“วิโรจน์” ย้ำกองทัพเรือไทยไม่ได้ผิดสัญญาเรือดำน้ำ

12 พ.ค. – “วิโรจน์” ย้ำกองทัพเรือไทยไม่ได้ผิดสัญญาเรือดำน้ำ “สุทิน” อย่าไปเจรจากับจีนแบบรับจบ ทำไทยเสียประโยชน์ ชี้ควรยกเลิกสัญญา แล้วเสนองบเข้ามาใหม่พร้อม Offset Policy ถ่ายทอดเทคโนโลยี-พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศ


วันที่ 12 พฤษภาคม 2567 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานคณะกรรมาธิการการทหาร กล่าวถึงกรณีที่ สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมหารือกับเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจัดซื้อเรือดำน้ำ พร้อมเปรยว่าทางการจีนจะส่งเจ้าหน้าที่ชุดใหญ่เดินทางมาไทยภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อเจรจาหาข้อยุติสุดท้าย

วิโรจน์ กล่าวว่า สิ่งที่ตนกังวลมากคือ รมว.กลาโหม จะไปดำเนินการเจรจาในแบบที่ประเทศไทยถูกเอาเปรียบ เพราะถ้าหากจำกันได้ในการอภิปรายงบประมาณ 2567 วาระที่ 1 รมว.กลาโหม เคยกล่าวในสภาฯ ไว้ว่าทั้งกองทัพเรือและบริษัท China Shipbuilding & Offshore International (CSOC) ต่างฝ่ายต่างก็เคยผิดสัญญาซึ่งกันและกัน โดยกองทัพเรือก็เคยผิดสัญญาจ่ายเงินล่าช้าในช่วงโควิด-19 ซึ่งประเด็นนี้ได้รับการยืนยันจากสำนักงบประมาณเรียบร้อยแล้วว่า กองทัพเรือจ่ายเงินให้กับ CSOC ตรงตามสัญญาตลอด ไม่เคยผิดสัญญา การที่ รมว.กลาโหมจะไปเจรจาโดยคิดไปเองว่ากองทัพเรือก็เคยผิดสัญญา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยผิดสัญญาเลย ถือเป็นท่าทีที่ใช้ไม่ได้


ถ้าจะมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นก็น่าจะเป็น CSOC ที่ผิดสัญญากับกองทัพเรือ เพราะสัญญาระบุเลขรุ่นเครื่องยนต์เอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นรุ่น 16V396SE84-GB31L เท่านั้น ซึ่งจะเป็นยี่ห้ออื่นไปไม่ได้นอกจากเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU396 โดยประเด็นนี้สำนักงบประมาณกลาโหมก็เคยมาชี้แจงยืนยันในกรรมาธิการการทหารเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 แล้ว

วิโรจน์กล่าวต่อไปว่า CSOC จะอ้างว่าการที่ตนจัดซื้อเครื่องยนต์ MTU396 ไม่ได้นั้นเป็นเหตุสุดวิสัย เป็นเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้เลย เพราะ MTU396 เป็นเครื่องยนต์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร (Dual Use) ดังนั้นก่อนที่ CSOC จะทำสัญญาต่อเรือดำน้ำขายให้กับกองทัพเรือประเทศไทย CSOC ควรต้องสอบถามจากทางเยอรมนีก่อนว่าจะขายเครื่องยนต์รุ่นนี้ให้ได้หรือไม่ จะคิดไปเองว่าเคยซื้อเครื่องยนต์ MTU396 มาต่อเรือดำน้ำเพื่อใช้ในประเทศจีนเองแล้ว ถ้าจะซื้อมาต่อเรือดำน้ำขายให้กับประเทศอื่น เยอรมนีก็ต้องยอมขายให้ คิดแบบนี้ไม่ได้ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าที่ผ่านมา CSOC ไม่เคยอ้างสัญญาหรือเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรใด ๆ ว่าได้รับความยินยอมจากเยอรมนีว่าจะขายเครื่องยนต์ MTU396 ให้ ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นความหละหลวมของ CSOC เองทั้งสิ้น จะอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้

