นวัตกรรม”เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” คืนชีวิตให้ทะเลทรายใหญ่สุดของจีน

ฉงชิ่ง, 18 มิ.ย. (ซินหัว) — หากไม่ใช่เพราะสายลมได้พัดพาเอาเม็ดทรายนับไม่ถ้วนถาโถมใส่ตัวเขา หวังจื่อเสียงคงแทบลืมไปเลยว่าตนเองกำลังเพาะปลูกอยู่ในทะเลทรายทากลามากัน ที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในแผ่นดินจีน ทั้งยังเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่แห้งแล้งที่สุดของโลก นวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” ได้พลิกเปลี่ยนทรายในทะเลทรายให้กลายเป็นที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้ด้วยราคาต้นทุนที่จับต้องได้ สภาพแวดล้อมที่โหดร้ายในทะเลทรายทากลามากัน (Taklimakan)ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ไม่เคยเอื้อต่อการเพาะปลูก แต่ไหนแต่ไรมาชาวบ้านจึงต้องพึ่งพาเสบียงอาหารจากมณฑลอื่น ทว่าหวังจื่อเสียงและเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฉงชิ่งเจียวทงในนครฉงชิ่ง ได้แก้โจทย์นี้ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” (desert soilization) และพวกเขาก็ได้พลิกเปลี่ยนทรายในทะเลทรายให้กลายเป็นที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้ด้วยราคาต้นทุนที่จับต้องได้ หวังและคณะทำการจดสิทธิบัตรกระบวนการข้างต้น อันเป็นการผสมแป้งที่ทำจากเซลลูโลสพืชเข้ากับทรายแล้วนำไปใช้กับพื้นผิวทะเลทราย ซึ่งทำให้พื้นผิวทรายมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ อากาศ และปุ๋ยได้เหมือนกับดิน แป้งพิเศษนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี 2013 โดยศาสตราจารย์อี้จื้อเจียนและคณะหลังทำการวิจัยอยู่นานหลายปี โดยศาสตราจารย์อี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์ของอนุภาค ของมหาวิทยาลัยฉงชิ่งเจียวทง เมื่อปี 2016 ทะเลทรายอูหลานปู้เหอในมองโกเลียใน ได้ทำการฟื้นฟูผืนทรายที่มีขนาดราวสองเท่าของสนามฟุตบอลด้วยวิธีการใหม่นี้ และพลิกผืนทรายสู่ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ได้สำเร็จ ทำให้ข้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ แตงโม และดอกทานตะวัน ต่างงอกงามขึ้นเหนือผืนทราย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าการเพาะปลูกในผืนทรายแปลงทดลองนั้นใช้น้ำน้อยกว่าแต่กลับให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้เทคนิคดังกล่าว ต่อมาจึงมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปทดสอบในหลายๆ พื้นที่ ผ่านการทดลองเพาะปลูกขนานใหญ่ โดยค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูผืนทรายด้วยเทคนิคนี้อยู่ระหว่าง 29,850-44,776 หยวน (ราว 1.44 – 2.17 แสนบาท) […]

