“เหรา” น้อนตาจุดสุดน่ารักในโลกออนไลน์ | คำจากข่าว

สำนักข่าวไทย 7 ธ.ค. 63 – เจ้าน้อนตาจุด หน้าอุโบสถ วัดชัยภูมิการาม หรือ วัดกลาง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ผู้โด่งดังบนโลกออนไลน์ แท้จริงแล้วไม่ใช่พญานาค! แต่น้อนคือ “เหรา” (เห-รา) สัตว์ป่าหิมพานต์ สุดน่ารัก ไปทำความรู้จักกับน้องกันค่ะ

ภาพจาก : Arisara Kangkun

“เหรา” ที่กำลังโด่งดังอยู่ในโลกออนไลน์ขณะนี้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นบันไดอุโบสถ หรือ สิม วัดชัยภูมิการาม หรือวัดกลาง วัดเก่าแก่ ของ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ลักษณะแปลกตา มี 5 หงอน ไม่มีเกล็ด เท้าด้านหลังเหยียบปลา สร้างโดยช่างฝีมือสมัยโบราณ ลักษณะเรียบง่าย ตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นให้เหลือเพียงความงามอันบริสุทธิ์ ไม่มีเกล็ดหรือเปลวกนกเหมือนกับช่างหลวง ที่สร้างด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นความงามอีกรูปแบบที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน อาจเรียกได้อีกอย่างว่าศิลปะแบบ นาอีฟ (Naïve) เป็นคำภาษาฝรั่งเศส หมายถึง เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา


เหรา, มกร คืออะไร?

ประเทศบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง ไทย ลาว เขมร และพม่า มีความเชื่อเกี่ยวกับการบูชา “งู” และด้วยเหตุที่งูนั้นลักษณะทางกายภาพ คือ มีพิษร้ายแรง จึงเป็นสัตว์ที่มนุษย์ให้การนับถือว่ามีอำนาจ โดยเฉพาะงูใหญ่อย่าง “พญานาค” ซึ่งอาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามอุดมคติของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ อ่าน “นาคา” เจ้าพญาแห่งสายน้ำโขง อย่างเช่นในดินแดนล้านนานั้น มีปากคล้ายจระเข้ บ้างมีเขี้ยวยาวโค้ง เรียกกันว่า “มกรคายนาค” (อ่านว่า มะ–กะ–ระ หรือ มะ–กอน) เป็นสัตว์จินตนาการในป่าหิมพานต์

“มกร” มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เหรา” (เห-รา) เป็นสัตว์ที่ในป่าหิมพานต์ อยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ


ลักษณะลำตัวยาวเหยียดคล้ายพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว และส่วนหัวนั้นเป็นปากจระเข้ มีหน้าที่เฝ้าศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อาทิ พระธาตุ โบสถ์ และวิหาร ที่สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ตามคติจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ จึงต้องมีสัตว์ในป่าหิมพานต์เฝ้าอยู่เชิงเขาพระสุเมรุไม่ให้คนขึ้นไปรบกวน คนโบราณจึงมักนำมกรไปเฝ้าอยู่ตามเชิงบันไดวัด 

คำว่า “มกร” นั้น สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากมังกรของจีน เนื่องจากเราเคยเห็นแต่พญานาคที่ไม่มีขา พอเห็นตัวที่มีหัวเป็นพญานาคหรือสำรอกพญานาคและมีขาด้วยจึงเรียกตามมังกรของจีน

ศิลปกรรมมกรคายนาค, มกร หรือ เหรา นั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับเจ้าน้อนตาจุดที่วัดชัยภูมิการาม หรือ วัดกลาง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ที่สร้างโดยช่างฝีมือสมัยโบราณ ที่เต็มไปด้วยศรัทธาต่อพุทธศาสนานั่นเองค่ะ.-สำนักข่าวไทย


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

  • โชติกา นุ่นชู. มกรคายนาค พุทธศิลป์แห่งดินแดนล้านนาไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_35141
ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น