นายกฯ กำชับสถานศึกษาดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน

ทำเนียบ 28 ก.พ.- โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ ห่วงใยสุขภาพอนามัยนักเรียน กำชับสถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ย้ำ ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด”


นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดในสถานศึกษาขณะนี้ สาเหตุจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ และเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย จึงเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เกิดอาการท้องเสียในกลุ่มเด็กนักเรียนในทุกระดับชั้น โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำอนามัยส่วนบุคคล ผู้ปรุงอาหาร ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เพื่อช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงได้

นายอนุชา กล่าวว่า ตามรายงานสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในประเทศไทยของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 10,755 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0-4 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปี โดยโรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือการปนเปื้อนสารพิษต่าง ๆ เป็นต้น แต่สาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยครั้งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รองลงมาคือไวรัส นอกนั้นพบได้บ้างประปราย ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักเกิดในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มรับประทานอาหาร เช่น ในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถานเลี้ยงเด็ก กิจกรรมเข้าค่าย กิจกรรมทัศนศึกษา ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงขอเน้นย้ำให้มีการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษที่ผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาทุกระดับนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้


1. จัดระบบโรงอาหารในโรงเรียน ให้ผู้ประกอบการดำเนินตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด 2. มีการตรวจรับนมโรงเรียนตามเกณฑ์ คำนึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษานมอย่างถูกวิธี ให้มีคุณภาพดีก่อนแจกจ่าย 3. มีการควบคุมดูแลผู้ทำหน้าที่ในการปรุงประกอบอาหาร หรือสัมผัสกับอาหารต้องยึดหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล 4. ผู้ปรุงประกอบอาหารควรเลือกใช้วัตถุดิบจากร้านค้าที่สะอาดได้มาตรฐาน 5. วัตถุดิบและอุปกรณ์ปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้งาน 6. ปรุงอาหารด้วยความร้อนให้ทั่วถึง 7. เมื่อปรุงอาหารเสร็จแล้วต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด 8. อาหารที่ใส่กล่องไม่ควรราดบนข้าวโดยตรง ควรแยกบรรจุกับข้าวในถุงพลาสติกต่างหาก และ 9. สถานศึกษาควรมีความพร้อมในการดูแลรักษาเบื้องต้น ทั้งการประสานส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนความพร้อมในการสื่อสารความเสี่ยงเมื่อพบนักเรียนป่วย หรือเกิดเหตุการณ์ระบาดในโรงเรียนเพื่อลดผลกระทบหรือความรุนแรงจากโรคอาหารเป็นพิษ

“นายกรัฐมนตรี ติดตามและห่วงใยสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เพราะประเทศไทยในช่วงนี้อาจมีสภาวะอากาศสำหรับโรคอาหารเป็นพิษ ประกอบกับเป็นช่วงการสอบปลายภาคของนักเรียนทุกระดับชั้น นายกรัฐมนตรีจึงขอให้ทุกสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียนเป็นพิเศษ เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้นักเรียนป่วยในช่วงสอบปลายภาค โดยยึดหลัก ‘สุก ร้อน สะอาด’ เน้นในส่วนของนมโรงเรียน ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามชนิดของนม ตรวจสอบวันหมดอายุ สุ่มตรวจสอบคุณภาพนม สี กลิ่น รส ไม่ผิดปกติ และไม่เป็นตะกอน ก่อนให้เด็กดื่ม และย้ำหลักการอาหารปลอดภัย ที่ผู้ปรุงอาหาร ประกอบอาหาร และผู้สัมผัสกับอาหารในทุกขั้นตอน ต้องดูแลความสะอาด ใส่ใจอนามัยส่วนบุคคล รวมทั้งให้เด็ก ๆ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อช่วยช่วยลดปัญหา ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงได้” นายอนุชา กล่าว

นายอนุชา ยังกล่าวว่า กรมควบคุมโรคคาดว่าจะพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษสูงต่อเนื่อง เนื่องจากมักพบจำนวนผู้ป่วยสูงในช่วงต้นปี ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกันเกือบทุกปี ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกเลือด ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ได้ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางอุจจาระและอาเจียน ส่วนใหญ่มักเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ในกลุ่มคนที่มีการรับประทานอาหารและน้ำร่วมกัน โดยการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษในเบื้องต้น ควรให้จิบน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว


อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ยังมีอาการถ่ายเหลวต่อเนื่องหรืออุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบส่งตัวไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าควักหัวใจ

รวบชายชาวจีนฆ่าโหดคู่ขา กรีดหน้าอก ควักหัวใจ-ปอด

ตำรวจรวบชายชาวจีน ก่อเหตุสะเทือนขวัญฆ่าขู่ขาหมกห้องน้ำอพาร์ตเมนต์ กลางเมืองพัทยา พบร่องรอยถูกกรีดหน้าอก ควักหัวใจ ปอดหายไปข้างหนึ่ง

อุทาหรณ์! จอดรถยนต์ติดเครื่องไว้ เจอขโมยขับหนีหาย

อากาศร้อนเป็นเหตุ หนุ่มสตาร์ทเครื่องเปิดแอร์รถยนต์จอดไว้ ก่อนลงไปซื้อของ เดินออกมาอีกที เจอคนขโมยรถ ขับหนีหายไปแล้ว

ดับแล้ว 8 ราย รถชนบนมอเตอร์เวย์ อัดก๊อปปี้พังยับ

เกิดอุบัติเหตุใหญ่ช่วงกลางดึก บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 มุ่งหน้าชลบุรี รถเทรลเลอร์ 2 คัน กับเอสยูวีอีก 1 คัน คนในรถเอสยูวี เสียชีวิต 8 ราย

ข่าวแนะนำ

Pope Francis' coffin being carried towards door in St. Peter's Basilica

“โป๊ปฟรังซิส” ปรับแก้พิธีศพให้เรียบง่ายตั้งแต่ยังมีพระชนม์ชีพ

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขพระศาสนาจักรโรมันคาทอลิก ทรงปรับแก้ไขพิธีปลงพระศพและฝังพระศพให้มีความเรียบง่าย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์ชีพ

ไข่ไก่ขึ้นราคา

ไข่ไก่ปรับขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์​ มีผลวันจันทร์นี้

ไข่ไก่ปรับขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์​ มีผล 28 เม.ย.นี้ เหตุอากาศร้อนจัด ไก่ออกไข่​น้อยลง​ ประกอบกับก่อนหน้านี้​ไข่ราคา​ตก​ เกษตรกร​ปลดแม่ไก่ยืนกรง​ อุปทานที่ลดลงทำให้​ราคา​มีแนวโน้ม​จะปรับ​ขึ้น​อีก​ตามกลไกตลาด

รับร่างตำรวจเครื่องบินตก

ครอบครัว 6 ตร. เครื่องบินตก ทยอยรับร่างไปประกอบพิธีทางศาสนา

ครอบครัว 6 ตร. กองบินตำรวจ ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตก เดินทางมารับร่างไปประกอบพิธีทางศาสนา ขณะที่นิติเวชเตรียมสถานที่ห้องพักรับรองชั้น 3 ให้นั่งพักคอย ห้ามสื่อมวลชนรบกวน