เซาเปาลู 5 เม.ย.- มาตรการภาษีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐประกาศใช้กับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลกอาจทำให้บราซิล ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาได้รับประโยชน์อย่างไม่คาดคิด ด้วยการเป็นตลาดทางเลือกแทนสหรัฐอีกครั้ง ทั้งนี้หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศเรื่องภาษีนำเข้าใหม่เมื่อวันที่ 2 เมษายนตามเวลาสหรัฐ ตลาดทุนตลาดเงินหลายประเทศพากันดิ่งลง แต่ค่าเงินเรียลบราซิลสวนทางด้วยการแข็งค่าขึ้นทะลุค่าเงินเรียลบราซิลแข็งค่าขึ้นทะลุ 5.60 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปแตะระดับสูงสุดนับจากเดือนตุลาคม 2567 ขณะที่ดัชนีหุ้นบราซิลปรับขึ้นร้อยละ 0.23 นายจิลแบร์โต บรากา นักเศรษฐศาสตร์ชาวบราซิลกล่าวว่า ศักยภาพของบราซิลในฐานะประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ อาจทำให้บราซิลกลายเป็นเศรษฐกิจทางเลือกแทนสหรัฐที่ปิดประตูการค้ากับหลายประเทศจากการขึ้นภาษีนำเข้า หลายฝ่ายระบุว่า การที่สหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้ากับบราซิลในอัตราพื้นฐานที่ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สหรัฐระบุว่าถูกบราซิลเรียกเก็บ ช่วยให้บราซิลมีเกราะป้องกันความเสี่ยงทางการค้าครั้งใหญ่ และดึงดูดกระแสเงินจากสหรัฐ ที่ผ่านมาบราซิลขาดดุลการค้าให้สหรัฐมาตั้งแต่ปี 2551 โดยเมื่อปี 2567 ขาดดุลให้ 253 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8,740 ล้านบาท) จากการค้าทวิภาคีมูลค่ามากกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.76 ล้านล้านบาท) ขณะเดียวกันการที่จีนประกาศเมื่อวันศุกร์ว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากสหรัฐอีกร้อยละ 34 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ถูกสหรัฐประกาศขึ้นภาษี จะทำให้ผู้นำเข้าหันไปนำเข้าสินค้าเกษตรมากบราซิลมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบราซิลเป็นผู้ส่งออกถั่วเหลือง ฝ้าย เนื้อวัว และไก่รายใหญ่ที่สุดในโลก แนวโน้มดังกล่าวจะคล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีทรัมป์ใช้มาตรการภาษีทำสงครามการค้ากับจีนในปี […]