ต่อมาเมื่อกองทัพเรือทราบว่า CSOC ไม่สามารถจัดหาเครื่องยนต์ MTU396 ได้ จึงได้ทักท้วงไปว่าการจ่ายเงินในงวดที่ 2 ตามสัญญาที่กองทัพเรือได้จ่ายชำระไปแล้ว CSOC จะต้องระบุรายการสั่งซื้ออะไหล่อุปกรณ์ในการประกอบเรือดำน้ำ ซึ่งเครื่องยนต์ MTU396 ก็เป็นหนึ่งในรายการอะไหล่อุปกรณ์ที่ทาง CSOC จัดซื้อ กองทัพเรือจึงได้ทวงถาม CSOC ให้ส่งหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องยนต์ MTU396 มาให้แก่กองทัพเรือ และ CSOC ได้ตอบกลับมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 โดยแนบหลักฐานมาเพียงอีเมล 2 ฉบับ


อีเมลฉบับแรกเป็นรายละเอียดที่ CSOC ขอใบเสนอราคา (Quotation) เครื่องยนต์ MTU396 จากเยอรมนี โดยเป็นอีเมลลงวันที่ 24 ธันวาคม 2561 หลังจากที่กองทัพเรือได้ชำระเงินงวดที่ 2 ให้กับทาง CSOC ไปแล้ว 4 วัน และเป็นการขอใบเสนอราคาหลังจากที่กองทัพเรือลงนามในสัญญาสั่งซื้อเรือดำน้ำไปแล้วถึง 598 วัน จึงเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า CSOC เรียกรับชำระเงินจากกองทัพเรือโดยที่ยังไม่ได้จัดซื้อเครื่องยนต์ MTU396 ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายการผิดสัญญา

ส่วนอีเมลอีกฉบับเป็นการติดตามเรื่อง แต่ทางเยอรมนีแจ้งว่ายังไม่อนุมัติ จึงเป็นเหตุให้ CSOC ต้องเสนอเครื่องยนต์ CHD620 ที่ผลิตภายในประเทศจีนมาแทนเครื่องยนต์ MTU396 พร้อมเสนอค่าชดเชยให้กับกองทัพเรือเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท โดยเป็นส่วนลด 128 ล้านบาท และเป็นการฝึกอบรมเพิ่มเติมอีกประมาณ 70 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ วิโรจน์ตั้งคำถามว่า ประเทศไทยคุ้มเสี่ยงหรือไม่ที่จะรับเอาเรือดำน้ำที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องยนต์ที่ใช้กับเรือผิวน้ำ และแม้แต่ประเทศจีนเองก็ยังไม่เคยใช้ เพราะใช้แต่เครื่องยนต์ MTU396 เข้าใจว่าปัจจุบันเรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ CHD620 น่าจะมีแค่ที่ประเทศปากีสถานเพียง 1 ลำเท่านั้น

แม้ว่าเครื่องยนต์ CHD620 จะผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการจากบริษัท Lloyds มาแล้ว แต่เข้าใจว่ากองทัพเรือก็ยังไม่เห็นการทดสอบการใช้งานเครื่องยนต์ CHD620 จริงในทะเล และปัจจุบันจำนวนชั่วโมงการใช้งานจริงของเครื่องยนต์ CHD620 ก็ยังถือว่าน้อยมาก ต่างจากเครื่องยนต์ MTU396 ที่มีการใช้งานจริงมาแล้วถึง 250 เครื่อง คิดเป็นชั่วโมงการทำงานกว่า 310,000 ชั่วโมง

วิโรจน์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่ากองทัพเรือได้เคยไปดูการทดสอบเครื่องยนต์ CHD620 มาแล้วครั้งหนึ่ง และเพื่อความโปร่งใส กองทัพเรือได้ประสานไปยัง CSOC เพื่อขอนำผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไปร่วมดูการทดสอบเครื่องยนต์ CHD620 ด้วยอีกครั้งหนึ่ง แต่กลับได้รับการปฏิเสธจากทาง CSOC โดยมีการระบุข้อความที่สะท้อนการไม่ให้ความร่วมมือเลยว่า “เสียเวลา (waste of time)”

