กรุงเทพฯ 18 ม.ค.- กรมอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตดอกไม้เพลิง โดยอาจเกิดอันตรายได้ทั้งจากการเกิดไฟไหม้ การระเบิด การได้รับสารเคมี การได้รับเสียงดัง และอันตรายจากความร้อน
กรมอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ “อันตรายจากการผลิตดอกไม้เพลิง” โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นหนึ่งใน 5 หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การค้า การครอบครอง การขนส่งดอกไม้เพลิงและวัตถุดิบที่ใช้ไนการผลิตดอกไม้เพลิงตามประกาศกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การควบคุมและการกำกับดูแลการผลิต การค้า การครอบครอง การขนส่งดอกไม้เพลิงและวัตถุดิบที่ใช้ไนการผลิตดอกไม้เพลิง พ.ศ. 2547
สำหรับดอกไม้เพลิงคือ ผลิตภัณฑ์หรือสารผสมชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้น เมื่อทำให้เกิดความร้อนจะทำให้เกิดเป็นสี แสง เสียง หรือควัน ในลักษณะต่างๆ โดยกระบวนการเผาไหม้ ติดไฟ และการระเบิด
ดอกไม้เพลิงมีมากมายหลายชนิด โดยแตกต่างกันที่องค์ประกอบของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและการบรรจุอัดเข้าไว้ในรูปทรงที่ต่างกัน สามารถแบ่งตอกไม้เพลิงออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ดอกไม้เพลิงขนาดเล็ก ( Consumer fireworks) ใช้เพื่อความบันเทิงและเกิดสีที่สวยงามเกิดเป็นเสียงหรือควัน มีปริมาณของส่วนผสมที่เป็นวัตถุระเบิดแต่ละชิ้นไม่เกิน 50 มิลลิกรัมได้แก่ ประทัด ไฟเย็น พลุขนาดเล็ก เม็ดมะยม กระเทียม กระจับ เป็นต้น
2. ดอกไม้เพลิงขนาดใหญ่ที่มีอานุภาพรุนแรงกว่าดอกไม้เพลิงขนาดเล็ก (Display fireworks) ใช้กับงานแสดงในที่กว้าง โล่งแจ้ง ผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญ ได้รับการฝึกอบรมในการใช้มาก่อนเท่านั้นเช่น พลุขนาดใหญ่ โรมันแคนเดิลขนาดใหญ่ ดอกไม้ไฟน้ำตกขนาดใหญ่ และดอกไม้เพลิงที่ใช้เป็นตัวอักษร เป็นต้น
สารเคมีที่ใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิงมี 5 ประเภทประกอบด้วย
1. สารเคมีที่ให้ออกซิเจน (Oxidizing agent) ในการเกิดปฏิกิริยาของดอกไม้เพลิงนั้นจะอาศัยออกซิเจนจากอากาศเพียงอย่างไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยออกชิเจนบางส่วนหรือทั้งหมดจากสารที่ให้ออกซิเจนได้แก่ สารโพแตสเซียมไนเตรตหรือดินประสิว สารโพแตสเซียมคลอเรตซึ่งใช้สารเร่งดอกและผลลำไย (เคยเกิดระเบิด) และสารโพแตสเซียมเปอร์คลอเรต
2. สารเคมีที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง (Fuels) ในขณะเกิดการผาไหม้ได้แก่ ถ่าน กำมะถัน สังกะสี แป้ง แมกนีเชียม ผงคาร์บอเนต และผงอลูมิเนียม เป็นต้น
3. สารที่ช่วยในการเกาะตัวของส่วนผสม (Binder) เช่น แป้ง น้ำตาล เป็นต้น
4. สารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำให้เกิดสี (Coloring agent) ส่วนใหญ่จะเป็นเกลือของโลหะชนิดต่างๆ เมื่อได้รับแรงระเบิดจนกลายเป็นไอจะทำให้เกิดเป็นแถบสีต่างๆ ตามความยาวคลื่นของเกลือโลหะนั้นๆ เช่น สีแดงได้จากสตรอนเซียมไนเตรต สีเขียวได้จากแบเรียมไนเตรต เป็นต้น
