“พรรคกล้า” ยื่นข้อเสนอยกระดับมาตรการแก้วิกฤตโควิด-19

กทม. 26 ส.ค.- “พรรคกล้า” ยื่นข้อเสนอยกระดับมาตรการแก้วิกฤตโควิด-19 ชี้ตัวเลขระบาดยังสูง ปัญหาต้องรีบแก้ มั่นใจข้อเสนอทำได้จริง

แมนฯยู อดขึ้นจ่าฝูง หลังเจอเพลงดาบอัดคารัง

ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ “ปีศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เปิดสนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด พ่ายแพ้ให้กับ “ดาบคู่” เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ทีมอันดับสุดท้ายของตาราง

พิมรี่พาย ไลฟ์สดขอจบปมดราม่า แจกของวันเด็ก ขออย่าโยงทะเลาะกัน

“พิมรี่พาย” แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ไลฟ์สดลั่นเจตนาดีเอาของไปแจกวันเด็กบนดอย รับถ้าจะผิดคือบกพร่อง ขอโทษทุกคน ไม่ได้ประสาน จนท. ขอทำคอนเทนต์ทำความดีต่อไป ไม่หวั่นไหว และขอบคุณจากใจ วอนอย่าโยงเรื่องให้ทะเลาะกัน

กทม.ประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 25 ประเภท

กทม.ประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 25 ประเภท คัดกรองเข้ม 14 จุด เริ่ม 2 ม.ค.64

กทม.2 ม,ค, 64 – กทม.ออกประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 25 ประเภท ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่ผู้ไปใช้บริการไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมถึงมีการสัมผัสจับต้องโดยตรงใกล้ชิด หรือมีความสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย จึงต้องคุมเข้มการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่เกิดในช่วงเวลานี้ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (2 ม.ค.64) เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษา ให้หยุดการเรียนการสอนไปก่อนจนถึง 17 ม.ค.64  ดาวน์โหลดประกาศคลิก http://www.prbangkok.com/th/post/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQzMjExMg==?fbclid=IwAR2kGuYDsUh7yMY48ShH_8vdurq5nO72v7uQfHYSutDgphuAfvwgOfr3JjI

ไลน์แจงเซิร์ฟเวอร์ขัดข้องที่ญี่ปุ่นทำระบบล่ม

กรุงเทพฯ 9 พ.ย. ไลน์ ประเทศไทยแจงเหตุเซิร์ฟเวอร์ญี่ปุ่นขัดข้องทำให้ระบบล่มชั่วคราว บริษัทไลน์ ส่งคําชี้แจงกรณี ระบบ LINE หยุดชะงักชั่วคราว เมื่อประมาณเวลา 12.45 น. ที่ผ่านมา มีเหตุขัดข้องจากเซิร์ฟเวอร์ LINE ในประเทศญี่ปุ่นจึงทาให้เกิดการชะงกั ของระบบสื่อสารภายใต้แพลตฟอร์ม LINE เป็นเวลาประมาณ 15 นาที อย่างไรก็ตาม ขณะนีร้ ะบบได้รับการ แก้ไขเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานสามารถกลบั มาใช้งานLINEได้เป็นปกติเช่นเดิม LINE ประเทศไทย กราบขออภยั เป็นอย่างสงูในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้-สำนักข่าวไทย.

ผู้เชี่ยวชาญอุตฯโทรคมนาคมชี้ถ้า“ไบเดน”มาเทควอร์ยังอยู่

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.  ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมชี้ ไบเดน มา เทควอร์ จะยังคงอยู่ เชื่อท่าทีต่อจีนอาจผ่อนปรนลง  นายเจษฎา ศิวรักษ์  ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม  เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นต่อโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศมหาอำนาจ อิทธิพลที่จะส่งผลต่อประเทศไทยหากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นชัยชนะของพรรคเดโมแครตและส่งผลให้นายโจ ไบเดน มีความเป็นไปได้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ว่า เชื่อว่า Tech war หรือการแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมหาอำนาจอาจจะยังคงมีอยู่ แต่การมาของไบเดนน่าจะมีความประนีประนอมกับประเทศจีนมากขึ้น เพราะบริษัทไฮเทคของสหรัฐจำนวนมากอยากขายของให้จีนอยู่ รวมถึงความต้องการมีส่วนแบ่งตลาดที่ยังมีความสำคัญ เช่น Apple ก็ยังต้องการให้มีส่วนแบ่งตลาดในจีนรวมทั้งบริษัทที่ขายชิพ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี  ในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเฉพาะกับเทคโนโลยี 5G น่าจะมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปมากขึ้น แต่ในอาเซียนจะมีบางประเทศได้ประโยชน์ ไบเดนคงพยายามสนับสนุน ประเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมทั้งออสเตรเลีย ขณะที่อาจมีการสกัดกั้นหัวเว่ยผ่านประเทศที่มีการเลือกพัฒนา 5G core ด้วยเทคโนโลยีจากจีน ในส่วนประเทศไทยขึ้นอยู่กับสหรัฐว่าจะตีความให้ไทยเป็นประเทศภายใต้การครอบงำของจีน หรือไม่ ถ้าถูกมองเช่นนั้นเราอาจไม่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของอเมริกา ก่อนหน้านี้เคยประเด็นที่เกิดขึ้นกับเวียดนามที่มีการห้ามใช้าเทคโนโลยีหลัก หรือ5G core จากจีน และบางประเทศมีการแสดงท่าทีชัดเจนเช่น ออสเตรเลีย อินเดียที่มีนโยบายกีดกัน 5G จากหัวเว่ย ท่าทีที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลไทยคือการวางตัวเป็นกลางจะเหมาะสมที่สุด เราเปิดรับเทคโนโลยีจากทุกด้าน เพราะรัฐบาลเชื่อในการแข่งขัน การเปิดให้มีการแข่งข้ไม่มีการกีดกัน จะทำให้เกิดนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ หากมีการออกนโยบายกีดกัน จะทำให้การสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมหายไป ดังนั้นนโยบายเป็นกลางและสนับสนุนการแข่งขัน จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรมต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการปกป้องเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Safeguard Agreement)  การปกป้องเทคโนโลยีของประเทศต้นทาง จะได้รับการคุ้มครองไม่ให้รั่วไหลไปยังประเทศปลายทางที่ทางต้นทางไม่ต้องการได้-สำนักข่าวไทย.

