เนคเทค ใช้ IoT ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำยั่งยืน
เนคเทค ยกระดับผู้ประกอบการสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยี Aqua-IoT ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
เนคเทค ยกระดับผู้ประกอบการสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยี Aqua-IoT ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
ชุมพร 8 ส.ค. 63 – สวทช. สนับสนุนโปรแกรม ITAP นำนวัตกรรมช่วยส่งเสริมความสามารถของเกษตร จ.ชุมพร ยกระดับคุณภาพทุเรียนเกรดพรีเมี่ยม และผลไม้หลากชนิด ให้มีคุณภาพสูงได้มาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย ส่งขายห้างชั้นนำทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือไอแทปให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญแก่ผู้ประกอบการเกษตร “สวนทวีทรัพย์” จ.ชุมพร ในการพัฒนาสินค้าเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ยกระดับคุณภาพผลไม้หลากชนิด เช่น ทุเรียน ส้มโชกุน และมังคุด โดยเฉพาะทุเรียนของสวนทวีทรัพย์ได้รับการรับรองมาตรฐาน ThaiGAP ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน ยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยใช้นวัตกรรมการปลูกที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้างในผลไม้ห่อนถึงมือผู้บริโภค ทำให้ขยายช่องทางการตลาดในสินค้าระดับพรีเมียม มียอดรับซื้อจากห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ได้ราคาสูง การันตีคุณภาพทุกลูก ทำให้คนไทยได้ทานผลไม้เกรดพรีเมี่ยมในราคามิตรภาพ นอกจากนี้ ยังใช้เทคโนโลยี สนับสนุนช่องทางเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จัดจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์มากขึ้น ส่งตรงผลไม้จากสวนถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ไอแทป ยังแนะนำการใช้นวัตกรรมแปรรูป นวัตกรรม Freeze Dried (ฟรีซดราย) […]
กรมศิลปากร 8 ส.ค. 63 – สทน. จับมือกรมศิลปากร ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์สนับสนุนงานด้านโบราณคดีของชาติต่อเนื่องอีก 5 ปี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่วมกับกรมศิลปากร ลงนามความร่วมมือ ต่ออายุความร่วมมือทางวิชาการอีก 5 ปี เพื่อร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ มาใช้สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า ฟื้นฟูอนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของชาติ ณ กรมศิลปากร (เทเวศร์) รศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจสอบหาอายุของโบราณวัตถุ เพราะเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่ไม่ทำลายตัวอย่าง หรือใช้ตัวอย่างในปริมาณที่น้อยมาก สทน. มีห้องปฏิบัติการไอโซโทปรังสี และใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ สำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์หาอายุโบราณวัตถุมากว่า 10 ปี โดยใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ 2 แบบ คือ การวิเคราะห์โดยอาศัยคาร์บอน -14 (C-14dating) และการวิเคราะห์อายุโดยการเรืองแสงความร้อน (TL/OSL dating) ซึ่งจากการขยายความร่วมมือของ 2 หน่วยงานในอีก […]
ตลาดสดในนครซีอาน มณฑลส่านซี ของจีน มีคิวอาร์โค้ดบนฉลากและใบเสร็จรับเงินของผักและเนื้อสัตว์ เพื่อติดตามแหล่งที่มาของผักและเนื้อสัตว์ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค เปรียบได้กับ “บัตรประชาชน” ของสินค้าอาหาร
กรุงเทพฯ 7 ส.ค. ดีอีเอส ถก มหาดไทย กรุงไทย ดันแพลตฟอร์มกลางยืนยันตัวตนแค่ถ่ายเซลฟี่ คาดออกให้บริการสิ้นปีนี้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในการเปิดหลักสูตร ผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (GCIO) หลักสูตรสำหรับผู้บริหารเพื่อเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลว่า เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วตนได้ไปหารือกับกระทรวงมหาดไทย และธนาคารกรุงไทยเพื่อพัฒนา แพลตฟอร์มยืนยันตัวตนเพื่อระบบกลางในการยืนยันตัวตนบุคคลโดยประชาชนที่ต้องการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมสามารถเซลฟี่ใบหน้าตัวเองส่งเข้ามาในแพลตฟอร์ม จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยืนยันตัวตนกับสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อยืนยันตัวตนแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่แพลตฟอร์มเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องการนำไปทำธุรกรรมดำเนินการต่อ วิธีนี้จะทำให้การยืนยันตัวตนทำได้สะดวกขึ้น โดนกระทรวงมหาด ไทยไม่ต้องให้หน่วยงานอื่นเข้ามาในระบบ ขณะเดียวกันจะมีข้อมูลใบหน้าของประชาชนที่อัพเดทมากขึ้น ส่วนธนาคารหรือหน่วยงานที่จะทำธุรกรรมกับประชาชนจะได้ความคล่องตัวในการทำธุรกรรมที่รวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้สัปดาห์หน้าตนจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนกระบวนการทำงานของแพลตฟอร์มอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนที่จะลงมือพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อนำมาทดสอบก่อนใช้งานจริงภายในปีนี้ นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เรื่องที่สำคัญอีกประการคือบิ๊กดาต้าภาครัฐที่ต้องมีความพร้อมและมีความเชื่อมโยงให้ทุกหน่วยงานใช้บิ๊กดาต้าให้เป็นประโยชน์ในการให้บริการประชาชน การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2564 สำนักงบประมาณได้ตัดงบประมาณในการเช่าคลาวด์ของหน่วยราชการไปทั้งหมด เพื่อให้ทุกหน่วยงานมาใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ ตัดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันและความกระจัดกระจายของข้อมูล และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้หน่วยราชการเชื่อมโยงข้อมูลอยู่ในพื้นที่เดียวกัน -สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 7 ส.ค. รมว.ดีอีเอส ย้ำซีไอโอต้องรู้ครบรอบด้านปรับตัวเร็ว พร้อมจัดหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(GCIO) Transform องค์กรของรัฐสู่ Digital นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (GCIO) หลักสูตรเข้มข้นสำหรับผู้บริหารเพื่อ Transform องค์กรสู่ Digital เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาบริการของภาครัฐ ว่า บทบาทของซีไอโอ หรือผู้บริหารด้านสารสนเทศเปลี่ยนไป ซีไอโอไม่ใช่ต้องรู้เฉพาะเรื่องของหลวงงานตัวเอง แต่ต้องรู้ทั้งระบบคือทั้งหน่วยงานตัวเองและระบบทั้งหมดของกระทรวง นอกจากนี้ต้องตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่สังคมเผชิญอยู่โดยเฉพาะปัญหาข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ที่เป็นปัญหาของประเทศถ้าไม่จัดการ กระทรวงดิจิทัลฯ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อตั้งศูนย์แก้ปัญหาและสร้างทีมงานขึ้นมาดูแล เมื่อปัญหาเฟคนิวส์เป็นปัญหาระดับประเทศซีไอโอต้องรอบรู้และเข้าใจปัญหาเพื่อช่วยกันแก้ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเปลี่ยนทุกวัน การเอาดิจิทัลมาใช้และมีซีไอโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ก่าวอีกว่า ซีไอโอเข้าใจกระบวนการทั้งหมด การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลไม่ใช่แค่เปลี่ยนอุปกรณ์ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนกระบวนความคิด เข้าใจระบบ พร้อมเปลี่ยนแปลงและเข้าใจปัญหา และต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจและอยากเปลี่ยนแปลง เมื่อทุกคนในองค์กรพร้อมแล้วจึงค่อยทำการเปลี่ยนแปลง มีสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของคนไทยในปีนี้พบว่า ปัจจุบันคนไทยใช้สมาร์ทโฟนร้อยละ 187 ใช้โทรศัพท์มือถือทำงานร้อยละ 108 ดังนั้นแสดงว่าประชาชนที่คอยจะใช้บริการดิจิทัลมีความพร้อมเต็มที่ ดังนั้นหน่วยงานก็ต้องพร้อมจะให้บริการประชาชนในช่องทางที่ประชาชนพร้อมใช้งานด้วย นอกจากคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือมาก คนไทยยังใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุดในโลก สถตินี้ยอกเราว่าประชาชนพร้อมใช้บริการทางดิจิทัล ถ้าหน่วยงานรัฐไม่พร้อมและยังมีข้อจำกัดจะให้บริการประชาชนไม่ได้ นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า หลักสูตรสำหรับซีไอโอ มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลให้กับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงและผู้ช่วยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่วางเป้าหมายให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้แก้ไขปัญหาของประชาชนพร้อมกับส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มุ่งไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์พร้อมกัน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลข้อมูลขนาดใหญ่ และนวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของรัฐให้ทันสมัยรวดเร็ว ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นบทบาทการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่รัฐบาลดิจิทัลจึงเป็นภารกิจความรับผิดชอบหลักของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ หรือ Government Chief Information Officer (GCIO) อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภาครัฐทุกคนที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย Platform เพราะการให้บริการภาครัฐต่อจากนี้จะเปลี่ยนไป ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ ประชาชนจะได้รับบริการจากภาครัฐที่สะดวก ใช้บัตรประชาชนใบเดียวดำเนินการแบบ One-Stop Service พร้อมนำข้อมูลเปิดของหน่วยงานภาครัฐไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงอยากฝากให้นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนเพื่อประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลและขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน มุ่งมั่นที่จะพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน-สำนักข่าวไทย.