รัฐสภา 4 ก.ค. – กมธ.นิรโทษกรรม เคาะรูปแบบ คณะกรรมการนิรโทษกรรมแบบผสมผสาน โดยมี รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน ปลัดยุติธรรมรองประธานกรรมการ ดึงปมนิรโทษ ม.112 ไปไว้สุดท้าย คาดสิ้นเดือน ก.ค. รายงานเสร็จสิ้น
นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ของสภาผู้แทนราษฎรเปิดเผยภายหลังการประชุมว่า มีประเด็นที่กรรมาธิการเห็นชอบร่วมกัน 1.โดย กรรมาธิการเห็นชอบร่วมกันที่จะใช้การนิรโทษกรรมรูปแบบผสมผสาน หรือการให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ และมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ภายใต้กระบวนการหาก ผู้มีสิทธิ์ตามกฏหมายประสงค์ใช้สิทธิ์
ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ และกรณีที่คดีอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน ให้พนักงานหรือตำรวจยุตติการสอบสวน หากอยู่ในขั้นขั้นตอนพนักงานอัยการให้ถอนฟ้อง หากกรณีจำเลยถูกฝากขังในเรือนจำให้ศาลพิจารณาออกหมายปล่อย ส่วนกรณีที่คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หรือมีการจำขังไปแล้ว สามารถออกหมายให้กรมราชทัณฑ์ปล่อยตัวกรณีกรณีที่คดีสิ้นสุดและอยู่ระหว่างการคุมขัง
ส่วนในกรณีที่คดีถึงที่สุด ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษากระทำผิด ประสงค์จะขอลบล้างประวัติ ให้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อที่จะลบประวัติดังกล่าว และในหลักการให้กรรมการดำเนินการและทำรายงานเกี่ยวกับคดี เสนอกับกรรมการผู้พิจารณา หากกรรมการไม่มีความเห็นแย้ง ภายใน 15 วัน ก็สามารถออกหนังสือดำเนินการได้ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์พิเศษสามารถยื่นคำร้องหากมีการตกหล่นสามารถยื่นดำเนินการได้
ขณะเดียวกันมีความเห็นชอบร่วมกันเรื่องขององค์ประกอบคณะกรรมการนิรโทษกรรม 1.รัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็น 2.ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการ 3.กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง และนายกสภาทนายความ
4.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม จำนวนด้านละ 1 คน เสนอชื่อมาจากคณะรัฐมนตรี 5. กรรมการผู้แทนองค์กรภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับบริบททางการเมือง แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและความปรองดองสมานฉันท์ กันเอง 3 คน ตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
6.อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์สิทธิและเสรีภาพแต่งตั้งข้าราชการของกรมกรมคุ้มครองสิทธิสิทธิและเสรีภาพจำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจของคณะกรรมการรัฐทศกรรมแบบผสมผสาน มีหน้าที่ดังนี้ 1. พิจารณาพิจารณาพิจารณารายงานคดีที่จะให้มีการนิรโทษกรรมที่หน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรมตามข้อ 1 เสนอ หากมีความเห็นแย้งให้ตอบกลับหน่วยงานราชการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน 2. พิจารณาอุทธรณ์กรณีผู้ใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ แต่ได้รับการปฏิเสธไม่ดำเนินการ มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการนิรโทษกรรมและให้มีผลผูกพันกับหน่วยงานราชการ
3.หยิบยกคดีคดีที่รับผลกระทบตามพระราชบัญญัตินี้แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้หยิบยกขึ้นพิจารณาเพื่อส่งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งกรณีที่กรรมการเห็นเองหรือกรณีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เสียหายหรือผู้เกี่ยวข้องร้องขอ 4. พิจารณาชี้ขาดกรณีกรณีที่มีปัญหามาสู่คณะกรรมการว่าคดีใดได้รับสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ จากการเสนอของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้องรวมถึงกรณีกรณีที่คณะกรรมการพบเห็นเอง
5.จัดทำรายงานผลปฎิบัติหน้าที่ประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภารับทราบและเผยแพร่ต่อสาธารณะชน 6. สื่อสารสร้างความเข้าใจสาธารณะเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดอง และ 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
โดยคดี 112 เดิมที่ศึกษามาตลอด ไม่ได้อยู่ในฐาน 17 ฐาน ความผิด แต่เมื่อทนายสิทธิมนุษยชนเสนอเข้ามา จึงนำเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย แต่จะนำมารวมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมาธิการซึ่งขณะนี้ข้อมูลครบหมดแล้ว จากผู้เกี่ยวข้อง 25 ฐานความผิด มีจำนวนเท่าไหร่ มีครบหมดแล้วและเราจะเสนอหรือชี้ไปว่า มีฐานความผิดอะไรบ้าง ซึ่งคดี 112 จะรวมหรือไม่ อยู่ที่คณะกรรมาธิการฯ คาดว่าไม่เกิน 1-2 สัปดาห์นี้ ก็น่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งขณะนี้ตนเริ่มทำรายงานแล้ว โดยรายงานของอนุกรรมาธิการฯได้สั่งพิมพ์แล้ว เหลือเพียงของคณะกรรมาธิการชุดใหญ่ ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะเสร็จเรียบร้อยสิ้นเดือนนี้
ทั้งนี้จะต้องมีบัญชีแนบท้ายเพราะระยะเวลาผ่านมา ถึง 20 ปี ถือว่านานมาก จึงต้องมีว่าการกำหนดว่าก่นิรโทษให้เป็นความผิดในคดีอะไรบ้าง ซึ่งทางคณะกรรมาธิการก็จะชี้และเสนอมายังรัฐสภา และสุดท้ายจะยกร่างเป็นกฎหมายหรือจะตัดสินใจอย่างไรก็ถือเป็นเรื่องของสภา เพราะคณะกรรมาธิการชุดนี้ไม่ได้เป็นคนร่างกฎหมายเพียงแต่ชี้แนวในการนิรโทษกรรมเท่านั้น.-312-สำนักข่าวไทย