fbpx

รมต. ชิ่งตอบ 8 กระทู้ทั่วไปของ สว. อ้างติดภารกิจ

รัฐสภา 1 เม.ย.-รมต. ชิ่งตอบ 8 กระทู้ทั่วไปของ สว. อ้างติดภารกิจ ขณะที่ สว. มีมติรับร่างพ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แก้เพิ่มอำนาจ ป.ป.ท.


การประชุมวุฒิสภา มีนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภาวันที่ 2 เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว โดยสาระสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( ป.ป.ท.) และเพิ่มเติมแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตต่อหน้าที่ที่ต้องดำเนินการแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) และกำหนดเลขาธิการ ป.ป.ช. ไม่สามารถมอบหมายการเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งร่างกฎหมายนี้ยังแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ สำหรับกรณีผู้ถูกกล่าวหากระทำการไปโดยสุจริต และเป็นไปเพื่อประโยชน์ราชการ และกรณีหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีวิธีปฏิบัติหรือการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนและความเสียหายต่อราชการ

สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ของวุฒิสภาในครั้งนี้ ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล และคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำการศึกษาร่างพระราชบัญญัติไว้เป็นการล่วงหน้า เมื่อสมาชิกอภิปรายแล้ว ส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วย โดยเห็นว่า ร่างกฎหมายนี้ช่วยให้การดำเนินการเรื่องการป้องปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสมบูรณ์และรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ ป.ป.ท.ทำงานได้อย่างคล่องตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีสมาชิกตั้งข้อสังเกตถึงความชัดเจนการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท.ในคดีทุจริต ตามร่างกฎหมายนี้ ทั้งนี้ เมื่อวุฒิสภาพิจารณาแล้ว ที่ประชุมมีมติรับไว้พิจารณา ด้วยมติ  197 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี และงดออกเสียง 3 เสียง ก่อนตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย จำนวน 26 คน ให้เวลาแปรญัตติภายใน 7 วัน


ส่วนการพิจารณาวาระกระทู้ถามสดนายคำนูณ สิทธิสมาน สมา​ชิกวุฒิสภา ​ได้ตั้งกระทู้ถามนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงการจัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเหตุผลและนัยยะสำคัญอย่างไร ซึ่งพันตำรวจ ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ตอบกระทู้ถามแทน ชี้แจงว่า การเสนอเข้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ หรืออนุสัญญาอุ้มหาย ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ในปี 2549 และมีผลใช้บังคับปี 2553 ประเทศไทย ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอลงนามอนุสัญญา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 โดยลงนามของความเห็นชอบอนุสัญญาเบื้องต้น แต่ยังไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ต่อมารัฐบาลไทยโดยกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามในอนุสัญญา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จากนั้นทุกภาคส่วนได้มีส่วนผลักดันในการเข้าเป็นภาคีมาโดยตลอด และคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้เข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 จากนั้น ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่ง สนช. มีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 เห็นชอบให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอุ้มหาย แต่ให้ดำเนินการเมื่อได้มีประกาศกฎหมายรับรองแล้ว และในขณะนั้น สนช. ให้ความเห็นชอบการเป็นภาคี ในข้อสงวนที่ 42 ซึ่งเป็นการนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หลังจากนั้นได้มีการผลักดันจนเกิดกฎหมายพระราชบัญญัติทรมานและอุ้มหายและได้รับความเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจาฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับแบบสมบูรณ์ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