ตลาดจีนยังต้องการ”ทุเรียนไทย” แม้ทุเรียนที่ปลูกในจีนเตรียมวางตลาดปลายเดือนนี้

ซานย่า, 13 มิ.ย. (ซินหัว) — กระแสข่าวทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เตรียมออกวางตลาดในประเทศช่วงปลายเดือนมิถุนายน ได้ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่ผู้บริโภค บรรดาคนวงในมองว่าการผลิตทุเรียนของจีนไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางที่พึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และทุเรียนไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดจีน เนื่องจากการผลิตทุเรียนในจีนยังอยู่ระยะแรกเริ่ม ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกมากมาย ผู้สื่อข่าวซินหัวลงพื้นที่แปลงปลูกทุเรียนของบริษัท ไห่หนาน โยวฉี อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ในเมืองซานย่า ซึ่งถือเป็นฐานปลูกทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบันพื้นที่ราว 5,000 ไร่ พบว่าทุเรียนที่ฐานปลูกแห่งนี้เริ่มสุกและคาดว่าจะทยอยถูกเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนมิถุนายน พร้อมส่งขายในปีนี้เพียง 416 ไร่ หรือคิดเป็นปริมาณ 50 ตัน แม้ไห่หนานจะเป็นแหล่งผลิตทุเรียนแห่งหลักของจีน แต่ยังคงมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการปลูกทุเรียนอยู่อย่างจำกัดมาก โดยต่อให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 10 เท่า ก็ยังถือเป็นแหล่งผลิต “ขนาดเล็ก” อยู่ดี “การปลูกทุเรียนภายในประเทศอาจได้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่ผลผลิตยังเป็นส่วนน้อยมากสำหรับส่วนแบ่งของตลาด” อีกทั้งผู้ประกอบการไม่ได้คิดเร่งเพิ่มการลงทุนและพื้นที่ปลูกอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าด้วย ผู้บริโภคชาวจีนนั้นชื่นชอบ “ราชาแห่งผลไม้” อย่างทุเรียนกันมากจนทำให้จีนกลายเป็นตลาดผู้บริโภคทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทุเรียนเกือบทั้งหมดในจีนมาจากการนำเข้า ซึ่งข้อมูลสถิติพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนในปี 2022 สูงถึง 8.25 แสนตัน และส่วนใหญ่มาจากไทย เฉินเหล่ย เลขานุการสมาคมการตลาดผลไม้แห่งประเทศจีน กล่าวว่าการผลิตทุเรียนในประเทศยังอยู่ในขั้นทดลองปลูกขนาดเล็ก ยังไม่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ […]

เทคโนโลยีช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเทวรูปจากหลุมบูชายัญ 3,000 ปี

ปักกิ่ง, 11 มิ.ย. (ซินหัว) — เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเครื่องสัมฤทธิ์โบราณเก่าแก่ที่พบในหลุมบูชายัญ 8 แห่ง ณ ซากโบราณซานซิงตุย ให้กลับคืนสู่หน้าตาที่เคยเป็นเมื่อราว 3,000 ปีก่อน สถาบันวิจัยทางโบราณคดีและโบราณวัตถุมณฑลเสฉวนเปิดเผยเมื่อวันเสาร์ (10 มิ.ย.) ว่าหน้าตาฉบับสมบูรณ์ของเครื่องสัมฤทธิ์โบราณขนาดใหญ่ 2 ชิ้นได้สร้างความตื่นตะลึงให้เหล่านักโบราณคดีไม่น้อย ถังเฟย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางโบราณคดีฯ ให้ความเห็นไว้ว่า หน้าตาดั้งเดิมของเครื่องสัมฤทธิ์เหล่านี้แปลกประหลาดและน่าตกตะลึกมากกว่าที่เขาคาดไว้ “มันเปี่ยมด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์” เครื่องสัมฤทธิ์ทั้งสองชิ้นประกอบด้วยรูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งอยู่บนหลังสัตว์และเทิน “จุน” หรือภาชนะทรงคล้ายคนโทไว้บนศีรษะ ส่วนอีกชิ้นคือรูปปั้นเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนในท่ายกลำตัวขึ้นไปด้านหลังและเกาะอยู่บน “เหลย” หรือภาชนะบรรจุสุราสมัยโบราณ ซึ่งทั้งสองชิ้นล้วนประกอบขึ้นจากเศษซากที่กระจัดกระจายอยู่ในหลุมบูชายัญหลายหลุม เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของโครงสร้างวัตถุ เจ้าหน้าที่จึงยังไม่สามารถประกอบชิ้นส่วนโบราณวัตถุเหล่านี้เข้าด้วยกันได้จริง ดังนั้นจึงใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสแกน 3 มิติและแบบจำลอง 3 มิติ ในการคืนชีพหน้าตาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของสมบัติชาติเหล่านี้จนสำเร็จ รูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งบนหลังสัตว์และเทินจุนนั้น สูง 1.589 เมตร แบ่งเป็นส่วนบน กลาง และล่าง ซึ่งเชื่อว่าสัตว์ที่เขาขี่อยู่นั้นเป็น “สัตว์ศักดิ์สิทธิ์” ข้อมูลระบุว่า ส่วนปากของจุนสัมฤทธิ์ถูกพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 2 รูปปั้นคนนั่งคุกเข่าเทินจุนพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 3 […]

เปิดเส้นทางขนส่งใหม่นำเข้าทุเรียนไทยถึงจีน ภายใน 4 วัน

ฉงชิ่ง, 11 มิ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอาทิตย์ (11 มิ.ย.) เทศบาลนครฉงชิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต้อนรับรถไฟขนส่งทุเรียนไทยระบบห่วงโซ่ความเย็นขบวนแรกที่เดินทางผ่านระเบียงการค้าทางบก-ทะเลระหว่างประเทศใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor) ก่อนถึงจุดหมายปลายทาง ทุเรียนจากไทยจำนวน 150,000 ลูก ถูกขนส่งไปยังลาวผ่านทางถนน ก่อนลำเลียงขึ้นรถไฟเพื่อส่งไปยังจีนผ่านทางรถไฟจีน-ลาว เติ้งฮ่าวจี๋ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของหงจิ่วฟรุ๊ต บริษัทจัดซื้อผลไม้จีน กล่าวว่าการขนส่งทั้งหมดใช้เวลาเพียง 4 วัน ลดลงจากเส้นทางขนส่งทางทะเล-ถนนก่อนหน้านี้ที่ใช้เวลาราว 8-10 วัน พร้อมเสริมว่าสำหรับผู้นำเข้าผลไม้ เวลานั้นเป็นเงินเป็นทองและทุกชั่วโมงล้วนมีค่า โดยรถไฟขนส่งทุเรียนนี้ช่วยลดต้นทุน รวมถึงลดความเสียหายระหว่างการขนส่ง รายงานระบุว่าทุเรียนไทยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะวางจำหน่ายที่ตลาดแห่งต่างๆ ในฉงชิ่ง ขณะทุเรียนที่เหลือบางส่วนจะถูกขนส่งด้วยรถไฟสู่มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ที่อยู่ข้างเคียง อนึ่ง ทุเรียนจัดเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรหลายชนิดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) ที่ถูกนำเข้าสู่ตลาดจีนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งข้ามพรมแดน สำนักงานศุลกากรทั่วไปของจีน รายงานปริมาณการนำเข้าทุเรียนในปี 2022 ที่ 825,000 ตัน ในจำนวนนี้เป็นทุเรียนจากไทยจำนวน 780,000 ตัน […]

จีนพัฒนายานอวกาศรุ่นใหม่ รองรับผู้โดยสาร 7 ที่นั่ง

ปักกิ่ง, 9 มิ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าจีนกำลังพัฒนายานอวกาศรุ่นใหม่ที่มีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารสูงสุด 7 ที่นั่ง โจวเจี้ยนผิง หัวหน้าฝ่ายออกแบบโครงการสำรวจอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของจีน ให้สัมภาษณ์ว่ายานอวกาศรุ่นใหม่ซึ่งใหญ่กว่ายานอวกาศรุ่นปัจจุบันขนาด 3 ที่นั่ง จะสามารถบรรทุกสัมภาระและนักบินอวกาศมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยขยายขนาดเที่ยวบินอวกาศและบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวในอวกาศ นอกจากนั้นจีนกำลังพัฒนาจรวดขนส่งรุ่นใหม่เช่นกัน โดยจรวดที่มีมนุษย์ควบคุมรุ่นใหม่นี้ถูกออกแบบให้มีแรงขับยกตัวเพิ่มขึ้น ส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และพื้นที่ใหญ่ขึ้นสำหรับอุปกรณ์บรรทุก ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนมากกว่าจรวดรุ่นก่อน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230608/28d21f9aa03841b9acdcb58b1965630c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/363143_2023060ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนผุดไอเดียผลิต “โซลาร์เซลล์” ชนิดยืดหยุ่น รีดพับได้เหมือนกระดาษ

(แฟ้มภาพซินหัว : โครงการโซลาร์เซลล์ในเมืองอู่เวย มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 18 ก.พ. 2023)

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯเยือนมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างโจว

