“ชัยธวัช” ยันอดีตเคยมีการนิรโทษกรรม ไม่ขัด ม.6

รัฐสภา 17 ต. ค. – “ชัยธวัช” ยันอดีตเคยมีการนิรโทษกรรมมาแล้ว ไม่ขัดมาตรา 6 ชี้คำสั่งศาล รธน. สั่ง “ก้าวไกล” ห้ามไม่ให้รณรงค์ยกเลิก-ใช้นิติบัญญัติในทางมิชอบแก้ ม.112 ไม่เกี่ยวนิรโทษกรรม ด้าน​ “โรม” ย้ำรายงานไม่ใช่เพื่อแก้ไขหรือยกเลิก ม.112


นายชัยธวัช ตุลาธน อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ชี้แจงว่า มีสมาชิกอภิปรายว่าที่ผ่านมาไม่เคยมีการนิรโทษกรรมในคดีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ในเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 มีการใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม นิรโทษกรรมให้กับการกระทำทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมระหว่างวันที่ 4-6 ต.ค. 2519 ซึ่งจำเลยถูกฟ้องในหลายคดี รวมถึงมาตรา 112 ด้วย ซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ใดๆ ทั้งสิ้น ออกไปแล้วก็ไม่เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ

นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า มาตรา 6 เป็นการพูดถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงมีความเป็นกลางทางการเมือง อยู่ในสถานะที่เคารพสักการะ และในส่วนของการละเมิดมิได้นั้น เป็นการบัญญัติไว้เพื่อให้ชัดเจนว่าไม่สามารถมีใครไปฟ้องร้อง ดำเนินในชั้นศาลกับพระมหากษัตริย์ได้


ส่วนข้อกังวลที่หากออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม รวมมาตรา 112 จะไปขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น แน่นอนคงไม่พ้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้พรรคก้าวไกลเลิกการกระทำ ที่ต่อมานำไปสู่การยุบพรรคก้าวไกล ตนยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรม ที่รวมมาตรา 112 ด้วย ในข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกัน คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวข้องกับการกระทำแค่ 2 เรื่องเท่านั้น คือ ห้ามไม่ให้แสดงความคิดเห็น หรือรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 และห้ามไม่ให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ด้วยกระบวนการนิติบัญญัติที่ไม่ใช่กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ

นายรังสิมนต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะ กมธ. ชี้แจงว่า กมธ.ชุดนี้ไม่ใช่ กมธ. ที่พิจารณาศึกษาเพื่อแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 แต่เป็น กมธ. ที่จะศึกษาในเรื่องการทำเกี่ยวกับแนวทางของการนิโทษกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพยายามทำ รายงานฉบับนี้จะเป็นสารตั้งต้น จะเป็นหัวเชื้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ที่ผ่านมาเราพิจารณาหลากหลายฉบับ แต่เราแทบไม่ทราบว่ารัฐบาลมีการปฏิบัติมากน้อยเพียงใดกับรายงานของสภาฯ ส่วนตัวอยากให้ผูกพัน แต่ถึงเวลารัฐบาลจะทำตามข้อแนะนำของสภาฯ มากน้อยแค่ไหน เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายคำถาม

นายรังสิมันต์ ชี้แจง ถึงกรณีที่มีการพยายามเชื่อมโยงมาตรา 112 กับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนคิดว่า มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญที่สะท้อนถึงหลักความเป็นกลางของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานและเป็นหลักการสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญของหลายๆ ประเทศ และในประเทศอื่นๆ เหล่านั้นก็ไม่มีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างว่าประเทศต่างๆ มีกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง และควรถูกพูดในวาระอื่น ไม่ใช่เรื่องการนิรโทษกรรม มากไปกว่านั้นการปล่อยให้มีการใช้กฎหมายลักษณะแบบนี้ ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองแบบนี้ จุดที่เราอยากพิจารณาใน กมธ. คือเป็นแนวทางในการนิรโทษกรรม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาทางการเมือง ซึ่งจะพบว่า คำแนะนำแสดงถึงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพราะผลลัพธ์ทางการเมืองหลายอย่างตามมา


นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามหาทางออกทางการเมือง ซึ่งมีข้อเสนอหลายอย่าง และหลายส่วน กมธ. ก็ได้ตัดสินใจกำหนดลงไป ขณะที่มาตรา 112 ในความเห็นของ กมธ. ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ตนจึงอยากให้สภาฯ รับไว้พิจารณา ส่งต่อไปที่ ครม. เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมืองที่มีความขัดแย้งเป็นเวลานาน ส่วนกรณีที่สมาชิกมองว่าอาจทำเพื่อตนเอง และกรณีการนิรโทษกรรมสุดซอยนั้น ตนไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมสุดซอย เนื่องจากในการพิจารณาขณะนั้น รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องที่สั่งฆ่าประชาชน ให้ได้รับการนิรโทษกรรมด้วย ดังนั้น การเทียบระหว่างนิรโทษกรรมสุดซอยกับรายงานฉบับนี้ เป็นกรณีที่แตกต่างกัน เพราะในขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงมาก แต่ในวันนี้บรรยากาศทางการเมืองแตกต่างกัน ความขัดแย้งของสองพรรคการเมืองใหญ่ในวันนั้น วันนี้มาอยู่ข้างเดียวกันแล้ว

“เราต้องตั้งต้นว่าอยากจะแก้ปัญหาบ้านเมืองโดยใช้กลไกสภาฯ หรือไม่ เนื่องจากต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ทุกครั้งที่มีการดำเนินคดีโดยข้อหาในลักษณะแบบนี้ ประเด็นมาตรา 112 ไม่ได้กลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกต่อไป และไม่ได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศ คนที่ถูกดำเนินคดีอาจมีเพื่อน มีครอบครัว มีคนที่เขารัก แล้วเขาจะรู้สึกอย่างไรต่อมาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพราะความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศ แต่ความรู้สึกแบบนี้ สะท้อนไปสู่ประชาคมของประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน และเมื่อเกิดปัญหาคิดว่าคนที่ถูกวิพากษ์จารณ์มากที่สุดคือใคร หากบอกว่าต้องการแสดงถึงเจตจำนงในการปกป้องพระมหากษัตริย์ แต่ถ้าท่านต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะ วิธีการแบบนี้เป็นวิธีการที่ไม่มีทางได้ผล และวิธีการนี้จะทำให้ประเทศที่เรารักถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และปัญหาทางการเมืองที่ยังมีอยู่ก็จะดำเนินอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทำไมไม่เปิดประตูบานนี้ เพื่อหาทางออกทางการเมือง” นายรังสิมันต์ กล่าว.-319-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่ม

วันที่ 6 ปรับแผนใช้เครนยักษ์ยกปูนค้นหา 72 ชีวิต

เข้าสู่วันที่ 6 ทีมงานกู้ซากตึกถล่ม ปรับแผนค้นหา 72 ชีวิต ด้านญาติผู้สูญหายยังคงรอความหวัง บางส่วนจุดธูปปักลงดิน ขอแม่ธรณีเปิดทางช่วยทุกคนรอดชีวิต

นายกฯ เยี่ยมญาติตึกถล่ม

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึกถล่มที่ศูนย์พักคอย

นายกฯ เข้าเยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึกถล่มที่ศูนย์พักคอย “ขอให้ดูแลตัวเอง อย่าพึ่งป่วย”

กิจการร่วมค้าซีไอเอส

สั่งฟัน “กิจการร่วมค้าซีไอเอส” จ่อยกเลิกสัญญาจ้างสร้างเทอร์มินัลใหม่

“มนพร” รมช.คมนาคม สั่งฟัน “กิจการร่วมค้าซีไอเอส” เตรียมยกเลิกสัญญาจ้างสร้างเทอร์มินัลใหม่ “สนามบินนราธิวาส” พร้อมขึ้นแบล็คลิสต์เป็นผู้ทิ้งงาน ห้ามรับงานภาครัฐ หลังพบสร้างช้ากว่าแผน 60.76% งานอืดรวม 631 วัน มอบ ทย. ลุยตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ จี้ให้รายงานกลับมาภายใน 3 วัน ยันทุกโปรเจกต์ต้องผ่านมาตรฐาน-การตรวจเช็กจากวิศวกร

จำคุกชาวจีน

ศาลสั่งจำคุก 4 ชาวจีน ขนเอกสาร ตึก สตง.ถล่ม

ศาลพิพากษาจำคุก 4 ชาวจีน เข้าไปขนเอกสาร จากพื้นที่ อาคาร สตง. ถล่ม คนละ 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี