สหรัฐอนุมัติวัคซีนชิคุนกุนยาขนานแรกของโลก

วอชิงตัน 10 พ.ย.- สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยาขนานแรกของโลก เพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านสาธารณสุขโลกอุบัติใหม่ เอฟดีเอแถลงเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า อนุมัติให้ใช้วัคซีนอิกซ์ชิก (Ixchiq) ที่พัฒนาโดยวัลเนวา (Valneva) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของฝรั่งเศส สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและผู้เสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ โรคนี้ทำให้มีไข้และปวดตามข้อ สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกเสียชีวิต มักพบในพื้นที่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนในทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางพื้นที่ของทวีปอเมริกา แต่ขณะนี้ได้แพร่ไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใหม่ ๆ  โดยพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 5 ล้านคนในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เอฟดีเอระบุว่า การติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอาจทำให้ป่วยร้ายแรงและมีปัญหาสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะผู้สูงวัยและผู้มีโรคประจำตัว การอนุมัติให้ใช้วัคซีนขนานแรกของโลกตอบโจทย์ความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการป้องกันโรคที่ยังมีทางเลือกจำกัดในการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคชิคุนกุนยา วิธีเดียวที่จะป้องกันได้คือการไม่ให้ถูกยุงกัด อย่างไรก็ดี เอฟดีเอยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนเชื้อตายที่ฉีดเพียงเข็มเดียวนี้จะมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า นับตั้งแต่พบผู้ป่วยชิคุนกุนยารายแรกในแทนซาเนียเมื่อปี 2495 ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 110 ประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขแกรงว่า ชิคุนกุนยาจะกลายเป็นโรคระบาดในอนาคตเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ยุงเจริญเติบโตในภูมิภาคใหม่ ๆ.-สำนักข่าวไทย

ไข้เลือดออกระบาดในบังกลาเทศ ตายร่วมพัน

ธากา 28 ก.ย.- บังกลาเทศแจ้งว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วร่วม 1,000 คน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ นับเป็นการระบาดร้ายแรงที่สุดของประเทศเท่าที่เคยมีมา ปกติแล้วไข้เลือดออกเป็นโรคตามฤดูกาลในบังกลาเทศ แต่ฤดูมรสุมที่มีฝนตกหนักขึ้นและอากาศอุ่นขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เอื้อต่อการวางไข่แพร่พันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก ทำให้โรคเกิดบ่อยครั้งขึ้น นับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกในปี 2563 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเผยว่า การระบาดระลอกปัจจุบันรุนแรงเกินกว่าที่เจ้าหน้าที่จะรับมือไหว เพราะเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรงขึ้น โดยตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกในขณะนี้มีอาการทรุดลงเร็วกว่าผู้ป่วยเมื่อไม่กี่ปีก่อน และในช่วง 2 เดือนมานี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงวันละ 20 คน องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีรายงานพบไข้เลือดออกระบาดในทั้ง 64 เขตของบังกลาเทศ จำนวนผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล จนขาดแคลนน้ำเกลือที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยที่มักเกิดภาวะขาดน้ำ ทางการบังกลาเทศรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องการกำจัดแหล่งน้ำขังที่ยุงใช้วางไข่ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ผู้เกี่ยวข้องอาจคิดว่าไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดขึ้นชั่วคราว จึงไม่มีการวางมาตรการระยะยาวหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย

เตือนไวรัสซิกาจากยุงลาย ส่งผลทารกศีรษะเล็กแต่กำเนิด

กรมควบคุมโรค ย้ำรีบกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและป้องกันยุงลายกัด ลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก และป้องกันทารกในครรภ์ศีรษะเล็กแต่กำเนิด จากไวรัสซิกาที่มากับยุงลาย

แนะแม่ตั้งครรภ์ ระวังยุงลายกัดแพร่เชื้อไวรัสซิกา

รองโฆษกรัฐบาล เผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในไทย สัปดาห์ที่ 31/66 พบผู้ป่วยครบทุกภาค กรมควบคุมโรคแนะแม่ตั้งครรภ์ ระวังยุงลายกัดแพร่เชื้อไวรัสซิกา ทารกเสี่ยงพัฒนาการช้า

ไข้เลือดออกพุ่งกว่า 2 พันราย พบพื้นที่ป่วยใหม่ 406 หมู่บ้าน

โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ พบผู้ป่วยสะสมพุ่งกว่า 2 พันราย พื้นที่พบผู้ป่วยใหม่ 406 หมู่บ้าน สสจ.เชียงใหม่ ปรับแผนทำงานเชิงรุกป้องกัน ควบคุมโรค

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข้เลือดออก – สังเกตอาการ และ การรักษา

24 กรกฎาคม 2566 – ไข้เลือดออก โรคร้ายที่หลายคนละเลย เราจะรับมือและป้องกันได้อย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากรุนแรงและรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 36,000 ราย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 5,000 ราย หากเทียบกับปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ราย และพบผู้เสียชีวิตในประเทศ 32 ราย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกช้าหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการโรค โรคไข้เลือดออกอาจมีอาการแสดงเพียงไข้อย่างเดียว ซึ่งในบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว […]

กรมควบคุมโรคเตือนระวังป่วยไข้เลือดออก ช่วงฝนตกน้ำท่วมขัง

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังป่วยโรคไข้เลือดออก ในช่วงฝนตกน้ำท่วมขัง เผยขณะนี้มีแนวโน้มพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

เตือนเฝ้าระวังไข้เลือดออก ป่วยพุ่งหลายพื้นที่

เตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก หลังหลายพื้นที่พบจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แนะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สังเกตอาการใกล้ชิดกรณีมีไข้สูงปวดศีรษะ-กล้ามเนื้อ และมีจุดเลือดออกตามลำตัวต้องรีบพบแพทย์

เตือนระวังป่วยไข้เลือดออก คาดปีนี้ระบาดหนัก

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังป่วยโรคไข้เลือดออก พร้อมเผยเดือน ม.ค. พบผู้เสียชีวิต 2 ราย เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้คิดว่าเป็นไข้เลือดออก จึงไปคลินิกหรือซื้อยามากินเอง ซึ่งหากเป็นยากลุ่มเอ็นเสด จะมีผลทำให้เลือดออกในช่องทางเดินอาหาร และเสี่ยงเสียชีวิต ย้ำหากมีไข้สูงลอยติดต่อกัน 2 วัน กินยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์

แนะแนวทางปฏิบัติป้องกัน “ยุงลาย” ใน รพ.สนามทั่วไทย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะแนวปฏิบัติป้องกันยุงลายในโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ ไม่ให้ยุงลายกัดบุคลากรและผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่นอนพักรักษาตัว ระบุหากมีการป่วยซ้ำซ้อน อาจทำให้อาการผู้ป่วยโควิด-19 รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยเน้นให้ทุกแห่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ให้ผู้ป่วยทายากันยุงทุก 6 ชม. หรือนอนในมุ้งและเฝ้าระวังผู้ป่วย รายที่สงสัยให้ตรวจเลือดด้วยชุดทดสอบไข้เลือดออกทันที

ลำปางพบผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิตรายแรกรอบ 10 ปี

น่าห่วง! ฤดูฝนไข้เลือดออกแนวโน้มระบาดเพิ่ม สสจ.ลำปาง พบปีนี้ป่วยกว่า 200 ราย เสียชีวิตรายแรกในรอบ 10 ปี เป็นหญิง วัย 17 ปี พื้นที่ระบาดมากสุดอำเภอห้างฉัตร

ห่วงฤดูฝนยุงชุม อีสานใต้ส่อไข้เลือดออกระบาดเพิ่ม

สคร.ที่ 10 เผยปีนี้พบป่วยไข้เลือดออก 5 จังหวัดอีสานใต้แล้วเกือบพันคน มากสุดอุบลฯ ห่วงหน้าฝนน้ำขัง-ยุงชุม ย้ำทุกชุมชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์

1 2 3
...