“เครื่องยนต์ตัวนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ปั่นไฟเพื่อชาร์ตแบตเตอร์รี่ให้เรือดำน้ำทำงานได้ ถ้าเครื่องยนต์ทำงานผิดพลาดก็อาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรง และที่ผ่านมาก็เคยมีรายงานอุบัติเหตุที่น่าจะเชื่อมโยงถึงเครื่องยนต์เรือดำน้ำมาแล้ว โดยเกิดปัญหาขึ้นกับเรือดำน้ำชั้น Ming หมายเลข 361 เมื่อปี 2546 เครื่องยนต์ชาร์ตไฟเต็มแล้วไม่หยุดทำงาน ดูดออกซิเจนทั้งหมดออกจากเรือดำน้ำ จนลูกเรือหมดสติเฉียบพลัน มีลูกเรือเสียชีวิตทั้งสิ้น 70 นาย โดยเครื่องยนต์ที่ใช้ ณ ขณะนั้น คือเครื่องยนต์ Shaanxi 6E 390 ZC1 ที่ผลิตในจีน” วิโรจน์กล่าว

วิโรจน์กล่าวต่อไปว่า สำหรับค่าชดเชยที่คิดเป็นมูลค่าน้อยนิดเพียง 200 ล้านบาท คิดอย่างไร ก็เป็นค่าชดเชยที่เสียเปรียบมาก กองทัพเรือจ่ายชำระเงินค่าเรือดำน้ำไปแล้วประมาณ 8,000 ล้านบาท และมีการก่อสร้างท่าจอดเรือ ระบบสื่อสาร และโรงเก็บต่าง ๆ อีกราว 2,000 ล้านบาท รวมแล้ว 10,000 ล้านบาท จากเดิมที่กองทัพเรือจะต้องได้เรือดำน้ำลำแรกในปี 2566 แต่ขณะนี้จะต้องขยายเวลาไปอีกกว่า 1,200 วัน หรืออีก 4 ปี โดยจะได้รับในปี 2570 หากคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นภาระทางงบประมาณของรัฐบาลไทย อย่างน้อยค่าชดเชยที่กองทัพเรือต้องได้รับจาก CSOC ควรจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่ใช่แค่ 200 ล้านบาทตามที่ CSOC เสนอ

นอกจากนี้ ปัจจุบันกองทัพเรือมีแนวคิดที่จะใช้ Link Y ซึ่งอ้างอิงมาตรฐาน Link 11 และ Link 22 ขององค์การ NATO เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลของกองทัพเรือเข้ากับนานาชาติ ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลกับเรือดำน้ำจีนได้ ดังนั้น การสื่อสารกับเรือดำน้ำจะต้องสื่อสารด้วยเสียงผ่านวิทยุเท่านั้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างมากในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือเอง และการปฏิบัติภารกิจร่วมระหว่างเหล่าทัพ

วิโรจน์กล่าวสรุปว่า เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงประเด็นการผิดสัญญา ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ความคุ้มค่าของการชดเชย ประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจทางการทหาร ตลอดจนความจำเป็นของเรือดำน้ำ ตนจึงเสนอทางออกที่คิดว่าเป็นผลดีต่อประเทศที่สุด 2 ข้อ คือ

1) ควรยกเลิกสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำกับทาง CSOC โดยสำหรับเงินที่จ่ายไปแล้ว ถ้าคืนเป็นเงินไม่ได้ก็เจรจาให้คืนเป็นของ แต่ต้องกระทบกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยให้น้อยที่สุด เช่น ถ้าคืนเป็นเรือจะต้องไม่คืนเป็นเรือฟริเกต เพราะกองทัพเรือมีโครงการต่อเรือฟริเกตในประเทศอยู่แล้ว โดยอาจจะคืนเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) หรือเรือคอร์เว็ต หรือคืนเป็นเรือเปล่า แล้วให้กองทัพเรือเสนอของบประมาณเพื่อติดอาวุธเอง เพราะในปัจจุบันระบบอาวุธใหม่ของจีนไม่สามารถเข้ากับมาตรฐานอาวุธของกองทัพเรือ และตามสมุดปกขาวของกองทัพเรือก็ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า จะจัดหาระบบอาวุธที่เข้ากันได้กับอาวุธที่มีอยู่ของกองทัพเรือ

2) สำหรับเรือดำน้ำ หากพิจารณาจากเหตุผลของกองทัพเรือที่ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีเรือดำน้ำประจำการ และแผนการใช้เรือดำน้ำก็เป็นแผนที่ถูกร่างมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็น ถ้ามองว่าจำเป็นเช่นนั้น ก็ให้กองทัพเรือเสนอคำของบประมาณเข้ามาใหม่ในปี 2569 ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีนโยบายชดเชย หรือ Offset Policy พ่วงมาด้วย เช่น การจ้างอู่ต่อเรือในประเทศร่วมผลิตเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือที่ซบเซามาหลายปีจากการที่กองทัพเรือไม่ต่อเรือในประเทศไทย ซึ่ง Offset Policy นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ทำกันจนเป็นเรื่องปกติแล้ว

