คพ. ย้ำโรงน้ำแข็งหมั่นตรวจสอบแอมโมเนียรั่วไหล

กรุงเทพฯ 26 เม.ย. – กรมควบคุมมลพิษเตือนโรงน้ำแข็งทุกแห่งระวังแอมโมเนียซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นรั่วไหล พร้อมแนะวิธีการจัดการเมื่อแอมโมเนียรั่วไหลเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส กรณีได้รับในความเข้มข้นสูง อาจเกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน


กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แจ้งเตือนโรงงานน้ำแข็งทุกแห่งให้เฝ้าระวังและป้องกันการรั่วไหลของแอมโมเนียที่ใช้เป็นสารทำความเย็น ในช่วงฤดูร้อน ความต้องการใช้น้ำแข็งเพิ่มขึ้น อาจเกิดการชำรุดของอุปกรณ์ทำความเย็นและเกิดการรั่วไหลของแอมโมเนีย

แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถละลายน้ำและระเหยได้ ติดไฟได้ มีฤทธิ์เป็นด่าง แอมโมเนียถูกใช้เป็นสารทำความเย็นในโรงงานน้ำแข็งและห้องเย็น เนื่องจากราคาถูก ขนส่งและใช้งานง่าย ค่าใช้จ่ายในการจัดการถูกกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่น ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบบรรยากาศ ไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน


การรั่วไหลของแอมโมเนียเกิดจากความบกพร่อง ชำรุดของอุปกรณ์เช่น รอยรั่วของท่อส่งก๊าซ วาล์ว หรือเกิดระหว่างการบำรุงรักษาระบบเนื่องจากแอมโมเนียสามารถรวมตัวกับน้ำและความชื้น เกิดเป็นแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (Ammonium hydroxide) ซึ่งมีความเป็นด่างสูง สามารถกัดกร่อนระบบ ทำให้เกิดรอยรั่ว หรือจากการจัดเก็บภาชนะบรรจุแอมโมเนียไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการรั่วไหล

เมื่อเกิดการรั่วไหล ต้องป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการสัมผัสแอมโมเนีย ใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อจับไอของแอมโมเนีย มีการตรวจวัดความเข้มข้นของแอมโมเนียทั้งบริเวณที่มีการรั่วไหลและบริเวณรอบข้าง ป้องกันไม่ให้แอมโมเนียในรูปของเหลวหรือน้ำเสียที่เกิดจากการระงับเหตุลงสู่แหล่งน้ำ และมีระบบในการจัดการน้ำเสียที่ปนเปื้อนแอมโมเนีย หลังจากนั้น ให้ตรวจสอบระบบที่มีการรั่วไหลของแอมโมเนียเช่น สภาพของท่อส่งก๊าซและวาล์ว พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไข และต้องมีการจัดทำแผนการใช้งานและซ่อมบำรุงเครื่องจักร แผนระงับเหตุฉุกเฉิน ระบบการควบคุมและการบำบัดมลพิษ

ผลกระทบต่อสุขภาพของแอมโมเนีย จะเป็นความเป็นพิษเฉียบพลันจากการสูดดมแอมโมเนียในความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การตอบสนองลดลง และไม่รู้สึกตัว เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ การบวมของลิ่นไก่ กล่องเสียง และหลอดลม หายใจติดขัด แน่นหน้าอก และหมดสติ รวมถึงเกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา ตาพร่า และอาจสูญเสียการมองเห็น การสัมผัสแอมโมเนียในสถานะของเหลวโดยตรง ทำให้ผิวหนังถูกกัดจากความเย็น (frostbite injury)


ดังนั้นขอให้ผู้ประกอบการหมั่นตรวจสอบความบกพร่อง การชำรุดของอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของแอมโมเนีย หน่วยงานท้องถิ่นต้องหมั่นตรวจโรงงานและซ้อมแผนระงับเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน. 512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

น้ำท่วมนครศรีฯ

น้ำท่วมนครศรีธรรมราช เริ่มคลี่คลาย

สถานการณ์น้ำท่วม จ.นครศรีธรรมราช เริ่มคลี่คลาย ไม่มีฝนตกลงมาเติม ทำให้ระดับน้ำลดลงในหลายจุด ถนนสายหลักกลับมาเปิดให้รถสัญจรได้แล้ว

ตร.ค้นบ้านหรูย่านราชพฤกษ์ เปิดบริษัท เบื้องหลังฟอกเงินเว็บพนัน

ตำรวจไซเบอร์เข้าค้นบ้านพักหรูย่านราชพฤกษ์ พบมีการเปิดเป็นบริษัทอำพราง เบื้องหลังใช้ฟอกเงินเว็บพนันออนไลน์

ข่าวแนะนำ

ชุมชนเทือกเขาหลวงเสียหายหนัก วอนเร่งช่วยด่วน

หลายพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังคงเดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยเฉพาะชุมชนบริเวณเทือกเขาหลวง เสียหายหนักจากน้ำป่า ชาวบ้านวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยด่วน

ขวัญใจสวนเสือพัทยา “สุดเขต” ลูกเสือโคร่งสีทองหน้าแบ๊ว

น้องสุดเขต เสือโคร่งสีทองหนึ่งเดียวในภาคตะวันออก กลายเป็นขวัญใจดวงใหม่ “หน้าแบ๊ว ขี้เล่น” อายุเพียง 11 เดือน

ปูนบำเหน็จ 5 ชั้นยศ “หมู่อาร์ม” ถูกรถขนต่างด้าวชนดับ

สุดสะเทือนใจ นำร่าง “หมู่อาร์ม” ผบ.หมู่ สภ.เมืองกำแพงเพชร ถูกรถกระบะขนแรงงานต่างด้าวแหกด่านพุ่งชนเสียชีวิต กลับมาบำเพ็ญกุศล ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปูนบำเหน็จ 5 ชั้นยศ