กกต.แจงเหตุพรรคการเมืองรอดคดีกู้เงิน

สำนักงานกกต. 24 ก.ย.-กกต.ชี้แจงเหตุยุติสอบงบการเงิน 32 พรรคการเมือง ยึดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลัก “ภท.- ปชท.-พท.” รอด เพราะเป็นยอดหนี้คงค้างที่กู้ยืมตั้งแต่ปี 55 ไม่เกิน 10 ล้านต่อคนต่อปี ส่วนอกสารสลับหน้า พลาดจากขั้นตอนจัดไฟล์


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ออกเอกสารชี้แจงกรณียุติเรื่องการตรวจสอบงบการเงินของ 32 พรรคการเมือง รวมพรรคอนาคตใหม่ ที่กู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการของพรรคการเมือง ว่า การแสดงความคิดเห็นเรื่องดังกล่าวยังมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย การดำเนินการของนายทะเบียนพรรคการเมืองและสำนักงานกกต. ซึ่งการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของพรรคการเมืองตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2563 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าสถานะของเงินกู้ยืมไม่ถือเป็นรายได้ของพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 60 มาตรา 62 แต่เป็นรายรับและเป็นเงินทางการเมือง

การดำเนินการเกี่ยวกับการได้มาและการใช้จ่ายเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง จึงกระทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งการให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้า หรือการทำให้หนี้ที่พรรคการเมืองเป็นลูกหนี้ลดลงหรือเป็นการได้เงินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย ที่โดยปกติต้องจ่าย ถือเป็นประโยชน์อื่นใดตามมาตรา 4 ของกฎหมายเดียวกัน และต้องอยู่ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคสอง และภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการบริจาค และการรับบริจาคเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 66 และ 72


ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดนั้น มาตรา 66 ของพ.ร.ป.พรรคการเมืองกำหนดไม่ให้พรรคการเมืองรับบริจาคฯ มีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อคนต่อปี และมาตรา 72 กำหนดให้การรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 66 ไม่ว่าจะจำนวนเท่าใดก็ตาม ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งการตรวจสอบงบการเงินของทุกพรรคการเมือง นับแต่พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 60 มีผลบังคับใช้ พบว่ามี 3 พรรคการเมืองที่งบการเงินประจำปี 2561 กู้ยืมเงินเกินกว่า 10 ล้านบาท คือพรรคภูมิใจไทย 30 ล้านบาท พรรคประชากรไทย 12 ล้านบาทและพรรคเพื่อไทย 13 ล้านบาท แต่เป็นกรณีที่พรรคทั้งหมดกู้ยืมมาตั้งแต่ปี 2555 และยังไม่ได้ใช้เงินคืน จึงเป็นยอดหนี้คงค้างไว้ในงบการเงินปี 2561 และในแต่ละปีเป็นยอดเงินกู้ยืมไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อคนต่อปี จึงไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 62 และมาตรา 72 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง

สำหรับกรณีประกาศนายทะเบียนพรรคการเมืองเรื่องงบการเงินของพรรคการเมืองประจำปี 2561 ที่ลงประกาศในเว็บไซด์ของสำนักงานกกต.ไปแล้วจำนวน 79 พรรค รวม 609 หน้า ภายหลังตรวจสอบพบว่ามีเอกสารบันทึกข้อความเกี่ยวกับรายงานการรับบริจาคเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดลงประกาศไปด้วย ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับงบการเงินของพรรคการเมือง จึงนำเอกสารดังกล่าวออกจากเว็บไซด์ของสำนักงานกกต. ทำให้เอกสารงบการเงินของพรรคการเมืองเหลือจำนวน 608 หน้า ซึ่งสามารถดูได้ที่เว็บไซด์กกต.

ส่วนกรณีเอกสารงบการเงินของพรรคการเมืองสลับหน้ากัน เนื่องจากขั้นตอนจัดทำไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของพรรคการเมืองเพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซด์กกต. มีเอกสารจำนวนมาก จึงต้องแยกเอกสารเป็น 13 ชุดเพื่อสแกน และเกิดความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ป็นไปตามลำดับของชุดเอกสาร ทำให้ไฟล์สลับหน้ากัน เป็นเหตุให้เอกสารงบการเงินของ 9 พรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย(พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย) พรรคพลังประชาธิปไตย พรรคพลเมืองไทย(พรรคพลังพลเมืองไทย) พรรคไทยธรรม พรรคพลังปวงชนไทยและพรรคพลังสังคมเรียงลำดับไม่ต่อเนื่องกัน แต่เอกสารงบการเงินของพรรคการเมืองทั้ง 79 พรรคที่กกต.เผยแพร่ยังมีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนตามที่แต่ละพรรคจัดส่งมา


ทั้งนี้ งบการเงินของพรรคการเมืองต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ รับรองและต้องนำเข้าที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองเพื่ออนุมัติและหัวหน้าพรรคต้องรับรองความถูกต้องร่วมกับเหรัญญิกพรรคการเมือง ก่อนจัดส่งให้นายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งต้องสอดคล้องกับรายงานการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองและระบบบัญชีของพรรคการเมือง จึงไม่มีผู้ใดแก้ไขงบการเงินของพรรคการเมืองที่ส่งให้นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ผิดไปจากงบการเงินที่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่พรรคได้ อย่างไรก็ตาม กกต.จะแก้ไขลำดับเอกสารงบการเงินของพรรคการเมืองที่สลับหน้ากันให้ถูกต้องต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

ยายวัย 85 ดีใจได้เงินคืน ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอน 2 ล้าน

อายัดบัญชี อดีตข้าราชการครูวัย 85 ปี ดีใจได้เงินคืน หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ก.คลัง หลอกโอนเงิน 2 ล้านบาท

รถทัวร์ชนต้นไม้

รถทัวร์ กทม.-เชียงใหม่ ตกร่องถนนชนต้นไม้ ดับ 2 เจ็บกว่า 30

รถโดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขับส่ายไปมา ก่อนเสียหลักตกร่องกลางถนนพุ่งชนต้นไม้ใหญ่ เสียชีวิต 2 ราย เจ็บกว่า 30 คน สาเหตุอยู่ระหว่างตรวจสอบ

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้