ส่วนพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ยกระดับศาลยุติธรรมของไทย เนื่องจากในความผิดตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 2565 ดังกล่าว มีมาตราสำคัญอยู่ 1 มาตรา คือ มาตราที่ 34 ที่ระบุว่า ให้ศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีตามพระราชบัญญัตินี้ และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือได้ระบุไว้ว่าให้รวมถึงคดีที่ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดด้วย ปัจจุบันพบว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ทำให้บุคคลทุกคนที่ไปกระทำผิดตามพระราชบัญญัติอุ้มหายต้องเข้ามาอยู่ในศาลทุจริต  เช่น หากทหารกระทำความผิดเรื่องทุจริตทั่วไปจะต้องไปขึ้นศาลทหาร แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ ยกระดับศาลทุจริตหรือศาลยุติธรรมของไทยสูงขึ้น ซึ่งตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลทุจริตและประพฤติมิชอบ 2559 ที่เกิดขึ้น เนื่องจากคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้หมายความถึงรวมคดีอุ้มหายนี้ด้วย ซึ่งมีผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคมและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ลดความรุนแรงดังกล่าวจึงได้มีพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการสงวนมาโดยตลอด ส่วนความเห็นของกฤษฎีกาที่เสนอว่าต่อจากนี้ไปให้สงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทุกเรื่องเป็นความเห็นกฤษฎีกาเสนอเข้ามาที่ประชุม ไม่ได้เริ่มมาจากที่กระทรวงยุติธรรม และไม่ได้เริ่มมาจากกระทรวงต่างประเทศ แต่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาด้วยเหตุผล ซึ่งมีมาตรฐานและยึดมั่นว่าศาลยุติธรรมของไทยได้มีการยอมรับ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงว่า หลังจากที่ไทยไปรับเขตอำนาจของศาลโลกแล้ว ก่อนหน้านั้นในการต่อสู้คดี ประเทศไทยได้ถอนการรับอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในตอนที่กัมพูชาฟ้องคดีเขาพระวิหารปี 2505 แต่เมื่อถึงในชั้นการพิจารณาคดีในปี 2556 ปรากฏว่า ที่ไปขอถอนอำนาจศาลดังกล่าว แต่ศาลยังพิพากษาอยู่ จากเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงเป็นแบบอนุสัญญาที่ไทยได้นำมาเพื่อไม่รับมาโดยตลอด ซึ่งประกอบไปด้วยอนุสัญญา 3 ฉบับ โดยเลขากฤษฎีกา ได้เสนอในที่ประชุมว่าหากมีอนุสัญญาดังกล่าวขอให้สงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ส่วนในกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งได้ตั้งคณะทำงาน 2 คณะ ยังไม่ได้รับข้อมูล และจะขอดำเนินการต่อแล้วจึงจะส่งเรื่องผ่านประธานวุฒิสภาต่อไป


สำหรับการพิจารณากระทู้ถามทั่วไปวันนี้ ที่อยู่ในวาระ 8 กระทู้ ถูกเลื่อนทั้งหมด เนื่องจากรัฐมนตรีติดภารกิจไม่สามารถมาตอบได้.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

“อธิบดีกรมโรงงาน” ลาออกแล้ว ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้

“จุลพงษ์ ทวีศรี” อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ยื่นหนังสือลาออก ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้ เจ้าตัวเผยน่าจะมีความเหมาะสมที่สุดแล้ว ผู้บริหารจะได้หาคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน

ข่าวแนะนำ

เตือนพายุฤดูร้อน ฉ.3 ฝนถล่มหลายจังหวัด 3-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุฤดูร้อนบริเวณไทยตอนบน ฉบับที่ 3 มีผลกระทบ 3-7 พ.ค.67 โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

ความหวังแรงงานไทย ยกระดับค่าจ้างขั้นต่ำสู่ค่าจ้างเพื่อชีวิต

ทุกปีในวันแรงงาน จะมีการรวมตัวของสภาองค์การลูกจ้างและพัฒนาแรงงาน กลุ่มต่างๆ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งปีนี้แรงงานหวังจะมีความมั่นคงในด้านระบบสวัสดิการ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

“อธิบดีกรมโรงงาน” ลาออกแล้ว ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้

“จุลพงษ์ ทวีศรี” อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ยื่นหนังสือลาออก ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้ เจ้าตัวเผยน่าจะมีความเหมาะสมที่สุดแล้ว ผู้บริหารจะได้หาคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด