fbpx

นักวิชาการ ชี้ กสทช.สวนทางกฎหมาย

กทม. 19 ต.ค.- นักวิชาการด้านโทรคมนาคม ชี้ กสทช.ฝืนกฏหมายได้ไม่คุ้มเสีย กรณีรวมทรู-ดีแทค นักวิชาการด้านโทรคมนาคมเตือน กสทช.ต้องทำหน้าที่ตามอำนาจที่กฎหมายกำหนด หากสวนทางกฏหมาย อาจเกิดความผิด


นายสืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และนักวิชาการด้านโทรคมนาคม กล่าวถึงกรณีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งมีกำหนดพิจารณาลงมติในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.65) โดยระบุว่า อำนาจหน้าที่ของ กสทช.ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมที่เกิดขึ้น กสทช.มีบทบาทที่จะต้องพิจารณาในหลายมิติ ทั้งด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ค่าบริการ และการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยเมื่อพิจารณาตามกรอบกฎหมายจะพบว่ากรณีการควบรวมในลักษณะนี้ ระบุไว้ชัดเจนในประกาศ กสทช.ปี 2561 ซึ่งให้ กสทช.มีอำนาจใจการพิจารณารายงานของผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่มีประสงค์จะควบรวม ซึ่งรายงานนี้ยังมีการกำหนดว่าต้องทำได้ทั้งก่อนควบรวมและหลังควบรวม โดย กสทช.มีอำนาจเต็มในการออกมาตรการเสริมเพิ่มเติม ถ้าสังคมมีความกังวลเรื่องของค่าบริการ คุณภาพการให้บริการ และการดูแลลูกค้า

“เรื่องนี้ตามกฎหมายจะพิจารณาโดยให้มติหรือไม่อนุมัติไม่ได้ แต่ กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการออกประกาศเพิ่มเติมได้หากเห็นว่าสังคมมีความกังวลเรื่องค่าบริการ คุณภาพการให้บริการ และการดูแลลูกค้า เพื่อให้เกิดความสมดุลในอุตสาหกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค” นายสืบศักดิ์ กล่าว


นายสืบศักดิ์ กล่าวว่า ทราบดีว่า กสทช. ต้องพิจารณาเรื่องนี้โดยรอบคอบเพราะอยู่ในความสนใจของประชาชนและผู้ใช้บริการ จึงมีการตั้งคณะทำงานและอนุกรรมการเพื่อศึกษาหลายด้าน แม้ว่าอนุกรรมการบางชุดมีผลการศึกษาที่เห็นแล้วเกิดข้อคำถาม เช่น ค่าบริการที่จะขึ้นไป 200% โดยความเป็นจริงเป็นกลไกจากการคำนวณ แต่ในชีวิตจริง หากค่าบริการขึ้นไป 200% นั่นแสดงว่าจะต้องไม่มีกสทช. อยู่ เพราะกสทช. มีกลไกที่จะกำกับและควบคุมเพดานราคา แม้อนุกรรมการเป็นผู้ทำข้อมูล แต่ผู้ตัดสินใจก็เป็นกรรมการ และยังมีการว่าจ้างบริษัทภายนอกหรือแม้แต่สถาบันการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการศึกษา และในส่วนของอำนาจของ กสทช. นั้น กสทช. ยังมีหนังสือไปถามคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย เพื่อให้ได้รับความชัดเจนในการตีความกรอบอำนาจตามกฎหมาย

เมื่อถามถึงข้อกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องราคา หรือผลกระทบด้านอื่นๆ หลังจากการควบรวม นายสืบศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ในเรื่องกลไกการกำกับกิจการโทรคมนาคม เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมหลายด้าน ทั้งในด้านใบอนุญาต เรื่องคลื่น และเรื่องค่าบริการ ซึ่งกสทช. มีประกาศในการกำกับเพดานค่าบริการอยู่แล้ว ทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ และราคายังต่ำกว่าที่กสทช. กำหนด ดังนั้นในเรื่องข้อกังวลต่างๆ กสทช. สามารถใช้ประกาศที่มีอยู่แล้วมากำกับดูแล แต่หากกังวลว่าดีลเรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน และจะต้องให้ผ่านตามประกาศ กสทช. ปี 2561 ก็สามารถออกมาตรการหรือออกประกาศเสริมได้ ซึ่งกสทช.มีอำนาจเต็มที่ เพื่อให้มั่นใจว่าควบคุมราคาได้ ไม่มีการผูกขาด เป็นกลาง ไม่มีลักษณะของการเป็นผู้นำตลาดจนทำให้รายอื่นแข่งขันไม่ได้

“ดีลนี้เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่กสทช.เริ่มปฎิบัติหน้าที่เดือนเมษายน 2565 ตอนนี้ผ่านมา 10 เดือน ใกล้จะครบปีเต็มที ณ วันนี้ กสทช. มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยครบถ้วนหมดแล้ว จึงเชื่อว่าถึงจุดที่ กสทช.ต้องตัดสินใจสำหรับดีลนี้แล้วว่าจะทำอย่างไร เพราะการไม่ตัดสินใจจะเกิดผลกระทบ ไม่ใช่แค่เรื่องผู้บริโภค แต่จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับการทำงาน ทั้งนี้ประชาชนกำลังจับจ้องว่า กสทช. ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถหรือยัง ประเด็นจึงอยู่ที่ กสทช. ต้องทำหน้าที่ของตนเอง แต่หาก กสทช. มีเหตุผลว่าจะยังรอการพิจารณา ก็ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้จริงๆ รวมถึงการนำข้อมูลเข้าก็ต้องเป็นมติของกรรมการด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะประวิงเวลาได้หมด เชื่อว่าการตัดสินใจของ กสทช. เป็นความสง่างามแน่นอน การลงมติไม่ได้ต้องเป็นเอกฉันท์ทั้งหมด แต่ละท่านมีเอกสิทธิ์ในการโหวตและสามารถชี้แจงเหตุผลของการตัดสินใจได้” นายสืบศักดิ์ กล่าว


ส่วนประเด็นจำนวนคณะกรรมการกสทช.ที่มีปัจจุบันมีเพียง 5 นายสืบศักดิ์ มองว่า ตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มี 5 คนก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ มีหลายเรื่องที่ดำเนินการ มีมติ และเรื่องนี้ก็เช่นกัน ซึ่งก็ต้องเป็นไปตามอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ว่าทำอะไรได้หรือทำไม่ได้ กสทช. ต้องตัดสินใจ และการตัดสินใจก็อยู่ในวาระ และข้อมูลก็มีครบแล้ว กรรมการหลายคนรู้งานอยู่แล้ว เพราะบางคนเคยปฏิบัติงานอยู่ใน กสทช. บางคนเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ละคนก็มาจากหลายสาขา ซึ่งการสรรหากรรมการ กสทช. จากหลากหลายสาขา ก็เพื่อให้ใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ด้านวิชาการ หรือด้านมุมมองสังคม เพื่อมาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อีกหลายเรื่องในธุรกิจโทรคมนาคม จึงอยากให้สมดุลทั้งด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภคต้องไปได้ แต่จะหยุดชะงักไม่ได้ ขอให้กสทช. มั่นใจว่าปฏิบัติตามกรอบตามอำนาจหน้าที่ ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร เชื่อว่า ถ้ามีเหตุผลที่ดี สังคมสามารถรับฟังได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตั้ง กก.สอบปมโรงพักมีบริการเหมือนห้องพักโรงแรม

สั่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ปมโรงพักให้ผู้ต้องขังใช้โทรศัพท์-WiFi เพียงจ่ายให้ตำรวจ 100 บาท ชาร์จแบตชั่วโมงละ 30 บาท พร้อมบริการอื่นเหมือนโรงแรม

“เสรีพิศุทธ์” ถอนตัวร่วมรัฐบาลเพื่อไทย รับน้อยใจ “ทักษิณ” ไม่เห็นหัว

“เสรีพิศุทธ์” ทิ้งบอมบ์ แถลงถอนตัวร่วมรัฐบาลเพื่อไทย รับน้อยใจ “ทักษิณ” ไม่เห็นหัว ทั้งที่รับปากตอบแทนบุญคุณเป็นพันครั้ง ประกาศเปิดศึกงัดหลักฐานแชทไลน์มัดตัว ยันเดินทางไปพบที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ 2 ครั้ง พร้อมให้ข้อมูล ป.ป.ช. เอาผิดกระบวนการอุ้ม “แม้ว”

ข่าวแนะนำ

คุมได้แล้ว ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสมุทรสาคร

กว่า 10 ชั่วโมง ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่สมุทรสาคร ล่าสุดคุมเพลิงได้แล้ว แต่ยังต้องฉีดน้ำเลี้ยงกันปะทุอีกรอบ คาดเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

“บิ๊กป้อม” คัมแบ็กหัวหน้าพรรค พปชร. ลั่นต่อไปนี้ไม่มีแตกแยก

“บิ๊กป้อม” คัมแบ็กนั่งหัวหน้าพรรค พปชร. ประกาศต่อไปนี้ไม่มีแตกแยก เป็นหนึ่งเดียว เปลี่ยนวิธีบริหารใหม่ รีแบรนด์ แต่งโฉมใหม่ 24 กก.บห. ยึดอุดมการณ์ “ปกป้องสถาบัน เศรษฐกิจทันสมัย ประชาชนมีชีวิตที่สดใส”

คนขับรถบรรทุกคลั่ง

ตายอีก 1 เหยื่อคนขับรถบรรทุกคลั่ง ผลตรวจพบสารเสพติด

ผลตรวจปัสสาวะคนขับรถบรรทุกคลั่ง พบสารเสพติด แจ้ง 5 ข้อหาหนัก เตรียมฝากขังพร้อมค้านประกันตัว ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นรายที่ 2