ชัวร์ก่อนแชร์ : ถอดแคตตาไลติกรถยนต์จะวิ่งดี จริงหรือ ?
บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำผู้ใช้รถยนต์ว่าถอดแคตตาไลติกรถยนต์จะวิ่งดีแถมมีผลดีต่อเครื่องยนต์ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำผู้ใช้รถยนต์ว่าถอดแคตตาไลติกรถยนต์จะวิ่งดีแถมมีผลดีต่อเครื่องยนต์ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ดีอีเอส-ดีป้า เร่งดัน 5 โครงการร่วมมือ ไทย-เกาหลี ในปี 63 มุ่งขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ
พบซากกวางป่าเพศผู้ ใกล้อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ไม่พบบาดแผลภายนอก ผ่าอวัยวะภายในพบขยะพลาสติก 7 กก. เบื้องต้นคาดสาเหตุจากภาวะทางเดินอาหารอุดตันและชรา
คณะทำงานกรมป่าไม้ตรวจสอบที่ดินเขาสนฟาร์มของ “ปารีณา ไกรคุปต์” ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ พบบุกรุกป่าสงวน 46 ไร่ เตรียมดำเนินการตามกฎหมาย
อธิบดีกรมอุตุฯ ชี้อาฟเตอร์ช็อกจากแผ่นดินไหวในลาวจะมีต่อเนื่อง แต่จะลดระดับความรุนแรงลงเรื่อยๆ และไม่มีความรุนแรงมากกว่าเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาอีกแล้ว โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้รอยเลื่อนในไทยที่ต้องเฝ้าระวัง คือ รอยเลื่อนปัว จ.น่าน แต่ยังไม่มีอะไรน่าห่วง
ปัญหาน้ำเสียจากพื้นที่เกษตรและแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงคลองโคน และบางตะบูนได้รับผลกระทบ บางปีรุนแรงตายยกฟาร์ม นักวิจัยสกสว. จึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา
หนองบัวลำภู 14 พ.ย. 62 – กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 11 ของประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดตัวซากฟอสซิลไดโนเสาร์ โดยพบว่าเป็นการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ตัวที่ 11 ของประเทศไทย นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ซากชิ้นส่วนฟอสซิล เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า“วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis) หรือ ไดโนเสาร์จ้าวลมกรด มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-4.5 เมตร อายุ 130 ล้านปี โดยทีมวิจัยค้นพบที่อุทยานแห่งชาติภูเก้า – ภูพานคำ จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งพบชิ้นส่วนครั้งแรกเมื่อปี 2531 โดยทีมวิจัยของ นายพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับชื่อสกุล วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส มาจากภาษาสันสกฤต วายุ หรือพระพาย เทพแห่งลม […]
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เตรียมนำข้อเสนอทุกภาคส่วนนำมาวิเคราะห์ ป้องกันปัญหาช้างป่าตกน้ำตกเหวนรก
สวทช.ลงนามความร่วมมือกับ อ.ส.ค. เพื่อพัฒนากิจการ โคนมแบบครบวงจร หวังยกระดับกิจการโคนม เดินหน้าวิจัย “นมผงพันธุ์ไทย-นมอัดเม็ดพรีเมี่ยม-ผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อผู้สูงวัย”
“กำภู-รัชนีย์” พาไปดูงานวิจัยที่งาน Thailand Tech Show 2019 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5-6 ก.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรม 360 องศา เพื่อความยั่งยืน” ในรูปแบบของตลาดเทคโนโลยี
งานวิจัยนวัตกรรมฝีมือคนไทย ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา หรือ Thai Colostomy Bag คว้ารางวัลผลงานที่น่าลงทุนที่สุดในกิจกรรม NSTDA Investors’ Day 2019 ในงาน THAILAND TECH SHOW 2019 ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ลดนำเข้า เพิ่มมูลค่ายางพารา ผลงานโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กรุงเทพฯ 30 ส.ค.เผยวงหารือตัวแทนองค์กรโทรคมนาคม 98 ชาติเอเชียแปซิฟิก เห็นตรงกนรวมตัวป้องกันธุรกิจดาวเทียม
พล.อ.ต.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประชุมองค์กรโทรคมนาคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (เอพีที) ที่มีสามาชิก 38 ประเทศ มีประเด็นในการหารือ คือ การกำหนดคลื่นความถี่สำหรับกิจการเคลื่อนที่สากลที่จะนำมาใช้กับ 5G และ 6G ได้มีการเสนอคลื่นความถี่ 12 ย่านความถี่ โดยเป็นย่านความถี่ที่สูงกว่า 24 กิกะเฮิรตซ์ ทั้งหมด โดยที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกัน 3 ย่านความถี่ คือ 24.25-27.5 กิกะเฮิรตซ์ 37-43.5 กิกะเฮิรตซ์ แ 66-71 กิกะเฮิรตซ์
ที่ประชุมได้สะท้อนความเห็นถึงความสำคัญของคลื่นความถี่และสิทธิวงโคจรดาวเทียมที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนปกป้องและให้ได้มา จึงได้มีการเสนอความถี่ย่าน 17.7-19.7 กิกะเฮิรตซ์ (อวกาศสู่โลก) และย่าน 27.5-29.5 กิกะเฮิรตซ์ (โลกสู่อวกาศ) สำหรับสถานีภาคพื้นโลกที่เคลื่อนที่ ที่จะนำไปใช้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนเครื่องบิน เรือ รถไฟ หรือยานพาหนะเคลื่อนที่ในอนาคต โดยที่ประชุมเห็นว่าหากดาวเทียม สเปซเอ็กซ์ ของอีลอนมัส และดาวเทียมวันเว็บ ขึ้นสู่วงโคจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนโลกมากขึ้น
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคลื่นความถี่สำหรับระบบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในระดับสูง โดยประเทศไทยสนับสนุนการใช้คลื่นย่าน 47.2-47.7/47.9-48.2 กิกะเฮิรตซ์ทั่วโลก ย่าน 27.9-28.2 กิกะเฮิรตซ์ และ31-31.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่ประชุมยังได้มีข้อสรุปการใช้ย่านความถี่ให้เหมือนกับสากล สำหรับระบบขนส่งอัจฉริยะ และระบบขนส่งระบบราง ภายใต้ความถี่ 335.4-480 เมกกะเฮิรตซ์ 873-915 เมกกะเฮิรตซ์ และ918-960 เมกกะเฮิรตซ์