ปักกิ่ง, 7 มิ.ย. (ซินหัว) — สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมคณะ เสด็จฯ เยือนมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างโจว และพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนจีนกว่างตง ณ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อราว 14.00 น. ของวันที่ 1 มิ.ย. 2023 ตามเวลาท้องถิ่น หวังเหว่ย ประธานมหาวิทยาลัยฯ ได้แนะนำโครงการลงทะเบียนเรียนและโครงการบ่มเพาะนักศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยฯ ต่อกรมสมเด็จพระเทพฯ ณ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนจีนกวางตุ้ง ต่อมากรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทอดพระเนตรห้องโถงนิทรรศการประวัติศาสตร์การแพทย์แผนจีน ทรงรับฟังคำบรรยายแนะนำประวัติการพัฒนาการแพทย์แผนจีนในจีนและภูมิภาคหลิ่งหนานโดยละเอียด และทรงประทับชั่วครู่ในห้องโถงนิทรรศการการฝังเข็ม ห้องโถงนิทรรศการการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน และห้องโถงนิทรรศการเภสัชกรรมจีน กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงซักถามและถ่ายภาพนิทรรศการต่างๆ ที่ทรงสนพระทัยหลายครั้ง รวมถึงทรงจดในสมุดบันทึกขนาดเล็กที่ทรงพกติดตัวไปด้วยระหว่างการเสด็จฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเสวยเครื่องดื่มซินฮุ่ยเฉินผีหรือเปลือกส้มเขียวหวานอบแห้ง และของว่างพิเศษที่ทางมหาวิทยาลัยฯ จัดเตรียมไว้ให้ในช่วงพักดื่มพระสุธารสชา พร้อมรับชมการแสดงปาต้วนจิ่นหรือศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งแสดงโดยอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อสิ้นสุดช่วงพักดื่มพระสุธารสชา กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงได้รับเชิญให้ร่วมฉายพระรูปหมู่กับคณะผู้แทนอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฯ และทรงพระอักษรด้วยพู่กันจีน 4 ตัวว่า “ซิ่งหลินฟางเฟย” ซึ่งหมายถึงการมีผู้มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์มากล้น […]

ทดสอบ “รถยนต์บินได้” เหนือแม่น้ำเหลือง

จงเว่ย, 6 มิ.ย. (ซินหัว) — ชวนชมการทดสอบบินของรถยนต์ไฟฟ้าบินได้ รุ่น “เอ็กซ์2” (X2) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท เสี่ยวเผิง ฮุ่ยเทียน (XPeng Aeroht) เหนือแม่น้ำเหลือง บริเวณรีสอร์ตซาโพโถว เมืองจงเว่ย เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อวันจันทร์ (5 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ เสี่ยวเผิง ฮุ่ยเทียน ซึ่งอยู่ในเครือเสี่ยวเผิง (Xpeng) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ประกาศการได้รับใบอนุญาตแบบมีเงื่อนไขจากทางการจีน สำหรับการดำเนินงานเที่ยวบินที่ควบคุมโดยมนุษย์ของรถยนต์บินได้ รุ่นเอ็กซ์2 คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230606/5825a34d8e9c41da8c45b812f500cb28/c.htmlชมคลิป/อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/362462_20230606ขอบคุณภาพจาก Xinhua

