fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: การบำบัดเพื่อการข้ามเพศเด็กเป็นแค่การทดลอง ไม่รู้ผลระยะยาว จริงหรือ?

19 มิถุนายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

  1. การบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็ก (Gender-Affirming Care) สำหรับเด็กที่มีภาวะ Gender Dysphoria มีการทดลองมาอย่างยาวนาน
  2. มีการกำหนดอายุที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กอย่างชัดเจน
  3. การบำบัดเพื่อการข้ามเพศไม่จำเป็นต้องใช้ยา, ฮอร์โมนทดแทน หรือการผ่าตัดเสมอไป
  4. ผลกระทบระยะยาวต่อร่างกายจากการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กยังอยู่ในระหว่างการศึกษา
  5. งานวิจัยมากมายยืนยันว่าการบำบัดเพื่อการข้ามเพศในเด็กช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดความเครียดให้กับเด็กที่มีภาวะ Gender Dysphoria อย่างชัดเจน

ข้อมูลที่ถูกแชร์ :


มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า การบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Gender-Affirming Care) สำหรับเด็กและเยาวชนยังเป็นการรักษาอยู่ในการทดลองเท่านั้น และไม่รู้ว่าผลกระทบระยะยาวต่อเด็กที่เข้ารับการบำบัดทั้งจากยาและการผ่าตัดจะเป็นเช่นไร

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

การบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Gender-Affirming Care) คือ การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเพื่อการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ ให้แก่ผู้ป่วยที่ประสบปัญหา Gender Dysphoria หรือการทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศและเพศกำเนิด


สมาคมวิชาชีพโลกว่าด้วยสุขภาพของคนข้ามเพศ (World Professional Association for Transgender Health หรือ WPATH) หน่วยงานซึ่งกำหนดแนวทางการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ระบุว่าวิธีการดังกล่าวไม่ได้มีแค่การใช้ยาหรือการผ่าตัดเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันว่า การบำบัดเพื่อการข้ามเพศสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นกระบวนการที่ผ่านการศึกษาวิจัยจากสถาบันชั้นนำมาแล้วมากมาย อาทิ สมาคมต่อมไร้ท่อสหรัฐอเมริกา (Endocrine Society) สถาบันกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (AAP) และ WPATH

สำนักงาน Office of Population Affairs ของกระทรวงบริการด้านสุขภาพและมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา กำหนดขั้นตอนการบำบัดเพื่อการข้ามเพศสำหรับเด็กและเยาวชนเอาไว้ 4 ขั้นตอน ได้แก่

1.ทดลองใช้ชีวิตแบบเพศตรงข้าม (Social Affirmation)
2.ได้รับยาปิดกั้นฮอร์โมนเพศของตน (Puberty Blockers)
3.ได้รับฮอร์โมนของเพศตรงข้าม (Gender-Affirmation Hormone Therapy)
4.ผ่าตัดแปลงเพศ (Gender-Affirming Surgery)

(กระบวนการพยาบาลผู้ที่ต้องการแปลงเพศ
อ้างอิงงานวิจัยโดย ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์ และคณะ)
(การแบ่งขั้นตอนการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ตามอายุของเด็กในแต่ละวัย
โดยสำนักงาน Office of Population Affairs สหรัฐอเมริกา)
  1. Social Affirmation

เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการบำบัดเพื่อการข้ามเพศสำหรับเด็กและเยาวชน โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria ได้เปลี่ยนชื่อ สรรพนาม การแต่งกาย ทรงผม การใช้ห้องน้ำและร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ให้สอดคล้องตามอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง

  1. Puberty Blockers

เป็นขั้นตอนการใช้ยาฮอร์โมนสังเคราะห์ GnRH-analogue เพื่อยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนทางเพศของเด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria เพื่อชะลอการพัฒนาร่างกายที่ไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ

แต่เดิมยา GnRH-analogue ถูกใช้เพื่อรักษาเด็กที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนเวลาอันควร โดยเฉลี่ยเด็กผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุระหว่าง 8 -13 ปี เด็กผู้ชายจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุระหว่าง 9-14 ปี หรือในช่วงระยะที่ 2 ของ Tanner Stage

แม้ยา GnRH-analogue จะไม่ได้ผลิตสำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศตั้งแต่ต้น แต่การใช้ยา GnRH-analogue สำหรับเด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria ก็มีการศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยามาอย่างยาวนาน โดยสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้ยา GnRH-analogue สำหรับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศครั้งแรกเมื่อปี 2007 และในทวีปยุโรปก็เริ่มใช้รักษาเด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990’s แล้ว

ประโยชน์จากการใช้ยาเพื่อยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนทางเพศของเด็ก คือการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้เวลาเรียนรู้อัตลักษณ์ทางเพศของตนเองในช่วงดังกล่าวอย่างเต็มที่ ก่อนเข้าสู่กระบวนการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนของเพศตรงข้าม

  1. Hormone Therapy

เป็นขั้นตอนการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยให้ร่างกายของเด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria เปลี่ยนแปลงให้ตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ได้แก่ การใช้ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนสำหรับผู้มีอัตลักษณ์เป็นบุรุษข้ามเพศ และใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนสำหรับผู้มีอัตลักษณ์เป็นสตรีข้ามเพศ โดยจะเริ่มใช้เมื่อเยาวชนมีอายุประมาณ 16 ปี