ทวิตเตอร์ชี้โควิด-19ส่งผลซื้อของออนไลน์โต

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ทวิตเตอร์เผยช้อปปิ้งออนไลน์โตแรงยุคโควิด-19 ชาวทวิตภพมากกว่า 4ใน 5 คนนิยมซื้อของออนไลน์ นายอาร์วินเดอร์ กุจรัล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวิตเตอร์ กล่าวว่า ข้อมูลจาก สตาติสต้าบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด พบว่า ในปี 2562 มีการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 3.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ข้อมูลจาก MediaRadar บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดและโฆษณา พบว่ามีการใช้จ่ายค่าโฆษณาเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นจากเดิม 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ (eCommerce) และ เอ็มคอมเมิร์ซ (mCommerce) ในประเทศไทยมีมูลค่ารวมกันราว 3.98 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเกือบทุกแห่งในประเทศไทยต้องปิดตามมาตรการของรัฐที่ขอให้ทุกคนอยู่บ้าน #StayAtHome กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์ การดิสรัปต์ที่สำคัญครั้งนี้ส่งผลไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนในการเลือกซื้อสินค้าทำให้อีคอมเมิร์ซในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลเนื่องจาก การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว แบรนด์ต่างๆ จึงหันมาลงทุนศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าผู้บริโภคเลือกสิ่งที่ชอบและไม่ชอบอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และการซื้อของออนไลน์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร เป็นต้น “ไม่แปลกใจเลยว่าบทสนทนาที่พูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพิ่มมากขึ้น และเราจะเห็นช่วงพีคที่สุดในช่วงใกล้ๆ วันแห่งการช้อปปิ้งออนไลน์ทั้งก่อนและหลังวันที่มีการจัดโปรโมชั่น ทั้งนี้ การช้อปปิ้งยังเป็นหัวข้อการสนทนาที่มีการพูดคุยได้ตลอดทั้งปีบนทวิตเตอร์ ยิ่งผู้บริโภคหันมาใช้อีคอมเมิร์ซและเอ็มคอมเมิร์ซมากขึ้นจะพบว่าเทรนด์การสนทนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องแบรนด์ต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีในการทำการตลาด โดยเฉพาะจะต้องมีความเข้าใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงเลือกซื้อของทางออนไลน์และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อดังกล่าว เราพบว่าแบรนด์ในประเทศไทยต่างหันมาใช้ทวิตเตอร์ในการคอนเน็คกับกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทย” วันแห่งการช้อปปิ้งกลายเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดทั้งแบรนด์และผู้บริโภค ทวิตเตอร์นับเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้สร้างคอนเน็คกับนักช้อปออนไลน์ จากการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทยมากกว่า 4 ใน 5 คน มีการซื้อของออนไลน์ ทั้งนี้แบรนด์สามารถทำความเข้าใจเทรนด์ของผู้บริโภคได้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น ทวิตเตอร์ขอแนะนำ 3 พฤติกรรมหลักในการช้อปปิ้งเพื่อช่วยให้เข้าใจเทรนด์การช้อปออนไลน์ของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ผู้บริโภคเลือกซื้ออะไรกันบ้าง  5 ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในประเทศไทยนิยมสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์เมื่อเดือนที่ผ่านมาอันดับหนึ่ง แชมพู ร้อยละ84.7 รอลงมาคือ  น้ำยาปรับผ้านุ่ม ร้อยละ 75.6น้ำยาซักผ้า / ผงซักฟอก ร้อยละ 74.2 ครีมนวดผมร้อยละ 66.9 และเสื้อผ้า ร้อยละ66.7 ปัจจัยหลักในการช่วยกระตุ้นผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของทางออนไลน์ มาจาก 4 เหตุผลหลักคือ การจัดส่งฟรี ส่วนลดต่างๆ การจ่ายเงินเมื่อได้รับสินค้า และเสียงสนับสนุนและการพูดถึงของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสนใจในเรื่องอะไรเป็นพิเศษผู้หญิงคือกลุ่มที่นิยมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์มากที่สุดในประเทศไทยเพียงแค่รู้ว่าผู้บริโภคมีความสนใจทั่วไปในเรื่องอะไร ก็จะสามารถช่วยให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณาได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ สาวๆ นักช้อปบนทวิตเตอร์มีความสนใจในเรื่องของดนตรี, อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ, การทำอาหาร, ความงามและเครื่องสำอาง ในขณะที่หนุ่มนักช้อปมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี, ดนตรี, การเล่นกีฬาและข่าวสาร การซื้อของออนไลน์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การล็อกอินเพื่อเข้าไปซื้อแล้วล็อกออฟออกจากระบบเท่านั้น แต่ขั้นตอนในการช้อปปิ้งออนไลน์นั้นยาวนานกว่าที่คิด และมีความแตกต่างจากเดิมไปมาก การศึกษาหาข้อมูลและการวางแผนก่อนจ่ายเงินซื้อของถือเป็นส่วนที่สำคัญในขั้นตอนการซื้อของ โดยร้อยละ 94 ของนักช้อปออนไลน์บนทวิตเตอร์มักจะหาข้อมูลจากรายการสิ่งของที่อยากได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ โปรโมชั่นของวันแห่งการช้อปปิ้งที่สร้างปรากฎการณ์ ไม่ว่าจะเป็น 7/7, 8/8, 9/9, 10/10, 11/11 และ 12/12 กลายเป็นช่วงเวลาของการสร้างมูลค่ามหาศาลสำหรับวงการค้าปลีกในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 4.57 พันล้านคนทั่วโลกและในประเทศไทยมีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราวร้อยละ 75 จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมวันแห่งการช้อปปิ้งจึงเป็นการจัดโปรโมชั่นออนไลน์และกลายเป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำอีคอมเมิร์ซ ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคนิยมพูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.

แก้ยากจนได้ผล นายกฯ พอใจคนจนลดเหลือ 4.3 ล้านคน

กรุงเทพฯ 31 ต.ค.-นายกฯ พอใจการแก้ปัญหาความยากจนได้ผล คนจนลดเหลือ 4.3 ล้านคน จาก 6.7 ล้านคน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมผลลัพธ์การแก้ไขปัญหาความยากจน ภายหลังสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานสถานการณ์ความยากจนในปี 2562 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนคนจนลดลงจากปี 2561 ที่มีอยู่จำนวน 6.7 ล้านคนมาอยู่ที่จำนวน 4.3 ล้านคนในปี 2562   ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการขยายมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ อาทิ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางประชารัฐเป็นต้น  โดยมาตราการที่ออกมาส่งผลให้ภาพรวมคนไทยมีรายได้ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 9,847 บาทต่อคนต่อเดือน จากปี 2560 ที่มีรายได้ 9,614 บาทต่อคนต่อเดือน “ตัวเลขที่เกิดขึ้นสะท้อนความสำเร็จในการลดปัญหาความยากจน แม้สัดส่วนคนจนในภาพรวมจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป เนื่องจากในปี 2563 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ย้ำจะต้องแก้ไขปัญหาความยากจนต่อไป เพราะสาเหตุของความยากจนมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ปัญหาภาคเกษตรกรรม […]

รับสมัครบอร์ดกสทช.วันสุดท้ายได้80ผู้ท้าชิง7อรหันต์

กรุงเทพฯ 28 ต.ค. สมัครบอร์ด กสทช วันสุดท้าย ได้ 80 คนเข้าชิง 7 เก้าอี้ พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด มาตามคาด  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สรุปผลการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กรรมการ กสทช.) จำนวน 7 ด้าน ระหว่างวันที่ 14-28 ตุลาคม 2563  มีผู้สมัครทั้งสิ้น 80 คน  โดยผู้มาสมัครในวันสุดท้าย 21 คน หนึ่งในนี้มีพลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เข้ารับการสรรหาด้านกิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่าพลโทสรรเสริญถูกวางตัวเป็นประธานบอร์ดกสทชคนต่อไป  สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะส่งรายชื่อผู้สมัครไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามมาตรา 7 ก. และมาตรา 14/2 และตรวจสอบลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข. และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เมื่อได้รับผลการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และจะเชิญผู้สมัครมาแสดงวิสัยทัศน์ที่แสดงถึงการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของผู้สมัครเพื่อนำมากำหนดทิศทางหรือเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ต่อไป  -สำนักข่าวไทย.

“พุทธิพงษ์” เผยพบมีความพยายามป่วนเว็บ กสทช.ดีอีเอส แต่ตั้งรับได้

กรุงเทพฯ 26 ต.ค. – รมว.ดีอีเอส สั่งเฝ้าระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเข้ม เผยพบความพยายามป่วนเว็บกสทช. – กระทรวงดีอี ด้วยการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจำนวนมากแต่ยังรับมือได้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มผู้เรียกตัวเองว่ากลุ่มไซเบอร์ทรีฟิงเกอร์ประกาศจะโจมตีเว็บไซต์สารสนเทศภาครัฐว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้วตั้งแต่ช่วงเช้าซึ่งกระทรวงไม่ได้มีความห่วงกังวลกับประกาศดังกล่าว แต่ไม่ได้ประมาทหรือนิ่งนอนใจจึงได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่ถูกระบุว่าจะมีการโจมตี และให้ตรวจสอบประกาศดังกล่าวว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยกระทรวงได้มอบหมายให้ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จากการเฝ้าระวังเว็บไซต์สารสนเทศของหน่วยรัฐ ทำการเฝ้าระวังซึ่งผลการเฝ้าระวังพบว่ามีความผิดปกติบางจุดในบางช่วงเวลาในเว็บไซต์ของบางหน่วยงาน เช่น พบว่าเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการสะดุดในระยะเวลาสั้นๆ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ส่วนเว็บไซต์ของกระทรวงมีเครื่องมือที่ใช้เฝ้าระวังตรวจสอบพบว่ามีความพยายามเข้าสู่เว็บไซต์ของกระทรวงอย่างผิดปกติในช่วง12.00-13.00 น.โดยมีความพยายามเข้าสู่เว็บไซต์เข้ามาจำนวนมากผิดปกติหลายเท่า เพื่อทำให้เว็บไซต์เข้าถึงได้ใช้และอาจจะทำให้เกิดการล่มได้แต่อย่างไรก็ดีด้วยการเฝ้าระวังและการเตรียมการจึงไม่ทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงเกิดความเสียหายและยังให้บริการได้ตามปกติ สำหรับการเฝ้าระวังในช่วงนี้คงจะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษต่อเนื่องต่อไป ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นเรื่องปกติที่มีสถานการณ์ทางการเมือง จะมีการดำเนินการในลักษณะที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นการทำจริงและการขู่  “มันสะท้อนกว่าโลกเราเปลี่ยนไป เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ระบบสารสนเทศจะมีไว้เฉพาะการใช้งานเทคโนโลยีอย่างเดียวคงไม่ได้ระบบเฝ้าระวังก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การเตรียมการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเตรียมการรับมือตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาทำให้สามารถผ่อนหนักเป็นเบาและทำให้สถานการณ์ไม่รุนแรงมาก”-สำนักข่าวไทย.

กสทช.คุมเข้มความปลอดภัยเว็บสารสนเทศหลังถูกขู่โจมตี

กรุงเทพฯ 26 ต.ค. กสทช. กำชับดูแลระบบสารสนเทศหลังมีกลุ่มประกาศโจมตีเว็บระบบสารสนเทศหน่วยงานรัฐ พร้อมเร่งตรวจสอบข่าวลือกันแพร่เฟคนิวส์ ผู้สื่อข่าวรายงานตามที่มีผู้เรียกตัวเองว่าเครือข่ายนักรบไซเบอร์เพื่อประชาธิปไตยหรือ Cyber 3 Fingers ประกาศที่จะทำการโจมตีเว็บไซต์ระบบสารสนเทศของรัฐเพื่อเป็นการตอบโต้การใช้กำลังกับเยาวชนและนิสิตนักศึกษาและกดดันให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมลาออกจากตำแหน่ง โดย โดยในประกาศได้มีสัญลักษณ์ของสำนักนายกรัฐมนตรีสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกระทรวงดีเท่าเพื่อนเศรษฐกิจและสังคมกองทัพบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกสทช. ได้รับทราบประกาศดังกล่าวแล้วและไม่มีสั่งการกำชับให้ดูแลระบบสาระสนเทศรวมถึงการตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏว่าเป็นความจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเผยแพร่ข่าวลวงที่กำลังมีความพยายามสร้างข่าวลือในด้านต่างๆมากมายในสื่อโซเชียลในขณะนี้ ทั้งนี้ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติใดใดเกิดขึ้น-สำนักข่าวไทย.

กสทช.แจงเพิ่งได้จดหมายดำเนินการเนื้อหาเพจผิดกฎหมายย้ำยึดกฎหมายเป็นหลัก

กรุงเทพฯ 19 ต.ค กสทช. แจงเพิ่งได้รับหนังสือจากกระทรวงดีอีเอส แจงหลักปฏิบัติการดำเนินการเกี่ยวกับเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิด ชี้จะดำเนินการตาม กฎหมาย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (19 ต.ค. 2563) สำนักงานกสทช. เพิ่งได้รับหนังสือจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวง ดีอีเอส) เรื่อง ขอให้ดำเนินการระงับการกระทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนว่า หลักปฏิบัติโดยทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวเนื้อหาที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตว่า ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2563 กระทรวงฯ เป็นผู้มีอำนาจในการชี้ว่าเนื้อหาใดที่ปรากฏอยู่บนอินเทอร์เน็ตผิดตาม พ.ร.บ. และจะประสานงานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการโครงข่าย (IIG) ในประเทศไทยให้ดำเนินการตามกฎหมาย และจะส่งเรื่องมาให้สำนักงาน กสทช. ช่วยกำชับไปยัง ISP และ IIG ให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว  สำหรับในกรณีนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความผิดร้ายแรง ได้มีคำสั่งที่ 11/2563 เรื่องระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความใน ม. 9 ประกอบ ม. 11 ตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้สำนักงาน กสทช. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการเพื่อระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ทางกระทรวงฯ จึงได้ขอความร่วมมือให้สำนักงาน กสทช. จะประสานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกรายดำเนินการตามคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความผิดร้ายแรง ต่อไป-สำนักข่าวไทย.

1 2
...