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชี้แจงเสียงดังสนั่น ช่วงเย็นวันนี้ (6ส.ค63) คาดเกิดจากดาวตกขนาดใหญ่พุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วสูง เคยเกิดมาแล้วหลายครั้งในไทยและทั่วโลก ไม่พบรายงานความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เป็นเหตุการณ์ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
กรุงเทพฯ 6 ส.ค. จุฬาฯโชว์ ผลการทดสอบนำ 5G มาใช้งานจริง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และพล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช. เป็นประธานเปิดงาน 5G for REAL แสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ เทคโนโลยี 5G โดยร่วมกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดยศูนย์ทดลอง/ทดสอบ 5G ที่ตั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้นักวิจัย ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมร่วมทำแพลตฟอร์มเปิด สำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5 G จุฬาฯ ได้ขออนุญาตกสทช.ใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 ถึง 10 ธันวาคม 2567 เป็นเวลา 5 ปี ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดสอบการรบกวนกันหรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G โดยโครงการทดสอบแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ด้าน healthcare 2 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตาทางไกลผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด และโครงการพัฒนาการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล ด้าน smart living และ connected society มี 8 โครงการ คือ โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย5G โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอด ภัยและประสิทธิภาพการใช้งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอดโครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้า บนเทคโนโลยี 5G โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa และ 5G โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ และโครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing โครงการประเภทอื่นจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการ PolluSmartCell การวิจัยที่อาศัยปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสารเพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศและโครงการอบรมให้ความรู้ความชำนาญในการทดลอง/ทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ -สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 6 ส.ค. เอไอเอส เผยผลกระทบโควิด ทำไตรมาส 2 รายได้ลด แต่กำไรยังโต ย้ำทุ่มงบ 3.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน 5G ต่อ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่าผลประกอบการ ไตรมาส 2 กำไรสุทธิ อยู่ที่ 7,235 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เติบโตขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการควบคุมต้นทุนได้ดี โดยมีรายได้รวม ลดลงร้อยลั 4.1 อยู่ที่ 42,256 ล้านบาท จากสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ซึ่งกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภคในด้านการใช้มือถือ ในขณะที่ ธุรกิจเน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ มีความต้องการจากการล๊อกดาวน์ที่ต้องทำงานจากบ้าน ทำให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 112,200 ราย “ภาพรวมของผลประกอบการไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจโทรคมนาคมได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวและการปิดบริการชั่วคราว AIS Shop, Serenade Club และ AIS Telewiz ในพื้นที่ตามประกาศของภาครัฐ รวมถึง การสนับสนุนมาตรการของกสทช.เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ใช้บริการ ทั้งการมอบดาต้าและค่าโทรฟรีในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลต่อรายได้ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในส่วนธุรกิจเน็ตบ้านได้รับผลเชิงบวกจากการที่ลูกค้าต้องทำงานหรือเรียนหนังสือจากบ้าน ทำให้มีความต้องการติดเน็ตบ้านสูงขึ้น การทำงานที่บ้านและเรียนที่บ้านส่งผลให้การใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15 เทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่เฉลี่ย 17 กิกะไบต์ต่อเดือน และสัดส่วนลูกค้าที่ใช้ 4G ยังเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 75 ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอสไฟเบอร์ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีลูกค้าใหม่เพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการ จากความต้องการติดเน็ตบ้านในช่วงโควิด ส่งผลให้มีลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย และมีรายได้จากธุรกิจเน็ตบ้าน 1,683 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนธุรกิจลูกค้าองค์กรก็ยังคงเติบโตจากความต้องการใช้บริการโซลูชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Data Center, Cloud และICT solution เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายสมชัย กล่าว นายสมชัย กล่าวอีกว่า ผลกระทบจากสถานการณ์บริษัทมุ่งเน้นที่จะบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อคงความแข็งแรงของกระแสเงินสดให้สามารถลงทุนในธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุน 5G เพื่อการเติบโตในระยะยาว เอไอเอสได้ขยายเครือข่าย 5G ครบ 77 จังหวัด และครอบคลุมเต็มพื้นที่ 100% นิคมอุตสาหกรรมใน EEC แล้ว ปักหมุดให้ประเทศ ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเครือข่าย 5G ให้บริการเต็มพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับ ไทยสู่ผู้นำเครือข่าย 5G ในระดับภูมิภาค พร้อมดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยเอไอเอสได้ประกาศวิสัยทัศน์“AIS 5G – Forging Thailand’s Recovery” นำ 5G ร่วมฟื้นฟูประเทศไทยในทุกมิติ ภายใต้การผนึกกำลังกับผู้นำอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม -สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 6 ส.ค. ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้ามุ่งดิจิทัลเพิ่ม เปิดโซลูชั่นพัฒนาองค์กร รับ 137 ปี ส่งต่อส่งด้วยใจตอบโจทย์คนไทยและภาคธุรกิจ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยหน่วยงานการสื่อสารและการขนส่งของชาติอยู่คู่สังคมไทยมาถึง 137 ปีอยู่เคียงข้างคนไทยในทุกสถานการณ์เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการช่วยเดินหน้าเศรษฐกิจดิจิทัลมุ่งมั่นพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องสนองนโยบายภาครัฐตามภารกิจของไปรษณีย์ไทยภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสำหรับทิศทางและนโยบายการดำเนินงานในอนาคตของไปรษณีย์ไทยจะพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เคยเป็นฐานรายได้หลักคือกลุ่มธุรกิจไปรษณียภัณฑ์ดั้งเดิมประเภทจดหมายไปสู่รูปแบบดิจิทัลโดยจะพัฒนาระบบการจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรให้กับภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาชนมีความปลอดภัยเป็นมาตรฐานเดียวกันได้รับการยอมรับในเชิงกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตถือเป็นการปรับโฉมบริการดั้งเดิมให้เป็นบริการรูปแบบใหม่ที่จะรักษาฐานรายได้เดิมเอาไว้สร้างฐานรายได้ใหม่ไปพร้อมกันจากปัจจัยการขยายตัวธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลุ่มธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์นับว่าเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ไปรษณีย์ไทยยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งรูปแบบบริการและคุณภาพบริการทั้งการส่งในประเทศและระหว่างประเทศโดยนำเทคโนโลยีปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการการปรับปรุงรถยนต์ขนส่งให้เป็นรถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสิ่งของฝากส่งไม่ให้เสียหายระหว่างทางรองรับการจัดส่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบันซึ่งเป็นการสนองนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำพร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรผ่านไปรษณีย์และเว็บไซต์ thailandpostmart “ปีนี้เราจะมุ่งไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น จะมีโครงการของไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่นที่จะมาช่วยงานของบริษัทแม่ ไม่ว่าจะเป็นการส่งยาและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือบริการประชาชนมห้มากขึ้น เราคงมีการจ้างที่ปรึกษามาช่วยกันคิดว่าเราจะทำอะไรกับไอบ็อกซ์ที่จะไปอยู่ในชุมชน และการขับเคลื่อนบริษัทลูกไปร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยใช้ตุกเด่นที่เครือข่ายและกำลังคนไปให้บริการสร้างประโยชน์ให้สังคม” นายก่อกิจกล่าว กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท กล่าวอีกว่า ไปรษณีย์ไทยจะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มศักยภาพการให้บริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้นพัฒนา (Box ที่จะทำให้การรับฝากและนำจ่ายสิ่งของในปัจจุบันไปสู่ระบบการให้บริการอัตโนมัติร่วมกับธนาคารพาณิชย์ในการเป็นตัวแทนธนาคารให้บริการรับฝาก-ถอนเงินและในอนาคตจะมีการร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้บริการยืนยันตัวตน (KYC) แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีเงินฝาก ณ เคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทั่วประเทศรวมทั้งใช้ความเชี่ยวชาญของ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นจำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ลูกของไปรษณีย์ไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการส่งสิ่งของขนาดใหญ่ (G2G / B2B) การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าการนำจ่ายถึงบ้านและการส่งคืนสินค้าให้ผู้ฝาก” ไปรษณีย์ไทยมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของคนไปรษณีย์ไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการบูรณาการทำงานสร้างบริการที่สามารถรองรับความต้องการผู้ใช้บริการทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและพร้อมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้บริการสื่อสารและขนส่งโลจิสติกส์ที่คนไทยจะไว้วางใจได้เสมอ ด้านนายรัฐพล ภักดีภูมิ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่าคณะกรรมการไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญและได้มอบแนวนโยบายให้ไปรษณีย์ไทยรักษาฐานธุรกิจเดิมพร้อมรุกกลุ่มตลาดใหม่ (New S-Curve) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้เป็นดิจิทัลเหมาะสมกับวิถีชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการรายย่อยผู้ประกอบการ e-Commerce ให้ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วรวมทั้งผู้ประกอบการสินค้าชุมชนและเกษตรกรให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางไปรษณีย์ไทยมากขึ้นพร้อมกับการเร่งยกระดับระบบปฏิบัติการไปรษณีย์ด้วยการนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในทุกกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐานบริการได้อย่างรวดเร็วมีคุณภาพบริการที่ดียึดหลักธรรมาภิบาลขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปด้วยความมั่นคงและยังละยั่งยืน ในวาระครบรอบ 137 ปีไปรษณีย์ไทยเปิดตัวโครงการ “ ไปรษณีย์ reBOX “ร่วมกับ บริษัท เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำกัด(มหาชน) รวบรวมซองกระดาษและกล่องพัสดุที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นชุดโต๊ะเก้าอี้เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาส่งมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ให้น้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีอุปกรณ์การเรียนที่เพียบพร้อมและเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วยการลดปริมาณขยะให้น้อยลงปูทางไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบโดยผู้ที่สนใจสามารถรวบรวมซองกระดาษและกล่องพัสดุฯ มาส่งได้ที่ไปรษณีย์ไทยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรษณีย์จังหวัดและศูนย์ไปรษณีย์รวมทั้งสิ้น 141 แห่งตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม-31 ตุลาคมนี้-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 5 ส.ค. ดีป้าสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับผู้ประกอบเอสเอ็มอี ร้านค้า เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนบริหารจัดการองค์กร-เพิ่มยอดขาย-ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้าส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย เกษตรกร รวมถึงวิสาหกิจชุมชนสามารถยกระดับการบริหารจัดการกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยให้คูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) โดยร่วมมือกับ เครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการดิจิทัล (ดิจิทัลโพรไวเดอร์) ในโครงการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดความมั่นใจในการได้รับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับบริบทของตนเองโดยมาตรการดังกล่าวได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลแล้วกว่า3,000 ราย ทั้งนี้ล่าสุดที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน มีมติเห็นชอบโครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพิ่มจำนวน 2 โครงการจาก 2 หน่วยงานร่วมดำเนินงาน เพื่อตอบสนองภารกิจที่กล่าวมาเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 240 คูปอง โดย หอการค้าจังหวัดจันทบุรี โดยดำเนินการต่อเนื่องในจังหวัดฉะเชิงทรา หลังได้รับการอนุมัติดำเนินงานในโครงการดังกล่าวแล้วในพื้นที่จังหวัดระยองจันทบุรี และตราด ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคการค้าและการบริการรวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ นายณัฐพล กล่าวอีกว่า โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จำนวน 400 ราย โดย สมาคมโรงสีข้าวสุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการเกษตร และเกษตรกรทั่วประเทศเกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างมีแบบแผน ทั้งนี้ดีป้าพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้ให้บริการดิจิทัลในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการลูกค้า (CRM) ระบบบริหารจัดการร้าน (ERP) ระบบบัญชี การเงิน (ACC) ระบบบริหารจัดการบุคคล(HRM) ระบบขายหน้าร้าน (POS) ระบบจัดการการขายออนไลน์ (E-commerce) ระบบขนส่ง (Logistic) ระบบบริหารจัดการฟาร์ม (Smart Farming) และระบบบริหารจัดการการจอง (Booking Engine) รวมถึงแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว (Digital Tourism Platform) สำหรับวิสาหกิจชุมชน ซึ่ง ดีป้า มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพิ่มยอดขาย สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ และสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซให้กับผู้ใช้บริการในยุคประเทศไทย 4.0-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 5 ส.ค. แฟลช เอ็กซ์เพรสครบรอบ 2 ปี ดันยอดส่งพัสดุทะลุล้านชิ้น เตรียมลงทุน 4.5 พันล้านบาทขยายธุรกิจไปสามประเทศอาเซียน นายคมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ แฟลช (FLASH GROUP) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร กล่าวว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยมีการซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ทำให้ธุรกิจขนส่งทำให้ยอดส่งพัสดุของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าในตลาดสูงขึ้นตามไปด้วย แม้จะเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 แฟลช เอ็กซ์เพรส มียอดส่งพัสดุในครึ่งปีแรกที่ 100 ล้านชิ้น โดยมียอดส่งพัสดุเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ล้านชิ้นหรือเติบโตขึ้นกว่า 3,000 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า1,000 ล้านบาท ดังนั้นในครึ่งปีหลัง แฟลช เอ็กซ์เพรส เตรียมงบประมาณในการลงทุนเพิ่มเป็นจำนวน 4,500 ล้านบาท โดยเน้นความสำคัญไปที่ 2 ส่วน คือ ลงทุนเพิ่มเพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้สอดรับกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และเตรียมขยายบริการไปยัง 3 ประเทศกลุ่ม AEC ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ทั้งยังเตรียมเดินหน้าขยายศูนย์บริการในประเทศเพิ่มอีก 5,000 แห่ง เมื่อรวมกับของเดิมที่มีอยู่จะเป็น 10,000 แห่งทั่วประเทศ และจะเพิ่มรถขนส่งพัสดุอีกราวร้อยละ 30 จากเดิมที่มีรถขนส่งพัสดุที่วิ่งอยู่ทั่วประเทศกว่า 15,000 คัน “เป้าหมายใหญ่ของเราในครึ่งปีหลัง เราตั้งใจจะเป็นผู้ให้บริการขนส่งที่เข้ามาสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เพื่อให้พวกเขาสามารถลดต้นทุน และทำกำไรได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนา Platform และระบบการใช้งานในฟังก์ชั่นต่างๆ ที่สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าคนไทยได้อย่างครอบคลุมในระยะยาวต่อไป” นายคมสันต์ กล่าว นายคมสันต์ กล่าวเสริมอีกว่า ภาพรวมตลาดขนส่งในครึ่งปีหลังการแข่งขันเรื่องราคาและคุณภาพการให้บริการน่าจะเป็น 2 ปัจจัยที่ต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าก็น่าจะเป็นสิ่งที่เข้มข้นมากเช่นกัน แฟลช เอ็กซ์เพรส จึงเตรียมตอบรับความท้าทายของตลาดนี้ด้วยการมุ่งลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงการลงทุนในด้านบุคลากร เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งวางแผนทำในส่วน Same day และ Next day ให้ครอบคลุมครบทั่วประเทศต่อไป -สำนักข่าวไทย.