โดยปกติแล้วการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน ถูกใช้ในการรักษาหลากหลายรูปแบบ ทั้งการคุมกำเนิดและรักษาอาการจากภาวะประจำเดือนหมดในผู้หญิง หรือการรักษาอาการผมร่วงในผู้ชาย

  1. Gender-Affirming Surgery

ปกติการผ่าตัดแปลงเพศจะใช้กับคนไข้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีไม่กี่เคสที่ใช้วิธีการดังกล่าวกับวัยรุ่นที่มีปัญหา Gender Dysphoria

ส่วนผลกระทบระยะยาวจากการบำบัดเพื่อการข้ามเพศให้กับเด็กและเยาวชน เช่น ผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ในอนาคต ยังมีงานวิจัยอยู่น้อย และในปัจจุบันวงการแพทย์กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบระะยาว

แต่กระนั้น การบำบัดเพื่อการข้ามเพศช่วยให้เด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria ลดความเครียด ความกังวล และความคิดฆ่าตัวตายได้อย่างมาก

งานวิจัยปี 2022 ที่เผยแพร่ผ่านทางวารสารการแพทย์ JAMA Network ยืนยันว่า เด็กที่มีปัญหา Gender Dysphoria มีความเครียดและมีความคิดอยากฆ่าตัวตายลดลง หลังเข้ารับการบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

การวิจัยแบบติดตามผล (Follow-Up Study) เป็นระยะเวลา 22 ปี ที่เผยแพร่ทางวารสารวิทยาศาสตร์ SpringerLink เมื่อปี 2021 เป็นการติดตามสุขภาวะทางกายและใจของบุรุษข้ามเพศในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เริ่มเข้ารับการบำบัดด้วยวิธี Puberty Blockers เมื่ออายุ 13 ปี เริ่มบำบัดด้วยวิธี Hormone Therapy ตอนอายุ 17 ปี และเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศตอนอายุ 20 และ 22 ปี โดยเมื่อถึงวัย 34 ปี เขามีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ และมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2023/jan/17/instagram-posts/is-all-gender-affirming-care-for-children-experime/
https://ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol36/issue1/priyoth.pdf
https://opa.hhs.gov/sites/default/files/2022-03/gender-affirming-care-young-people-march-2022.pdf
https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2789423
https://link.springer.com/article/10.1007/s10508-011-9758-9#Sec2

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“วิสุทธิ์” รับ “เกษียร” เป็นคนขับรถตัวเอง เรียกมาด่าแล้ว

“วิสุทธิ์” ประธานวิปรัฐบาล ยอมรับ “เกษียร” ที่โยง “ต้นอ้อ” ขายวุฒิการศึกษา เป็นคนขับรถตัวเอง เผยเรียกมาด่าแล้วอย่าเชื่อคนง่าย ถูกสาวบางกอกหลอกใช้บัญชีรับโอนเงิน ยืนยันบริสุทธิ์ให้ ตร.สอบได้เต็มที่ไม่มีปกป้อง

“พร้อมพงศ์” ร้อง DSI ให้ตรวจสอบการฮั้วประมูล ก.สาธารณสุข

“พร้อมพงศ์” อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร้องดีเอสไอให้ตรวจสอบการฮั้วประมูลระบบคลาวด์กระทรวงสาธารณสุข 1 พันล้านบาท ชี้มีชื่อกรรมการทับซ้อนกันหลายบริษัท

แจ้ง 4 ข้อหาหนุ่มใหญ่ซิ่งเก๋งชนรถพังยับ 6 คัน-เจ็บ 7

ตำรวจเร่งสอบปากคำและตรวจประวัติหนุ่มใหญ่ซิ่งเก๋งชนยับ 6 คัน บาดเจ็บ 7 คน ในจำนวนนี้อาการสาหัส 1 คน พร้อมแจ้ง 4 ข้อหา ก่อนให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์

ทั่วไทยจัดพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

ทั่วไทยประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ข่าวแนะนำ

“พรเพชร” แจงนัดประชุม สว. 8 ก.ค.-ยันชุดเก่าต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมีชุดใหม่

“พรเพชร” แจงเหตุนัดประชุมวุฒิสภา 8 ก.ค. เพราะ กกต. ยังไม่รับรองผลเลือก สว.ใหม่ ยันชุดเก่าต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมีชุดใหม่ บอกพิจารณากฎหมายตีกลับจาก สส.-รับทราบรายงาน ส่วนญัตติ “สมชาย” ถอดบทเรียนเลือก สว.ใหม่ ที่ประชุมอาจเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้

สรุปเหตุเพลิงไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ เสียหายทั้งชุมชน 37 ครัวเรือน

เขตสัมพันธวงศ์ สรุปเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ภายในชุมชนตรอกโพธิ์ พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ เมื่อเวลา 20.41 น. วานนี้ (6 ก.ค.) เสียหายหมดทั้งชุมชน 37 ครัวเรือน บ้านจำนวน 66 หลังคาเรือน

รฟม.จ่อลงโทษขั้นสูงสุด เหตุประตูขบวนสายสีชมพูเปิดกลางทาง

“สุริยะ” เอาจริง! มอบ รฟม. ส่งหนังสือถึง NBM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อดำเนินการตามบทลงโทษขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุประตูขบวนรถเปิดกลางทาง ลั่น! ไม่สามารถประนีประนอมหรือต่อรองได้