ชัวร์ก่อนแชร์ : เจ็บอกโรคหัวใจ ให้กินปลาทะเล น้ำมันมะกอก ชาเขียว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลเรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ ระบุว่า “เจ็บอกโรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ ให้กินปลาทะเล น้ำมันมะกอก ผลอะโวคาโด และชาเขียวสด (ชงดื่มวันละถ้วย) จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หลอดเลือดหัวใจตีบมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีความอ่อนแอลง มีความเสื่อม ซึ่งก็คือไม่แข็งแรง หลอดเลือดตรงส่วนนั้นอาจจะมีการอุดตัน การกินสิ่งที่กล่าวถึงไม่น่าจะไปช่วยลดตะกรันที่ติดอยู่ตามหลอดเลือดได้ ปลาทะเล น้ำมันมะกอก มีไขมันดีไปช่วยขับตะกรัน น้ำมันเก่าออก ? การที่บอกว่าจะไปช่วยลดตะกรันที่มีอยู่แล้ว ก่อตัวอยู่แล้ว คงไม่สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนที่กล่าวมานั้นเห็นว่าเป็นอาหารที่มีไขมันคุณภาพดี ก็อาจจะช่วยทำให้การสร้างคอเลสเตอรอลไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเภทน้ำมันที่ใช้ทอด ซึ่งตัวนั้นเองจะส่งผลเสียต่อร่างกาย สำหรับอะโวคาโด ? อะโวคาโด 1 ผลจะให้น้ำมันหรือไขมันเทียบเท่ากับประมาณ 8 ช้อนชา ดังนั้นถ้ากินปริมาณที่มากก็อาจทำให้ได้รับไขมันที่มากเกิน อาจจะส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้มีภาวะอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเริ่มหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเช่นเดียวกัน “ชาเขียว” ช่วยคนเป็นโรคหัวใจ ได้จริงหรือ ? มีรายงานการศึกษาว่าชาเขียวมีสารประเภทเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระ บางการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยทำให้ระดับการอุดตันของหลอดเลือดอาจจะลดน้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม ชาเขียวก็เหมือนกับกาแฟ หรือชาอื่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความจำไม่ดี ให้กินปลาทู หอยแครง หอยนางรม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ มีข้อหนึ่งระบุว่า หากความจำไม่ดี ให้กินปลาทูวันละ 2 ขีด หอยแครง และหอยนางรม ซึ่งมีธาตุสังกะสี ช่วยสมองได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม ประธานหลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการแนะนำให้กินสังกะสีจากปลาทูวันละ 2 ขีด หอยแครง และหอยนางรม ปริมาณเท่านี้ สำหรับผู้ใหญ่ “ได้” เพราะถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ที่กินได้ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 1-6 ขวบ และกินปริมาณเท่านี้ ถือว่าเป็นอันตราย มีงานวิจัยที่บอกว่า “สมดุลระหว่างสังกะสีกับทองแดง” มีบทบาทสำคัญในเรื่องความจำ การเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วก็มีรายงานพบว่าผู้ที่กินสังกะสีจากอาหารไม่เพียงพอ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การกินสังกะสีให้เพียงพอก็เป็นแนวทางหนึ่งในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ และในเรื่องของความจำด้วย ปลาทู หอยแครง หอยนางรม มี “สังกะสี” ? ตามโจทย์ที่ว่ามา ปลาทู 100 กรัม (1 ขีด) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ให้อาหารนกพิราบ ติดเชื้อในสมอง ทำให้เสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความเตือน มีผู้เสียชีวิตจากนกพิราบ เป็นคนที่ให้อาหารนกพิราบประจำติดต่อกัน 2 ปี สุดท้ายติดเชื้อราในสมอง รักษาไม่ได้และเสียชีวิต จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวนกพิราบมีเชื้อรา และเชื้อราอยู่ในมูลของนกพิราบ คนสามารถติดเชื้อราที่อยู่ในมูลนกพิราบได้ เชื้อราจากมูลนกพิราบทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้จริง แต่จะต้องดูในรายละเอียดก็คือเป็นเชื้อราตัวไหน เชื้อราที่มาจากมูลนกพิราบและทำให้ติดเชื้อในสมองก็คือเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ต้องดูรายละเอียดด้วยว่าคนที่เป็นโรคสมองอักเสบจากเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์  (Cryptococcus Neoformans) และเสียชีวิตมีโรคประจำตัวอะไรหรือเปล่า การติดเชื้อราในสมองจากเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กินยากดภูมิคุ้มกัน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคตับแข็ง หรือว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่น ๆ สมมุติว่าเป็นผู้ป่วยเหล่านี้จริง การได้รับเชื้อปริมาณไม่มากก็สามารถเป็นโรคที่รุนแรงได้ แต่ถ้าเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรงดี โอกาสที่ติดเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ น้อยมาก ๆ นอกจากจะต้องได้รับเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ ปริมาณมาก ๆ ซึ่งกรณีนี้สัมผัสนกพิราบประมาณ 2 ปี แต่ละวันอยู่กับนกพิราบนาน ๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ เชื้อคริปโทค็อกคัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : มะเร็งเต้านมให้กินผักคะน้า มะเร็งปอดให้กินเสาวรส จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ “มะเร็งเต้านม ให้กินบรอกโคลี หรือผักคะน้าวันละ 5 ขีด มะเร็งปอด ทางเดินหายใจ ให้กินผลไม้ เช่น เสาวรส ฝรั่ง ส้ม มะนาว มะขามป้อม มะละกอ มะม่วง” จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม ประธานหลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลบางส่วนมีความถูกต้อง แต่ว่าข้อมูลบางส่วนอาจจะทำให้เข้าใจผิด ใครไปปฏิบัติตามอาจจะไม่ได้ผล หรืออาจจะก่อผลเสียตามมาด้วย “มะเร็งเต้านม” ให้กินบรอกโคลี หรือผักคะน้า ? ผักคะน้า กับ บรอกโคลี จัดว่าเป็นผักตระกูลกะหล่ำ หรือเรียกว่า Cruciferous vegetables ผักตระกูลกะหล่ำ ถือเป็นผักที่มีหลักฐานงานวิจัยมากที่สุด ในแง่ของการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดต่าง ๆ รวมถึงมะเร็งเต้านมด้วย ที่แนะนำให้กินวันละ 5 ขีด น่าจะมากไปหน่อย เพราะวันละ 5 ขีด เท่ากับ 500 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: รวมมือลอบสังหาร “โดนัลด์ ทรัมป์” ตัวปลอมที่ถูกแชร์ว่อนเน็ต