“สุดท้ายผมอยากจะย้ำกับคุณสุทินว่า กองทัพเรือไม่เคยทำผิดสัญญากับ CSOC ดังนั้นคุณสุทินในฐานะ รมว.กลาโหม ต้องห้ามคิดไปเองว่ากองทัพเรือของเราผิดสัญญา แล้วไปเจรจาให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ถ้าเรือดำน้ำจำเป็นก็ไม่ว่ากัน ก็ให้กองทัพเรือเสนองบประมาณเข้ามาใหม่ แล้วมี Offset Policy ที่เป็นประโยชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพ่วงมาด้วย ผมว่าประชาชนรับได้ ไม่ใช่ตะบี้ตะบันจะเอาเงินภาษีของประชาชนไปแลกเรือดำน้ำแบบได้ไม่คุ้มเสียให้ได้ สิ่งที่ผมเสนอทั้งหมดครบถ้วนแล้ว และทำได้จริง หวังว่าคุณสุทินจะพิจารณา” วิโรจน์กล่าว.-312-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ลิณธิภรณ์” แจงปมสะกดคำผิด ยอมรับผิดพลาดพร้อมแก้ไข

กระทรวงวัฒนธรรม 4 ก.ค.- “ลิณธิภรณ์” ยอมรับดรามาใช้ภาษาไทยสะกดคำผิด พร้อมแก้ไขปรับปรุงตัว รับปากจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก บอก บางครั้งรีบพิมพ์ไม่ได้ตรวจทาน ทำเกิดผลเสียทุกวันนี้ แจงมีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้ออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงดรามาเรื่องการใช้ภาษาไทยในโซเชียลมีเดีย ว่า ตนขอยอมรับอย่างซื่อตรง ว่าบางครั้งในการสะกดคำของตนเองก็มีความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งใช้การพิมพ์ด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้โพสต์ข้อความไปแล้ว ก่อนจะมารู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมง มันเป็นความผิดพลาด อันนี้ตนยอมรับด้วยความจริงใจ และวันนี้ตนก็เข้าใจดีว่าเมื่อมานั่งตำแหน่งตรงนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือต้องปรับปรุง และคิดว่าหลังจากนี้ความผิดพลาดเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะตนก็อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ของประเทศเหมือนกัน รวมถึงอีกสิ่งที่ตนอยากจะบอกคือการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบ จากปัญหาสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในภาพนโยบายใหญ่ คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยใน รายละเอียดที่ชัดเจน และจะเข้ากระทรวงพร้อมกันในวันที่ 8 กรกฎาคม สำหรับตนหากใครที่เคยติดตาม ก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ พูดเรื่องการศึกษาในส่วนของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเรื่องการลดค่าสอบทีแคส (TCAS) รวมถึงเรื่องการทำโครงการ ด้านสุขภาพภาวะจิต และอาจจะเป็นโครงการหนึ่งที่ตนจะสานต่อ […]

มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ที่บราซิล

ทำเนียบ 3 ก.ค.-มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่บราซิล 6-7 ก.ค.นี้ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2568 ร่วมกับผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศหุ้นส่วนจากหลากหลายประเทศ ที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (Partner Country) สำหรับการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความร่วมมือโลกใต้เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปีนี้ ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) สาธารณสุข (2) การค้า การลงทุน และการเงิน (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ธรรมาภิบาลของปัญญาประดิษฐ์ […]

