แนะใช้กลไกขัดเกลาสังคม ควบคู่ปรับลดอายุเด็กทำผิด แก้ปัญหาอาชญากรเด็ก

17 ม.ค. – นักวิชาการด้านอาชญาวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น วิเคราะห์สาเหตุเด็กก่อเหตุอาชญากรรมรุนแรง พร้อมแนะแก้ปัญหาโดยใช้กลไกขัดเกลาทางสังคม ควบคู่กับการเพิ่มโทษ ปรับลดเกณฑ์อายุเด็กที่กระทำผิด


คดีเยาวชน 5 คน รุมทำร้าย “ป้าบัวผัน” หญิงป่วยจิตเวช วัย 47 ปี เสียชีวิต ก่อนนำร่างไปทิ้งสระน้ำ ในจังหวัดสระแก้ว รวมทั้งเด็กชายวัย 14 ก่อเหตุสยอง บุกยิงระห่ำกลางห้างสยามพารากอน ทำให้ผู้มีเสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บอีก 5 ราย นอกจาก 2 คดีนี้ ยังมีเหตุสะเทือนขวัญจากฝีมือเด็กและเยาวชน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้ชัดได้จากข้อมูลจากของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่พบว่า ในปีที่ผ่านมา มีสถิติคดีอาญาในเด็กและเยาวชน ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มากกว่า 3,000 คดี ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 2,999 คดี เพิ่มสูงขึ้นจากปี 65 เกือบ 1,300 คดี ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2,622 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 65 กว่า 600 คดี ความผิดเกี่ยวกับอาวุธและวัตถุระเบิดอีก 1,530 คดี สูงกว่าปี 65 กว่า 600 คดี

รองอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า แนวโน้มเด็กและเยาวชนก่อเหตุร้ายแรง มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น เพราะอยู่ในช่วงวัยคึกคะนอง ยิ่งถ้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่นิยมใช้ความรุนแรง ก็ยิ่งมีโอกาสก่อเหตุได้ง่ายขึ้น ในขณะที่พ่อแม่ก็ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานใกล้ชิด


แนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือ พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบกรณีเด็กก่อเหตุร้ายแรง มีการสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับพวกเขา และมีกลไกขัดเกลาทางสังคม โดยครอบครัว สถาบันการศึกษา และชุมชน ซึ่งมีผลวิจัยระบุชัด ว่ามีผลอย่างมากต่อความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน มากกว่าการเพิ่มบทลงโทษ ปรับลดเกณฑ์อายุของเด็กที่กระทำผิดเพียงอย่างเดียว

สอดคล้องกับความเห็นของ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ที่มองว่า การปรับลดเกณฑ์อายุ เพิ่มโทษเด็กที่กระทำผิดเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้หมดไปได้ เพราะปัญหาของแต่ละคนมีความซับซ้อน และก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหาพื้นฐาน การควบคุมอารมณ์ที่เกิดจากตัวเด็กเอง การดูแลจากครอบครัวทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่มักสร้างแรงกดดันอยู่ตลอดเวลา ประสบการณ์ในโรงเรียน การถูกจัดไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่มีปัญหา สภาพแวดล้อมในชุมชน และสังคม ที่มียาเสพติดและความรุนแรง และโลกออนไลน์ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นยั่วยุ ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ยังเน้นย้ำให้ทุกคนทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน รับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง สอนให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ สอนพ่อแม่ให้เลี้ยงลูกอย่างถูกวิธี โรงเรียนต้องค้นหาเด็กที่มีปัญหา และเร่งให้ความช่วยเหลือ ส่วนชุมชนก็ต้องจัดระเบียบ จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็กๆ และเยาวชน เพื่อเป็นเกราะป้องกันการก้าวไปสู้เส้นทางการเป็นอาชญากรเด็ก.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม