นักวิชาการ รุมชำแหละอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

ธรรมศาสตร์ 24 ส.ค. – นักวิชาการ รุมชำแหละอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ สร้างปัญหาการเมืองไทยหลายครั้ง ไม่พิทักษ์สิทธิประชาชน ขัดหลักวิชาการ-หลักการศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศ – แนะควรผ่าตัดอำนาจศาลให้เหลือเพียงการวินิจฉัยกฎหมาย/รัฐธรรมนูญ – คืนอำนาจวินิจฉัยคดีการเมืองกลับสภา – เสนอใช้มติสภาล่างเสียงข้างมากพิเศษลงมติเลือกตุลาการ สร้างการยอมรับจากฝ่ายค้าน


นายสมชาย ปรีชาชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในงานเสวนาวิชาการเรื่อง “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ปกครองบ้านเมือง” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น โดยเห็นว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ทั้งการยุบพรรค และการสั่งนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี เป็นเสมือนสึนามิ ที่กวาดหลักวิชาการ จนทำให้ประชาชนเป็นผู้ประสบภัย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างปัญหาให้กับการเมืองไทยหลายครั้ง เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ไม่ใช่ปรากฏการณ์เฉพาะหน้า จนนักวิชาการต่างชาติเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น ตุลาการธิปไตย ทั้งที่แนวคิดในอดีตเห็นว่า ควรให้มีอำนาจตุลาการ หรือตุลาการภิวัฒน์ เข้ามามีบทบาทและแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญกลับเป็นส่วนขยายของตุลาการ และส่วนราชการมากขึ้น ทั้งที่นักวิชาการคาดหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้กระบวนการประชาธิปไตยของไทยเดินหน้าต่อไปได้

นายสมชาย ยังเห็นว่า บทบาทศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบรุนแรงไม่น้อยกว่าการรัฐประหาร ทั้งการยุบพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทั้งไทยรักไทย พลังประชาชน อนาคตใหม่ และก้าวไกล ซึ่งพรรคต่าง ๆ ที่ถูกยุบ เป็นพรรคที่ได้รับความนิยม และยืนอยู่ตรงข้ามชนชั้นนำ รวมถึงการปลด 4 นายกรัฐมนตรี ซึ่งสะท้อนตุลาการธิปไตย ใช้อำนาจตุลาการอยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ และบริหาร และในต่างประเทศ ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า เป็นเสียงส่วนน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่า กระบวนการดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ และเมื่อใดที่ชนชั้นนำไม่สามารถเอาชนะได้ในสนามการเลือกตั้ง หลาย ๆ ประเทศ ก็จะใช้อำนาจตุลาการจัดการกับกลุ่มคนที่มาจากการเลือกตั้ง จึงทำให้องค์กรอิสระที่ใช้อำนาจตุลาการ หรือกึ่งตุลาการ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ, กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.เข้ามากำกับทิศทางทางการเมืองมากขึ้น จนเจตน์จำนงของประชาชนถูกล้มไปด้วยคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง


นายสมชาย ยังเสนอว่า ควรลดอำนาจตุลาการในการตัดสินประเด็นทางการเมือง ให้การเมือง หรือประชาชนเป็นผู้ตัดสิน และให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย หรือประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พร้อมลดอำนาจผู้พิพากษาอาชีพ และระบบราชการ หยุดให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นส่วนขยายของระบบข้าราชการชั้นสูง และเพิ่มอำนาจประชาชนในการกำกับ และตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ไม่ได้เป็นการพิทักษ์สิทธิประชาชน พร้อมยังมองว่า ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่วุฒิสภาชุดที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เป็นผู้สรรหานั้น ยังเป็นปัญหา รวมถึงที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะการตีความรัฐธรรมนูญ จนทำให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้อยู่เหนืออำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ รวมถึงกระบวนการวินิจฉัย ก็เป็นการลงมติ ไม่ใช่การพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมาย และยังยังไม่การถ่วงดุลอำนาจศาลรัฐธรรมนูญด้วย

นายปริญญา ยังกล่าวถึงกรณีที่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคก้าวไกลว่า กระทบต่อสิทธิประชาชนจนจำนวนมาก ทั้งกรรมการบริหารพรรค, สส., และประชาชนที่บริจาคเงินให้กับพรรคฯ จนทำให้เกิดการเสียสิทธิ รวมถึงกระบบวนการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังเป็นปัญหา เพราะมีอำนาจสั่งยุติการไต่สวนได้ ซึ่งในการตัดสินยุบพรรคนั้น ควรเปิดโอกาสให้คู่ความได้โต้ยังกันได้อย่างเต็มที่


นายปริญญา ยังเสนอว่า ให้เปลี่ยนศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นศาลมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และกระบวนการพิจารณาจะต้องเปิดโอกาสให้คู่ความสามารถโต้แย้งได้เต็มที่ และแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 210 ให้ศาลยึดถือมาตรา 188 คือ พิจารณาคดีโดยอิสระ รับผิดชอบ เป็นธรรม ปราศจากอคติ ตรวจสอบได้ ยึดถือรัฐธรรมนูญและอยู่ภายใต้กฎหมายในการวินิจฉัย พร้อมแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 72 และ 75 ให้หารือข้อกฎหมายให้ได้ข้อยุติ แทนการลงมติคำวินิจฉัย รวมถึงแก้ไขมาตรา 58 ให้กระบวนการพิจารณาศาลให้ผู้ถูกร้องได้โต้แย้งข้อกล่าวหาด้วยหลักฐานได้อย่างเต็มที่ จึงสนับสนุนให้ทุกพรรคการเมืองเสนอแก้ไข เพราะทุกพรรคการเมือง มีสิทธิถูกยุบได้ รวมถึงเสนอให้การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลังจากนี้ จะต้องเคร่งครัดเรื่องอิสระ เป็นธรรม ปราศจากอคติ

นายณรงค์เดช สรุโฆษิต รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงหลักการยุบพรรคการเมืองในต่างประเทศ อาทิ เยอรมัน ที่เคยสั่งยุบพรรค 2 พรรคได้แก่ พรรคนาซีใหม่ และพรรคคอมมิวนิสต์ ที่พรรคการเมือง จะไม่ถูกยุบพรรคโดยไม่ยึดคุณค่าประชาธิปไตย สามารถคิดว่า อุดมการณ์อื่นดีกว่าได้ ยกเว้นมีการกระทำ ทัศนคติที่จะทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ ซึ่งพรรคนาซีใหม่มีอุดมการณ์นาซี ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ได้พิจารณาถึงความเป็นปฏิบัติ จะต้องมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น และพรรคนาซีใหม่ยังห่างไกลที่จะเกิดขึ้นได้ เแต่มีการใช้กำลัง สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง จึงเป็นปัจจัยให้ยุบพรรคได้ รวมถึงเยอมันยังมีการแก้รัฐธรรมนูญ ที่นอกเหนืออำนาจยุบพรรคการเมืองแล้ว ยังมีอำนาจสั่งงดให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองได้ และผู้ที่บริจาคเงินให้ก็ไม่สามารถนำไปลดภาษีได้ รวมถึงในยุโรป ที่จะมีการยุบพรรคการต่อเมื่อมีการยั่วยุ เลือกปฏิบัติจากการเลือกนับถือศาสนา และการนำหลักศาสนามาใช้ รวมถึงมีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ความเกลียดชัง หรือขู่เข็ญให้เกิดการนองเลือด ปฏิบัติการก่อการร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ และรักษาไว้ซึ่งอำนาจ, เกาหลีใต้เคยมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เชื่อในทฤษฎีคอมมิวนิสต์ และศรัทธาในคิม อิลซุง หวังให้เกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือรวมตัวกัน โดยถือแนวทางของเกาหลีเหนือ เปลี่ยนผ่านสังคมสู่คอมมิวนิสต์ ทำให้คนเกาหลีใต้เชื่อในแนวทางของเกาหลีเหนือ รวมถึงแกนนำพรรคยังมีการวางแผน เมื่อเกาหลีเหนือบุกเมื่อใด ให้มีการทำลายระบบสาธารณูปโภค สุดท้ายแกนนำพรรคดังกล่าวติดคุก ดังนั้น จึงสะท้อนว่า การยุบพรรคในต่างประเทศ เป็นเพราะการสนับสนุนความรุนแรง หรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรงมากกว่า

นายณรงค์เดช ยังเห็นความจำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีระบบกลไกตรวจสอบกฎหมาย ไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ที่มาของตุลาการ อำนาจหน้าที่ยังมีปัญหา จึงควรพิจารณาปรับอำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งการยุบพรรค และการวินิจฉัยคุณสมบัติ-จริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นายต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า บทบาทศาลรัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบัน ได้พัฒนาตนเองไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ไม่ได้เป็นคนกลางชี้ขาดข้อพิพาททางการเมืองในฐานะคนกลาง หรือ กรรมการ ไม่สามารถสร้างพลังแห่งเหตุผลผ่านคำวินิจฉัยได้ และการใช้อำนาจปกป้องตนเองของรัฐธรรมนูญด้วยการยุบพรรคการเมือง ถือเป็นอำนาจเผด็จการ เพราะสังคมประชาธิปไตย ไม่ควรอ้างหลักการประชาธิปไตย ที่ไปห้ำหั่นทางการเมืองคู่ตรงข้าม ถือเป็นการใช้อำนาจเผด็จการเพื่อปกป้องประชาธิปไตย พร้อมเห็นว่าคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง

นายต่อพงศ์ ยังมีข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญพยายามอธิบายหลักการปกครองพื้นฐานของไทยที่ศาลฯ อยากเห็น จนนำไปสู่การตีความ ขยายความ และส่งผลกระมบต่อระบบกฎหมายไทยอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันทุกองค์กร และพยายามอธิบายหลักการพื้นฐานใหม่ของระบอบการปกครองของประเทศ

นายต่อพงศ์ ยังกล่าวถึงความจำเป็นของการมีศาลรัฐธรรมนูญให้มีประสิทธิภาพว่า ต้องจะต้องฉันทามติร่วมกันก่อน ซึ่งแม้รัฐธรรมนูญ 2540 จะกำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่เคยมีฉันทามติร่วมกันของคนในสังคม และกลไกการใช้งานในแต่ละประเทศจะประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยมีรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม มีตุลาการฯ ที่ยึดโยงประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งบางประเทศมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติ พร้อมเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ควรเปิดการสำรวจความนิยมจากประชาชน พร้อมเปิดเผยว่า ส่วนตัวยังสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องมีอำนาจจำกัด สามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ และตัดอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีการเมือง

นายสุทธิชัย งานชื่นสุวรรณ ผู้ช่วยศาตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์ เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังควรมี แต่คืนอำนาจทางการเมือง ทั้งการยุบพรรคการเมือง และวินิจฉัยจริยธรรมนักการเมืองให้สภาเป็นผู้พิจารณา และเหลือเพียงอำนาจการวินิจฉัยไม่ให้กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และรับเรื่องราวร้องทุกข์ รวมถึงที่มาของตุลาการฯ จะต้องสะท้อนความรู้ความสามารถในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอาจจะต้องใช้เสียงข้างมากพิเศษในการลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ซึ่งจะให้ดีให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงมติให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ได้การยอมรับจากฝ่ายค้านด้วย

นายมุนินทร์ พงศาปาน รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังย้ำความไม่จำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะระบบศาลรัฐธรรมนูญ เป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดต่อรัฐธรรมนูญ และระบบนิติรัฐ เพื่อให้มีระบบรัฐสภา และเจตจำนงของประชาชนที่เข้มแข็ง จนกว่าประเทศไทยจะมีระบอบการเมืองที่เข้มแข็งเหมือนเยอรมนี พร้อมยังเห็นว่าปัจจุบันขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง และกระบวนการพิจารณาคดีก็ยังไม่ชัดเจน และยังสิ้นสุดที่คำวินิจฉัยของตุลาการ ไม่สามารถต่อสู้ในศาลชั้นอื่นได้ แต่หากจำเป็นจะต้องมี ก็ควรต้องปรับขอบเขตอำนาจให้จำกัดที่สุด และไม่ควรมีช่องให้เกิดการร้องทุกข์ของประชาชน เพราะส่วนตัวยังเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมปกติ ทั้งศาลปกครอง และศาลยุติธรรม โดยให้เหลือเพียงอำนาจการวินิจฉัยกฎหมาย บนเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ และนิติรัฐเท่านั้น.-319 สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชนท้าย จยย. ทำแม่ลูกดับ 3 ศพ

แม่ขี่ จยย.ไปรับลูก 2 คน กลับจากเรียนพิเศษ ถูกสาวขับรถหรูซิ่งชนท้าย ร่างกระเด็นตกสะพานข้ามรางรถไฟ เสียชีวิตทั้ง 3 คน ส่วนผู้ก่อเหตุอุ้มแมว ทิ้งรถ หลบหนีไป

ปิดล้อมล่ามือปืนคลั่งสังหาร 3 ศพ

ตำรวจเร่งไล่ล่ามือปืนคลั่งก่อเหตุยิง 3 ศพ ในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ล่าสุดปิดล้อมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ รอยต่อ จ.เลย หลังพบเบาะแสคนร้ายหนีไปซ่อนตัว ขณะที่ชนวนสังหารยังไม่แน่ชัด

ลูกชายมือปืนคลั่งยิง 3 ศพ พาครอบครัวหนีตาย พ่อโพสต์ขู่ฆ่าล้างครัว

ลูกชายมือปืนคลั่งยิงดับ 3 ศพ ต้องพาภรรยาและลูก รวมถึงพ่อตา-แม่ยาย หนีไปอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง หลังพ่อโพสต์ข้อความขู่จะฆ่าล้างครัว เหตุจากปัญหาในครอบครัว

ชายคลั่งยิง3ศพ

ชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ โผล่วัดที่ จ.เลย ขอข้าวกิน ก่อนหนีเข้าป่า

แม่ครัววัดภูคำเป้ ต.ผาสามยอด อ.เอราวัณ จ.เลย เผยพบชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ เดินเข้ามาในวัดด้วยสภาพอิดโรย ขอข้าวกิน ลักษณะรีบกินเหมือนวิตกกังวล หลังกินเสร็จรีบเดินเข้าป่าหายไป ก่อนมาทราบภายหลังว่าเป็นผู้ก่อเหตุยิงคนเสียชีวิต

ข่าวแนะนำ

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

จ.ยะลา น้ำท่วมสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบหลายสิบปี

จ.ยะลา โดยเฉพาะ อ.เมือง ปีนี้น้ำท่วมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี และวันนี้ (28 พ.ย.) น้ำยังขยายวงกว้างอีกหลายจุด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 120,000 คน ถนนถูกน้ำท่วมแล้ว 158 สาย ใน 8 อำเภอ 58 ตำบล

ศาลไม่ให้ประกันเมีย-ลูก “หมอบุญ” ชี้ความเสียหายสูง หวั่นหลบหนี

ศาลอาญาไม่ให้ประกันภรรยา-ลูก “หมอบุญ” ชี้การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ความเสียหายสูง เกรงหลบหนี ยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน ส่วนปมปลอมลายมือชื่ออยู่ระหว่างตรวจพิสูจน์