5. ดินดำ (Black powder) เป็นสารผสมที่ประกอบด้วยโพตัสเชียมไนเตรต ซัลเฟอร์ และผงถ่าน ดินดำจะทำให้ลุกติดไฟง่าย ไวต่อการกระแทก และเสียดสีจึงใช้ในดอกไม้เพลิงเกือบทุกชนิดเพื่อช่วยในการจุดตัวของดอกไม้เพลิง
สำหรับอันตรายที่เกิดจากกระบวนการผลิตดอกไม้เพลิงมี 4 ประการได้แก่ อันตรายจากการเกิดไฟไหม้และการระเบิด อันตรายจากการได้รับสารเคมี อันตรายจากการได้รับเสียงดัง และอันตรายจากความร้อน
– อันตรายจากการเกิดไฟไหม้และการระเบิดนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นที่โรงงานผลิตและโกดังเก็บ แต่ละครั้งที่เกิดเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งสูญเสียทรัพย์สินทั้งของผู้ประกอบกิจการและผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเป็นสารที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เป็นสารที่ให้ออกซิเจน และเป็นสารที่ทำให้ลุกติดไฟง่าย ไวต่อการกระแทก และเสียดสี ดังนั้นเมื่อมีการใช้เครื่องมือเจาะที่ทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ การสูบบุหรี่ การสาธิตหรือทดลองในบริเวณที่มีการผลิตจะทำให้ระเบิดและลุกติดไฟทันที การเก็บดอกไม้เพลิงเป็นจำนวนมากไว้ในโกดังอาจป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเสียดสีกันหรือการล้มหรือหล่นของกองดอกไม้เพลิง หรือแม้แต่การเก็บสารเคมีที่จะใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิงเป็นจำนวนมากไว้ในบริเวณเดียวกันกับที่มีการผลิตตอกไม้เพลิงก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยากันเองและเกิตการลุกติดไฟและระเบิดขึ้น
– อันตรายจากการได้รับสารเคมี ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตตอกไม้เพลิงจะทำให้ได้รับสารเคมีจากกระบวนการผลิตโดยสารแต่ละชนิดมีอันตรายแตกต่างกันเช่น สารโพแตสเชียมเปอร์คลอเรตทำให้เกิดการระคายต่อผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจส่วนบน สารซัลเฟอร์หรือกำมะถันทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ สารโพตัสเซียมไนเตรต ถ้าสัมผัสจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุผิวหนัง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ สารแบเรียมไนเตรต มีพิษมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหู ตา จมูก และผิวหนัง อาจทำลายตับ ม้าม และยังทำให้เกิดอัมพาตที่แขน ขา และบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้ เป็นต้น
– อันตรายการได้รับเสียงดัง มักเกิดจากการจุดดอกไม้เพลิงในการทดสอบประสิทธิภาพ และผู้ที่ซื้อไปใช้ในงานต่างๆ จากการศึกษาของสำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อมพบว่าระดับความดังของเสียงจากการระเบิดของตอกไม้เพลิงส่วนใหญ่เป็นเสียงกระแทกสูงกว่า 130 แซิเบล เอ ที่ระยะห่างจากจุดกำเนิดเสียง 4 เมตร ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ 85 เดซิเบล เอ ระดับเสียงที่สูงกว่า 130 เดซิเบล เอ นี้จะมีผลทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว ถ้าได้รับเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการหูตึงถาวรได้