“กัมพูชา-ไทย” ผุดบริการสแกน QR code จ่ายเงินข้ามพรมแดน ระยะ 2

พนมเปญ, 7 มิ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (6 มิ.ย.) กัมพูชาและไทยเปิดบริการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยคิวอาร์โค้ด ระยะที่สอง ซึ่งเอื้อให้ชาวไทยสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าในกัมพูชาได้โดยใช้สกุลเงินบาทของไทย แถลงการณ์จากธนาคารกลางกัมพูชา ระบุว่าเจีย จันโต ผู้ว่าการธนาคารกลางกัมพูชา และเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในงานเปิดตัวบริการดังกล่าวในกรุงพนมเปญ ซึ่งความคืบหน้าครั้งนี้มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นและการเข้าถึงบริการทางการเงิน อำนวยความสะดวกกิจกรรมการค้าข้ามพรมแดน และกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งสองประเทศ โครงการระยะแรกเปิดตัวในปี 2020 และได้เอื้อให้ชาวกัมพูชาสามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านแอปพลิเคชันบริการธนาคารบนมือถือด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ดที่ร้านค้าปลีกในไทย ส่วนสำหรับโครงการระยะที่สอง ชาวไทยจะสามารถชำระเงินด้วยวิธีการเดียวกันที่ร้านค้าในกัมพูชา เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย. 2023 เป็นต้นไป ธนาคารกลางของประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองนี้ทำงานร่วมกันตั้งแต่ปี 2018 ในการพัฒนาแอปพลิเคชันชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด เพื่อเอื้อให้ผู้คนสามารถซื้อสินค้าในประเทศของอีกฝ่ายได้โดยใช้สกุลเงินของประเทศตนเอง ชาวกัมพูชาสามารถใช้สกุลเงินเรียลซื้อสินค้าในไทยด้วยแอปพลิเคชันข้างต้น ขณะชาวไทยที่เดินทางเยือนกัมพูชาสามารถชำระเงินด้วยสกุลเงินบาทได้ โดยผู้ใช้งานระบบชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดจำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารในสกุลเงินท้องถิ่นของตน อนึ่ง ตัวเลขทางการของกัมพูชาระบุว่าปัจจุบันแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาอยู่ในไทยมากกว่า 1 ล้านคน และมีชาวไทยเดินทางไปกัมพูชามากกว่า 424,000 คน ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2023 คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/asiapacific/20230606/9cbbd640be5b4d159d70e2c164a83cca/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/eco/362646_20230607ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเปิดตัวแคมเปญ “หางาน 100 วัน” ช่วยบัณฑิตจบใหม่

ปักกิ่ง, 7 มิ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (6 มิ.ย.) กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และความมั่นคงทางสังคมของจีน เปิดตัวโครงการจัดหางานระยะเวลา 100 วัน เพื่อช่วยเหลือบัณฑิตวิทยาลัยจบใหม่ให้มีงานทำ โดยตั้งเป้ามอบโอกาสการทำงานมากกว่า 10 ล้านอัตรา โครงการดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่ตำแหน่งงานซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ เช่น เภสัชกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิตขั้นสูง และการปกป้องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งจะเกื้อหนุนมหกรรมจัดหางานเฉพาะภูมิภาคในพื้นที่ที่มีบัณฑิตจบใหม่จำนวนมาก และมีความต้องการงานสูง กระทรวงฯ เผยว่าจะมีการเปิดแพลตฟอร์มออนไลน์หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดหางานแบบเรียลไทม์และจัดถ่ายทอดสดมหกรรมจัดหางาน ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการจัดหางาน สมาคมอุตสาหกรรม และบริษัทต่างๆ อนึ่ง ข้อมูลก่อนหน้านี้ระบุว่าจีนจะมีจำนวนบัณฑิตวิทยาลัยจบใหม่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 11.58 ล้านคน ในปี 2023 คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230606/be0793a4ba7d473099f32427ef814336/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/362644_20230607ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนจับภาพ “แพนด้าเผือก” ในเขตอนุรักษ์ฯ

