร่างไอลอว์

รัฐสภา 2 พ.ย.- พรรคร่วมรัฐบาลหนุนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ พร้อมกับร่างของไอลอว์ ประธานวิปรัฐบาล ขอทุกฝ่ายรับฟังความคิดเห็น ร่วมเดินหน้าคณะกรรมการสมานฉันท์ เชื่อนายกฯ ลาออก ไม่ใช่ทางออก 


นายวิรัช รัตนเศรษฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนลงมติรับหลักการว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา และมีเนื้อหากว่า 400 หน้า จัดพิมพ์รูปเล่มเสร็จแล้ว ก่อนส่งให้ประธานรัฐสภา หากไม่รอร่างที่เสนอโดยกลุ่มไอลอว์ ก็สามารถเสนอเข้าที่ประชุมได้ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ แต่ถ้ารอร่างไอลอว์ ก็ต้องเสนอเข้าที่ประชุม วันที่ 17-18 พฤศจิกายน และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณครึ่งวันในการเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภา

“พรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่เห็นว่า ควรรอพิจารณาไปพร้อมกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของไอลอว์ด้วย เพราะมีแนวทางการแก้ไขที่คล้ายคลึงกัน คือ การแก้ไขมาตรา 256 และตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยให้ใช้ร่างของรัฐบาลเป็นตัวตั้ง หากบางฝ่ายไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. ก็ให้ไปแก้ไขในวาระที่ 2 ต่อไป” นายวิรัช กล่าว และยืนยันว่า ทุกอย่างดำเนินการเป็นขั้นตอน ไม่ได้ทำตามข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม


ส่วนการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอรูปแบบมานั้น นายวิรัช กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับการประสานจากที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แนวทางแรกเป็นไปตามข้อเสนอของที่ประชุมรัฐสภา ที่มีตัวแทน 7 ฝ่าย ส่วนแบบที่ 2 ตัดผู้ชุมนุมและผู้ที่คัดค้านออก เหลือ 5 ฝ่าย โดยมีประธานสภาฯ เป็นคนกลาง ส่วนแบบที่ 3 ประธานสภาฯ เป็นผู้หาคนกลาง ซึ่งทั้งหมดต้องมาร่วมกันพิจารณา

“เชื่อว่าจะเห็นความชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า โดยฝ่ายรัฐบาลพร้อมสนับสนุนในทุกรูปแบบ และเห็นว่าทุกฝ่ายต้องฟังความเห็นซึ่งกันและกัน เพราะหากยังคงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ก็คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภามากที่สุด อีกทั้ง หากนายกรัฐมนตรีลาออกไปแล้ว มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก็มีความเป็นไปได้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะกลับมาดำรงตำแหน่งเช่นเดิม” นายวิรัช กล่าว 

สำหรับวาระการพิจารณากฎหมายประชามติ นายวิรัช คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ในช่วงปลายเดือนนี้ และส่วนตัวมองว่า แนวทางการทำประชามติ ไม่ว่าจะสอบถามเรื่องอะไรก็ตาม ช่วงเวลาที่เหมาะสมน่าจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย.- สำนักข่าวไทย   


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง