“ชัยธวัช” เปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน

รัฐสภา 3 ส.ค.-“ชัยธวัช” เปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ชี้ “ปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ” 5 มติ ต้องคุ้มค่า-ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่-เสริมพลังประชาชน-สร้างเสถียรภาพ-สร้างประชาธิปไตย ซัดต้องไม่ตอบโจทย์ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง “บ้านใหญ่”

นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวปาฐกถาพิเศษ โครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพบประชาชนประจำปีงบประมาณ 2567 ในหัวข้อปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ ว่า การปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ ไม่อยากให้หมายถึงแค่เรื่องการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเท่านั้นแต่อยากเชิญชวนประชาชนให้คิดถึงการปลดล็อกระบบงบประมาณของประเทศที่จะยกเครื่องและปฏิรูปกันอย่างครั้งใหญ่ ซึ่งการดำเนินนโยบายสาธารณะและการผลักดันนโยบายต่างๆ ต้องคำนึงอย่างน้อย 3 เรื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ คือ คน กฎ และ งบ


โดย คน หมายถึงหน่วยงานผู้ที่จะเข้ามาดำเนินนโยบาย ส่วนกฎ คือ กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และงบฯ ก็คืองบประมาณที่ต้องนำมาใช้

นายชัยธวัช กล่าวว่า ฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องคือเรื่องกฎ และงบประมาณ และถึงแม้งบประมาณจะเสนอมาจากฝ่ายบริหาร แต่ผู้ที่จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณคือสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาในฐานะที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามา ด้วยความสำคัญของงบประมาณซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงและสถานการณ์ปัจจุบันยังอยู่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ซึ่งเป็นที่มาของการจัดเวทีในวันนี้


นายชัยธวัช ยังกล่าวว่า เวลาเราพูดถึงงบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในสภาวะที่เศรษฐกิจทดถอยหลายคนอาจนึกถึง ตัวG ใหญ่ นั่นคือค่าใช้จ่ายในภาครัฐ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศแต่สำหรับเวทีในวันนี้อยากจะชวนคุย ชวนคิดถึงงบประมาณของรัฐที่ไม่ใช่ตัว G ใหญ่ในสมการทางเศรษฐศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่อยากให้คิดถึงเรื่องของงบประมาณใน 5 มิติ คือ เรื่องของความคุ้มค่า เพราะงบประมาณมาจากภาษีของประชาชน แต่การจัดสรรงบประมาณของภาครัฐที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าไม่คุ้มค่าโดยมีสาเหตุมาจากอย่างน้อย 4 เรื่องประกอบด้วยการตั้งประมาณการของโครงการที่เกินจริง และการประเมินการต้นทุนโครงการที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไม่มีการใช้อย่างคุ้มค่าแบบที่มีการคาดการณ์เอาไว้ก่อนดำเนินโครงการ , ภาครัฐมักจัดทำตัวชี้วัดโดยเน้นแต่ผลผลิต เช่น ตั้งโครงการอบรมสัมมนาและตั้งตัวชี้วัดว่าจะสามารถจัดได้กี่ครั้งมีคนเข้ามาร่วมกี่คนแต่ไม่สนใจตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพธ์ ว่า คนที่เข้าอบรมจะมีศักยภาพเท่าไหร่และได้อะไรจากการผ่านการอบรม ,ความซ้ำซ้อนการดำเนินงานทั้งของรัฐบาลและหน่วยงานในกระทรวงต่างๆ

ส่วนมติที่ 2 งบประมาณจะต้องตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆของประเทศและต้องใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การจัดสรรงบประมาณ ระบบงบประมาณ ที่ต้องพร้อมจะรับมือกับความท้าทายใหม่ๆและสร้างโอกาสกับประเทศ ไม่ใช่การตั้งงบประมาณซ้ำแบบเดิม ตามความเคยชินแบบไม่มียุทธศาสตร์

สำหรับมิติที่ 3 คือ คือการเสริมพลังประชาชนให้กลุ่มที่ขาด ต้องใช้งบประมาณเข้าไปเสริมระบบ แต่การจัดสรร งบประมาณปี67และปี68 ไม่มีงบที่จะเข้ามาเสริมพลังประชาชนมากเท่าที่ควร ยังขาดการยกระดับเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการเสริมพลังอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสรรงบประมาณต้องไม่คิดแทนประชาชนเองหมดทุกเรื่อง เช่น โจทก์เรื่องสวัสดิการสำหรับเด็กเล็ก สวัสดิการการเลี้ยงดูบุตร พอไปดูไส้ในแล้วกลับไม่มีงบประมาณให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้โดยเฉพาะการส่งเสริมให้คนมีบุตร รวมถึงกลุ่มแรงงานที่จะต้องมีการพัฒนาอัพสกิล-รีสกิล พบว่ามีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีอัตราการเก็บภาษีใกล้เคียงกัน


