กทม. 15 ก.พ.-ตำรวจไซเบอร์ จับเพิ่มอีก 1 คน พนักงานสินเชื่อสถาบันการเงินเอกชน ลอบขายข้อมูลลูกค้าชั้นดี ขายถูกๆ ชื่อละ 1 บาท สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำหลายหมื่นบาทต่อเดือน พบบางส่วนถูกขายไปให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ PDPC หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส., กองบัญชาการตารวจสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท. และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. แถลงขยายผลการตรวจสอบคดีผู้กระทำผิดในการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบใน ซึ่งครั้งนี้เป็นปฏิบัติการ EP.7 จับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด 9 คน และอยู่ระะหว่างติดตามจับกุม อีก 2 คน
โดยเป็นการบูรณาการขยายผลจากผู้กระทาผิดตั้งแต่ EP.1 จนถึง EP.7 ซึ่งสืบทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อสถาบันการเงินภาคเอกชนแห่งหนึ่ง ทราบชื่อคือ นายสุวรรณ อายุ 42 ปี มีพฤติกรรมลักลอบนาข้อมูลลูกค้า ของสถาบันการเงินของตนเองมาดัดแปลง แก้ไข และนำไปจำหน่ายต่อให้กลุ่มที่สนใจ เช่น ตัวแทนสินเชื่อ, ตัวแทนประกัน ซึ่งบางกรณีตกไปอยูในมือของมิจฉาชีพแก๊ง Call Center
ตำรวจ สอท.5 รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลออกหมายจับนายสุวรรณ ในความผิดฐาน “ล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้นาไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น, ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ” ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560
จากนั้นเข้าตรวจค้นจับกุมนายสุวรรณ ที่บ้านพักในตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พบของกลาง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, คอมพิวเตอร์พกพา และโทรศัพท์มือถือที่จะไฟล์ภาพข้อมูลของลูกค้าและประชาชนที่ได้จากการซื้อขายข้อมูลมาจากบุคคลอื่น และข้อมูลของลูกค้าที่เก็บไว้
นายสุวรรณ ยอมรับว่า เป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อในการประสานงานกับแม่ค้า จะมีการเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ส่วนนึงโดยทำการจดบันทึกและจดจำเป็นไฟล์เอกสารจะนำไปจำหน่ายต่อ โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในสุวรรณ จะทยอยนำรายชื่อลูกค้าครั้งละ 3000-5000 รายชื่อ ที่เป็นกลุ่มลูกค้าเครดิตดีไปจำหน่ายต่อในราคารายชื่อละ 1 บาท สร้างรายได้หลายหมื่นบาทต่อเดือน โดยทำมาแล้วเกือบ 2 ปี
ตำรวจจึงได้ประสานกับ สคส. ให้ตรวจสอบหาข้อมูลที่รั่วไหล เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และสืบสวนขยายผลผู้ร่วมกระทำผิดร่วมกับผู้ต้องหารายนี้
นายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า สถิตินับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ PDPC Eagle Eye ได้ตรวจพบการเผยแพรข้อมูลส่วนบุคคลประชาชนบนเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆ อย่างเกินความจำเป็นหรือไม่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม จำนวน 5,869 หน่วย จากการตรวจสอบทั้งหมดกว่า 2 หมื่นหน่วยงาน ซึ่งพบว่าในนั้นมีร้อยละ 90 ที่เป็นหน่วยงานราชการ จึงได้มีการเตือนและแก้ไขแล้ว มีการตรวจพบการประกาศซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก และได้มีการปิดกั้นแล้ว จำนวน 54 เรื่อง อีกทั้งในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา มีกรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิด 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา.-412-สำนักข่าวไทย