Hun Sen, at event marking ruling party's 74th founding anniversary

ฮุน เซน เรียกร้องปั๊ม ปตท. งดนำเข้าน้ำมันจากไทย

พนมเปญ 3 ก.ค.- นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้เจ้าของปั๊ม ปตท.เลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน สื่อของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน พูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างการประชุมกับครูและนักเรียนที่ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในจังหวัดไพรแวงในวันนี้ เรียกร้องให้เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุกแห่งในกัมพูชาเลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นจากเวียดนาม  มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อปั๊ม แม้ว่า ปตท.จะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยก็ตาม นอกจากนี้นายฮุน เซนยังพูดถึงเรื่องที่ไทยเคยขู่ว่าจะตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เน็ต ห้ามขายเชื้อเพลิง และอื่นๆ ให้กัมพูชาด้วยว่า เมื่อไทยขู่มากัมพูชาก็ตอบโต้ทันที กัมพูชาต้องพึ่งพาตนเองให้ได้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตเหมือนกับที่กำลังเผชิญจากไทยในเวลานี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากไทย แต่กัมพูชาก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ของกัมพูชา ประธานวุฒิสภากัมพูชาเน้นย้ำว่า มาตรการทั้งหมดที่กัมพูชาได้ดำเนินไปนั้นเป็นการตอบโต้โดยตรงกับภัยคุกคามจากฝ่ายไทย รวมทั้งการที่ไทยปิดด่านพรมแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว เขาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การเจรจากับไทยจะเริ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายไทยจะต้องยอมเปิดด่านทุกจุดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยทำก่อนวันที่ 7 มิถุนายนแล้วเท่านั้น.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เปิด 7 จุดยืน “ปชน.” ทางออกประเทศหาก “แพทองธาร” พ้นเก้าอี้

กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “แพทองธาร” พ้นตำแหน่ง เปิดเงื่อนไขโหวตนายกฯ คนใหม่ พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “นายกฯ แพทองธาร” พ้นจากตำแหน่ง เพื่อนำพาประเทศไปสู่ทางออกที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับประชาชนทุกคน ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศต้องการมากที่สุด คือรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม และสามารถตั้งทีมบริหารจากความรู้ความสามารถ ไม่ใช่จากการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง2.รัฐบาลที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากสภาชุดปัจจุบัน ทางออกสำหรับประเทศจึงเป็นการจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่” โดยเร็ว3.รักษาการนายกฯ ควรประกาศให้ชัดเจนว่าจะใช้อำนาจที่ตนเองมี ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง4.หากรักษาการนายกฯ ไม่ทำ และมีเหตุใดที่ทำให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร พ้นจากตำแหน่ง กระบวนการในการเลือกนายกฯ คนใหม่ จะต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งนายกฯ ที่พร้อมเดินหน้าสู่การยุบสภา5.เพื่อให้ประเทศไม่ถูกบีบไปสู่ทางตันหรือการใช้อำนาจนอกครรลองประชาธิปไตย เราพร้อมจะพิจารณาลงมติให้กับผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ คนใหม่คนใดก็ตาม ที่ยอมรับ “เงื่อนไข” ในการเป็นรัฐบาลชั่วคราว โดยทางพรรคประชาชนจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลและจะไม่มีใครจากพรรคประชาชนไปเป็นรัฐมนตรี 6.“เงื่อนไข” ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา สำหรับนายกฯ คนใหม่ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย6.1 การประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี6.2 การยืนยันภารกิจเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว (เช่น การดำเนินการให้มีการจัดประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง เพื่อถามประชาชนเรื่องการมี […]

ข่าวแนะนำ

ทลายบ่อนกลางกรุง พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา

กทม. 4 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เอาจริง สั่งจัดระเบียบสังคมทันที หลังรับตำแหน่ง มท.1 ประเดิมงานแรก สั่งการชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง บุกทลายบ่อนพนันกลางกรุง หลังมีประชาชนร้องเรียน พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “ปิดบ่อนสะพานใหม่” จับกุมบ่อนการพนันกลางกรุง โดยชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วย นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจนรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สนธิกำลังพนักงานฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทลายบ่อนการพนันขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสะพานใหม่ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร […]

ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร

กองทัพบก 4 ก.ค.-ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร หลังลาดตระเวนพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ “Army Military Force” โพสต์คลิปทหารพรานของไทยปะทะคารมกับทหารกัมพูชา ที่กำลังพยายามรุกลํ้าเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีอาวุธปืนครบมือนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารีว่า ชุดลาดตระเวนของกองร้อยทหารพรานที่ 2304 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ได้ทำการลาดตระเวนพื้นที่ ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกำลังทหารกัมพูชา ในบริเวณจุดชมวิวภูผี ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดน ใกล้บริเวณปราสาทโดนตวล และเขาพระวิหาร และบริเวณเส้นทางลาดตระเวนใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายไทยมีการลาดตระเวนตรวจตราอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าทักทายเจรจากัน และแยกย้ายกันไป ไม่มีเหตุความรุนแรงใด พล.ต.วินธัย กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายจุดพบกำลังทหารกัมพูชามาลาดตระเวนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น และบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหน่วยของกัมพูชาร่วมลงพื้นที่ด้วยตนเอง เมื่อมาพบเจอกับฝ่ายทหารไทยก็จะมีพูดทักทายกัน และบางครั้งก็อาจจะมีแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะเหมือนถกเถียงกันบ้าง แต่ทั้งหมดไม่ถึงขั้นตั้งใจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดข้อตกลง และต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางผู้บังคับบัญชา.-313.-สำนักข่าวไทย