การยกระดับรายได้ของเกษตรกร พบว่ามีปัญหาจำนวนมากทั้งภัยแล้ง หนี้เยอะ ไม่มีเทคโนโลยี แต่กลับไม่เห็นงบประมาณหรือแผนการในการดำเนินการเกี่ยวกับภาคการเกษตร แม้รัฐบาลจะมีโครงการชดเชยความเสียหายไร่ละ 1,000 บาทและโครงการปุ๋ยคนละครึ่งที่ตั้งงบประมาณเอาไว้ 3 หมื่นล้านบาทเป็นโครงการที่ไม่เข้าใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง เป็นการตั้งโครงการภายหลังจากที่เกษตรกรไม่ต้องการในการใช้ปุ๋ยไปแล้ว ซึ่งเราเคยชินกับการใช้งบประมาณและเสพติดกับการใช้งบประมาณในการอุดหนุนโดยไม่มีการสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นงบประมาณที่เราอยากเห็นต้องตอบโจทย์ประเทศจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ

มิติที่ 4 คือ ระบบงบประมาณที่ดีต้องสร้างเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจด้วยการบริหารให้ มีพื้นที่ทางการคลังที่เพียงพอเพราะโลกในปัจจุบัน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น โรคอุบัติใหม่ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง เป็นต้น ซึ่งเราไม่รู้ว่าเราจะเจออะไรใหม่ๆแบบฉับพลัน ตนไม่ได้บอกว่าเราจะต้องบริหารงบประมาณแบบอนุรักษ์นิยมคือ
ไม่ใช้จ่ายเพียงแต่ ต้องมีสมดุลย์และพร้อมเสมอในการเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของโลกยุคใหม่ที่จะเกิดขึ้น และต้องเชื่อมโยงกับโลกด้วย

“งบประมาณในการสร้างประชาธิปไตยต้องไม่เป็นแบบระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม ปฏิเสธไม่ได้ว่างบประมาณถูกนำไปใช้ในการสร้างระบบอุปถัมภ์ค้ำชูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการอุปถัมภ์การระหว่างรัฐมนตรีกับ สส. หรือการอุปถัมภ์การระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ รวมถึงการใช้งบประมาณสร้างฐานการเมืองในพื้นที่ เสริมสร้างระบบการเมืองอุปถัมภ์ที่เรามักจะพูดกันว่า ”บ้านใหญ่“ ซึ่ง สส. ฝ่ายค้านได้ทดลองนำงบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองในการพัฒนาเมืองจัดสรรว่า งบประมาณถูกไปกระจุกตัวอยู่จุดใดบ้าง ในแง่การพัฒนาตอบโจทย์ชัดเจนการอุปถัมภ์ทางการเมืองหรือไม่ ” นายชัยธวัช ระบุ

นายชัยธวัช ยังระบุว่า ไม่อยากชวนมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแต่จะให้มาร่วมกันคิดว่าเราจะจัดสรรงบประมาณอย่างไรด้วยความเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองและการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการกระจายอำนาจ การกระจายงบประมาณไปสู่ประชาชน ไปสู่ท้องถิ่น ในอนาคตเหล่านี้จะทำให้ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาตอบโจทย์ของสังคมและประชาชนมากขึ้น

จากนั้น ช่วงเช้าเป็นเวทีเสวนาความคืบหน้าและความผิดปกติของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 โดยมีนายวรภาพ วิริยะโรจน์ สส. พรรคก้าวไกล, นายวุฒิพงศ์นามบุตร สส. พรรคประชาธิปัตย์, นายฐากร ตัณฑสิทธิ สส.พรรคไทยสร้างไทย แลั ผศ.ดร.อาทิตย์ ทองอินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ขณะที่ช่วงบ่ายจะเป็นการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมและมีวิทยากรซึ่งเป็น สส. จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยกลุ่มที่หนึ่งเป็นหัวข้อการปรับกระบวนการและวิธีการงบประมาณปี 2569, กลุ่มที่สอง เป็นตัวอย่างกระบวนการงบประมาณเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างสรรค์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่, กลุ่มที่สามตัวอย่างกระบวนการงบประมาณเพื่อการพัฒนาทักษะฝีมือของแรงงาน, กลุ่มที่สี่ตัวอย่างกระบวนการงบประมาณในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและการควบคุมอาชญากรรมออนไลน์.-316.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า