ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : ZIPNO SECHEM ? — ธุรกิจความโลภ ภัยร้ายของคนอยากรวย !

27 มกราคม 2567 สิ่งนี้… เป็นภัยการหลอกลวงระดมเงินจากประชาชนที่ทำกันเป็นเครือข่าย และสิ่งนี้… เคยเป็นคดีมาแล้วกว่า 138 คดี สร้างความเสียหายกว่า 52,000 ล้านบาทในประเทศไทย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คำนี้คือคำว่า  PONZI SCHEME หมายถึง แชร์ลูกโซ่ หลอกล่อเพื่อให้ผู้ลงทุนติดกับดัก โดยใช้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินทุน ไปหลอกชักชวนกันมาลงทุนมากขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 28 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณเตือนโรคแพนิก จริงหรือ ?

28 มกราคม 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือน 10 สัญญาณอาการโรคแพนิกที่คุณอาจไม่รู้ เช่น เสียขวัญกะทันหัน ใจสั่น หายใจถี่ คลื่นไส้หรือปวดท้องนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แชร์ว่า 10 สัญญาณอาการโรคแพนิก มีดังนี้   สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ “ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด” ข้อดี : ช่วยให้เจริญอาหาร กระเพาะอาหารขยายตัว ลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร อายุยืนขึ้น เร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกัน/บรรเทาอาการเจ็บป่วย ข้อเสีย : ทำให้ปวดแสบร้อนในช่องปากและทางเดินอาหารและถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย เกิดการท้องเสีย อาจจะเกิดโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีบางส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงที่จริง แต่ว่าการกินเผ็ดก็อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน การกินเผ็ด : “ข้อดี” ? ที่แชร์กัน 1. กินเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร จริง… แต่ไม่ได้เป็นสำหรับทุกคน เพราะคนที่ไม่ได้ชื่นชอบการกินอาหารเผ็ด กินแล้วไม่สบายช่องปาก ก็อาจทำให้การกินลดลงได้ 2. สารแคปไซซิน (capsaicin) ช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวและรับอาหารได้นานขึ้น จริง… สารแคปไซซินจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้นานขึ้น ผลิตน้ำย่อยที่มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องกินเพื่อให้กระเพาะอาหารขยายตัว 3. กินเผ็ดลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร เพราะร่างกายจะชินและทนได้มากขึ้น จริงบางส่วน… […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รสเผ็ด ในตำราแพทย์ (แผนไทย-แผนปัจจุบัน)

“รสเผ็ด” กินอย่างไร “เป็นยา” และ “มีประโยชน์หรือโทษ” ต้องกินอะไร “แก้เผ็ด” ได้ผล 🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ 1. ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี 2. อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  “แพทย์แผนไทย” กับรสเผ็ด ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว กล่าวถึง “ความเผ็ดร้อน” ที่แพทย์แผนไทยเรียกว่า “รสยา” คำว่า “รส” แสดงถึงคุณสมบัติของตัวสมุนไพรที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง คนโบราณเรียนรู้สรรพคุณของยาผ่านการ “ชิม” “รสเผ็ดร้อน” จะไปช่วยการไหลเวียนของเลือด และทำให้ลม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ธาตุของร่างกายกระจายออกไปจากจุดกำเนิดได้ดีมากยิ่งขึ้น ลดอาการปวดและอาการชาลงได้ ความเผ็ดร้อนในทางการแพทย์แผนไทยบอกว่าไปเพิ่มไฟย่อย เพิ่มน้ำย่อย ทำให้รู้สึกอยากอาหารแล้วกินอาหารได้ดีขึ้น “อาหารรสเผ็ด” ปริมาณเท่าไหร่ที่มีความเหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความสามารถทนรับความเผ็ดแตกต่างกัน ถ้ากินแล้วยังรู้สึกว่าปกติดี ไม่ได้แสบร้อนมากเกินไป ไม่มีท้องเสีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคเรื้อน จริงหรือ?

แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อในร่างกายเกิดโรคเรื้อน แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคเรื้อนมากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร วิธีการใช้งานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์  ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ธรรมชาติของดวงตาคนเราจำเป็นต้องมี “น้ำ” หล่อเลี้ยงดวงตา ฉาบบริเวณผิวตาดำและตาขาวอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยในการหักเหของแสงให้ดวงตาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น ภาวะที่น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยจะทำให้คนคนนั้นรู้สึกเคืองตา ตาแดง ตาแห้ง แก้ปัญหา “ตาแห้ง” ด้วยน้ำตาเทียม ปัจจุบันมีการใช้น้ำตาเทียมเพื่อแก้ปัญหาตาแห้ง โดยทั่วไป “น้ำตาเทียม” ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายกับดวงตา จึงมีการนำน้ำตาเทียมมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเคืองตา ฝืดตา ตาแห้งมาก แนะนำว่าครั้งแรกควรจะไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจว่าภาวะนั้นไม่ได้เกิดจากโรคตาอื่น ๆ แต่เป็นจากภาวะตาแห้งอย่างเดียว เพราะถ้าเกิดจากโรคต่าง ๆ จะได้รักษาที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม ภาวะ “ตาแห้ง” เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ผลจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนานมากขึ้น รวมทั้งมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ก็จะยิ่งทำให้น้ำที่หล่อเลี้ยงลูกตาระเหยผิดปกติ อีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการมีโรคประจำตัวหรือกินยาบางชนิด แต่มีผลข้างเคียงทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยลง ประเภทของน้ำตาเทียม “น้ำตาเทียม” แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นอย่างไร และวิธีการแก้ไข ทำอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “ตาโหล” และ “เบ้าตาลึก” เป็นลักษณะกายภาพของแต่ละคน บางคนที่มีโหนกของบริเวณคิ้วสูง หรือบริเวณกระดูกเบ้าตาข้างล่างนูนเด่นชัดขึ้นมา จะทำให้รู้สึกเหมือนตาลึกเข้าไป คนที่ “ตาโหล เบ้าตาลึก” มีขนาดลูกตาปกติถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ แต่บางคนอาจรู้สึกว่าทำให้ดวงตาดูไม่สวยงาม ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ? โดยทั่วไปภาวะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ถ้าไม่ได้เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของโครโมโซมที่มีส่วนอื่นของร่างกายผิดปกติไปด้วย มักจะเป็นกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากยีนคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ กัน และมีโครงสร้างใบหน้าที่มีตาโหลหรือเบ้าตาลึกได้ คนที่มี “ตาโหล เบ้าตาลึก” มาตั้งแต่เกิด พบว่าช่วง 5-6 ขวบแรก จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก มีทั้งตาโหลหรือเบ้าตาลึกดีขึ้นและแย่ลง เมื่อเด็กโตขึ้นอายุเกิน 5-6 ขวบไปแล้ว โครงสร้างของกระดูกบริเวณใบหน้าค่อนข้างอยู่ตัว อาจทำให้ลักษณะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ติดตัวจนโตเป็นผู้ใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้อาการปวดหลัง จริงหรือ ?

24 มกราคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์วิธีแก้อาการปวดหลังเอาไว้มากมาย ทั้งดื่มน้ำมะพร้าวผสมพริกไทยช่วยให้หายปวดหลัง และยังมีท่าบริหารที่แก้ปวดหลังได้ถาวร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.นพ.ธงชัย ก่อสันติรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.สุวรรณี อาจหาญณรงค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษา สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

25 มกราคม 2566 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ “โรคมะเร็งจอประสาทตา” ในเด็ก เกิดจากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหนและจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: DNA ตกค้างจากวัคซีน mRNA แทรกแซงพันธุกรรมมนุษย์ จริงหรือ?

ดีเอ็นเอตกค้างจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ไม่สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์เพื่อแทรกแซงรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ได้ ดีเอ็นเอตกค้างยังมีในวัคซีนหลายชนิดและไม่มีในปริมาณที่เป็นอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์: มีคนตายจากวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกกว่า 10 ล้านราย จริงหรือ?

1 ปีหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นิวซีแลนด์มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยกเลิกการล็อกดาวน์ พร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัสโอไมครอน

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : อาการบอกเกียร์ออโต้เสีย จริงหรือ ?

23 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์อาการที่บ่งบอกว่า เกียร์ออโต้เสีย เช่น เกียร์กระตุก และ ใส่เกียร์ D รถไม่เคลื่อนตัวนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

1 51 52 53 54 55 277
...