– อันตรายจากความร้อน ดอกไม้เพลิงบางชนิดให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากคือ ประมาณ 1,200 – 1,800 องศาฟาเรนไฮต์ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้เช่น ดอกไม้เพลิงที่เรียกว่า ไฟเย็น เมื่อจุดแล้วจะให้สีสันต่างๆ เป็นต้น
การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการประเภทผลิตดอกไม้เพลิงเช่น
– ไม่ควรทำให้เกิดการเสียดสีหรือเกิดความร้อนสูงกับวัสดุที่ห่อหุ้มดอกไม้เพลิงหรือยั้งไฟเช่น การใช้สว่านไฟฟ้าเจาะวัสดุที่ห่อหุ้มบั้งไฟควรทำก่อนที่จะมีการบรรจุดินปืนและสารเคมีอื่นๆ
– ไม่ควรเก็บผลิตภัณฑ์ดอกไม้เพลิงไว้จำนวนมากในโกดังเพราะอาจทำให้ร่วงหล่นหรือล้มเป็นสาเหตุให้เกิดการกระทบกระแทกกันและระเบิดขึ้นได้
– ควรแยกเก็บสารเคมีที่ยังไม่ใช้ในออกจากกระบวนการผลิตและควรแบ่งนำมาใช้แต่พอดี สารต่างชนิดกันไม่ควรก็บไว้ในที่เดียวกันเช่น สารกำมะถันกับสารโพแตสเชียมเปอร์คลอเรต หากผสมกันก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ นอกจากนี้การนำสารมาใช้แต่พอดียังเป็นการป้องกันมีให้เกิดเหตุรุนแรงด้วย
– ห้องทดลองควรแยกต่างหากห่างจากบริเวณที่เก็บผลิตภัณฑ์ดอกไม้เพลิงและสารเคมีที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
– ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเช่น ถุงมือ หน้ากากป้องกันอนุภาคของสารเคมีนั้นๆ แว่นตา ที่ครอบหูป้องกันเสียง เป็นต้น
– ห้ามสูบบุหรี่หรือมีแหล่งประกายไฟหรือแหล่งความร้อน อาจเป็นสาเหตุของการระเบิดและการติดไฟในบริเวณที่มีการผลิตตอกไม้เพลิง บริเวณแหล่งเก็บสารเคมีและวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต
– ควรให้ความรู้แก่พนักงานที่ผลิตตอกไม้เพลิงให้ทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นและวิธีการปฏิบัติงานอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
– ไม่ควรตั้งอาคารผลิตดอกไม้เพลิงในบริเวณที่มีแหล่งชุมชนหรือใกล้ที่พักอาศัยหรืออยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่พักอาศัย
– ควรมีการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารผลิตไม่ให้มีอากาศร้อนจัดเกินไปเพราะจะทำให้สารเคมีที่ใช้ในการผลิดตอกไม้เพลิงเกิดการจุดตัวและระเบิดด้วยตัวเอง
– อุปกรณ์ฟฟ้าทุกชนิดที่ในอาคารผลิตควรจะป้องกันการระเบิดได้ (Explosion proof)
– อาคารผลิตดอกไม้เพลิงจะต้องมีการออกแบบและการก่อสร้างที่ดีเช่น ควรเป็นอาคารชั้นเดียว ไม่มีชั้นใต้ดินหรือชั้นลอย ใช้วัสดุที่ทนต่อระเบิดหรือไฟไหม้
– ควรทำความสะอาดภายในบริเวณอาคารเก็บวัตถุระเบิด สารเคมี และสินค้าดอกไม้เพลิงเป็นประจำ และรักษาภายในบริเวณอาคารให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ อย่าให้มีเศษกระดาษ เศษฝุ่นผง หรือขยะอื่นๆ อยู่ภายในอาคาร สำหรับไม้กวาดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดต้องไม่มีส่วนที่เป็นโลหะที่สามารถก่อให้เกิตประกายไฟได้
ในการจัดก็บวัตถุระเบิด สารเคมีที่ใช้ในการผลิตหรือสินค้าดอกไม้เพลิงภายในอาคาร ควรจัดวางสารชนิดเดียวกันให้อยู่ในบริเวณเดียวกันและติดฉลากหรือสัญลักษณ์แสดงชนิดของสารให้สามารถเห็นได้ง่ายและชัดเจน.-512 – สำนักข่าวไทย