นักธรณีวิทยา​ย้ำไม่มีสัญญาณ​สึนามิ​เข้าไทย​ ไม่ต้องตระหนก

กรุงเทพฯ​ 4 ก.ค. – ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา ย้ำขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์​บ่งชี้ว่า​จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าสู่ประเทศไทย​ จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วง​ 1-2​ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา เป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึงไม่เข้าลักษณะที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะเดียวกัน จากการติดตามข้อมูลยังไม่พบสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า​ จะมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเกิดคลื่นสึนามิ ศ.ดร.สันติ กล่าว​ว่า​ ก่อนหน้านี้​เรารู้​จักแนวมุดตัวของเปลือก​โลก​บริเวณ​หมู่เกาะ​นิโคบาร์​-สุมาตรา ที่หากมีการเคลื่อนตัวจะมีโอกาส​เกิดสึนามิ​ แต่ล่าสุด​พบ​ว่า​ มีแนวภูเขาไฟ​ใต้น้ำ​บริเวณ​หมู่เกาะ​สุมาตรา​ที่​ไม่เคยปะทุมาก่อนและบอกไม่ได้​ว่าจะปะทุ​เมื่อ​ใด ซึ่งนักธรณีวิทยา​และหน่วยงาน​ด้านภัยพิบัติ​จะต้องติดตาม​อย่างต่อเนื่อง​ต่อไป​ ทั้งนี้ แม้ในอดีตจะเคยเกิดสึนามิจากรอยเลื่อนสุมาตราที่เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก​ แต่ย้ำว่า​ เหตุการณ์ปัจจุบันไม่มีตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวลเกินควร อย่างไรก็ตาม การตื่นรู้ต่อภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามข้อมูลจากภาครัฐ และระบบแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นเช่น Cell Broadcast​ ที่​ภาครัฐ​เร่งดำเนินการ​สำหรับ​แจ้ง​เตือน​ภัยพิบัติ​ต่าง​ ๆ ให้​ครอบคลุม​ทั่วประเทศ​ ทั้งนี้ ​การเตรียมความพร้อมคือเรื่องสำคัญ รัฐเองก็พยายามส่งสัญญาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว […]

“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม

ก.วัฒนธรรม 4 ก.ค.-“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม แจงข่าวปลอมไทยคืนวัตถุโบราณ 20 รายการ ให้กัมพูชาไม่จริง ชี้ทำตั้งแต่ “รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์” พร้อมสั่งเบรกจัดสรรงบฯ คืนวัตถุโบราณกัมพูชา จ่อแจ้งความคนปล่อยเฟกนิวส์ ปลุกปั่น “กลุ่มปราสาทตาเมือน” ยันอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยไทย ช่วงบ่ายวันนี้ (4 ก.ค.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม โดย น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรก มีข้อที่อยากจะฝากเอาไว้ และอยากจะให้ช่วยกันผลักดัน รวมถึงอยากจะอัปเดตข้อมูลให้ฟัง ซึ่งวันนี้ตนได้ทำการบ้านมาเล็กน้อย และรู้สึกดีใจที่จะได้ฟังจากทุกคนว่า แต่ละหน่วยงานแต่ละฝ่ายทำอะไรกันอยู่บ้าง และในกระทรวงฯ มีอะไรที่อยากให้ดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง ประเด็นแรก อยากจะขอชี้แจงเรื่องข่าวปลอม เรื่องการส่งคืนวัตถุโบราณ จำนวน 20 รายการ ให้กับประเทศกัมพูชา ตนขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะการคืนวัตถุโบราณให้กับประเทศกัมพูชา มีมาตั้งแต่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยได้คืนไปแล้ว […]