เฉิงตู, 28 พ.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันเสาร์ (27 พ.ค.) หน่วยงานการจัดการเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติว่อหลง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานว่ากล้องอินฟราเรดของเขตอนุรักษ์ฯ สามารถบันทึกคลิปวิดีโอแพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนเข้าหาแม่ลูกแพนด้ายักษ์คู่หนึ่ง คลิปวิดีโอที่บันทึกได้เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เผยภาพแพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนเดินตรงเข้าหาแม่ลูกแพนด้ายักษ์ที่กำลังพักผ่อนอยู่ในโพรงต้นไม้และส่งสัญญาณการสร้างปฏิสัมพันธ์ ทว่าแม่แพนด้ายักษ์ไม่ได้ออกมาจากโพรงต้นไม้และรักษาท่าทีสงบนิ่ง หลังจากแม่ลูกแพนด้ายักษ์คู่ดังกล่าวออกจากโพรงต้นไม้แล้ว แพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนได้กลับมายังโพรงต้นไม้อีกครั้ง และใช้จมูกดมกลิ่นทั่วบริเวณที่แม่แพนด้ายักษ์เคยอาศัยอยู่ “ลูกแพนด้ายักษ์ในคลิปวิดีโออายุราว 1-2 ปี ส่วนแพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนมีขนาดลำตัวเกือบเท่าแพนด้ายักษ์โตเต็มวัย” เว่ยหรงผิง วิศวกรอาวุโสประจำศูนย์อนุรักษ์และวิจัยแพนด้ายักษ์แห่งประเทศจีนกล่าว “ช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แพนด้ายักษ์ป่าในว่อหลงเข้าสู่ฤดูติดสัด ซึ่งเป็นช่วงที่แพนด้ายักษ์เพศเมียพร้อมลูกอาจดุร้ายมากหากมีแพนด้ายักษ์โตเต็มวัยเข้าหาหรือรุกล้ำ” “แพนด้ายักษ์เพศเมียตัวนี้มีท่าที ‘สงบนิ่ง’ อย่างมากจนดูไม่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติทั่วไป ทำให้มีความเป็นไปได้ประการหนึ่งว่าแพนด้ายักษ์เพศเมียเป็นแม่ของแพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนตัวนี้ด้วย” เว่ยเสริม หน่วยงานการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ ระบุว่ามีคลิปวิดีโออีก 15 คลิป ซึ่งบันทึกวิถีการสัญจรที่ซ้อนทับกันของแพนด้ายักษ์ทั้งสามตัวในช่วงเวลาอันสั้น อนึ่ง กล้องอินฟราเรดของเขตอนุรักษ์ฯ เคยบันทึกภาพแพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนอันมีเอกลักษณ์นี้บนพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 2,000 เมตร เมื่อเดือนเมษายน 2019 แพนด้ายักษ์ขนสีขาวล้วนนี้ที่ไม่มีจุดตามร่างกายและตาสีแดง จัดเป็นแพนด้ายักษ์เผือก (albino) ซึ่งคาดว่าเป็นแพนด้ายักษ์เผือกเพียงตัวเดียวบนโลก – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230528/ab7d51c78bcf4ddeadb14a50ac93e417/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360549_20230528ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิทย์จีนสร้างสถิติใหม่ “สื่อสารเชิงควอนตัม” ระยะไกล

เหอเฝย, 31 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนสร้างสถิติโลกของการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) แบบสนามคู่ ผ่านสายใยแก้วนำแสงความยาว 1,002 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสู่การสร้างเครือข่ายควอนตัมขนาดใหญ่ในอนาคต การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมเป็นวิธีการหลักสำหรับการสื่อสารเชิงควอนตัม ช่วยให้ผู้ใช้งานระยะไกล 2 ฝ่าย สร้างกุญแจเข้ารหัสใช้งานร่วมที่มีเพียงพวกเขาเท่านั้นที่รู้ ซึ่งถูกใช้งานในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อความ อย่างไรก็ดี การประยุกต์ใช้งานการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมเผชิญปัญหาใหญ่คือระยะทางจำกัด เนื่องจากไม่สามารถขยายขอบเขตสัญญาณเชิงควอนตัมและการส่งสัญญาณผ่านของช่องทางสื่อสารจะลดลงแบบทวีคูณตามระยะทาง ก่อนหน้านี้มีการสาธิตการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมแบบสนามคู่ในห้องปฏิบัติการผ่านม้วนใยแก้วความยาว 830 กิโลเมตร ผลการศึกษาในวารสารฟิสิคัล รีวิว เลตเตอร์ส (Physical Review Letters) ระบุว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน สถาบันเทคโนโลยีควอนตัมแห่งจี่หนาน สถาบันไมโครซิสเต็มและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งเซี่ยงไฮ้ เผยว่าระยะการกระจายที่ยาวที่สุดอยู่ที่ 1,002 กิโลเมตร ด้วยอัตรากุญแจความปลอดภัย 0.0034 บิตต่อวินาที คณะนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาการประมาณค่าระยะแบบดูอัลแบนด์ (dual-band) หรือสองคลื่นอุปกรณ์ และเครื่องตรวจจับโฟตอนเดี่ยวเส้นลวดนาโนที่มีตัวนำยิ่งยวด (SNSPD) ระหว่างการทดลอง เพื่อลดเสียงรบกวนของระบบซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิตกุญแจความปลอดภัยในระยะไกล การศึกษาครั้งนี้ได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ของการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมแบบสนามคู่ในระยะทางไกลมาก และบ่งชี้โอกาสในการสื่อสารเชิงควอนตัมระยะไกล-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230530/e64de946b18c4458adc9f524b34d76b6/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/361459_20230601ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 5 6 7 8 9 29
...