ก่อนการระบุตัวตนผู้ลอบสังหาร โดนัลด์ ทรัมป์ บนสื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ภาพและข้อมูลของบุคคลหลายรายที่ถูกอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นผู้ก่อเหตุลอบสังหารกระฉ่อนโลก

เก็ง 5 มุกมิจจี้ ดิจิทัลวอลเล็ต | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

30 กรกฎาคม 2567 คุณคิดว่า “มิจฉาชีพ” หรือแบบที่หลายคนเรียกว่า “มิจจี้” จะฉวยโอกาสนำ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาหลอกลวงเรากันอย่างไรบ้าง ? วันนี้ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 5 มุกมิจฉาชีพที่อาจมาพร้อมดิจิทัลวอลเล็ตมาเตือนภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลงทะเบียนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น  หนึ่งในกลลวงที่อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ คาดว่ามาแน่ คือ แอปพลิเคชันปลอม ที่ตั้งชื่อคล้าย โลโก้เหมือน มีตัวอย่างให้เห็นมาหลายเคส ทั้ง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ที่ต่างก็เคยโดนมิจฉาชีพปลอมมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้ อาจมีการเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรือเรียกเก็บค่าบริการแอปพลิเคชัน ทำยังไง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแอปผี ? ก่อนจะดาวน์โหลด ต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงหรือไม่ ของจริงต้องชื่อ “ทางรัฐ” เท่านั้น เป็นต้องเป็นแอปทางรัฐแท้ที่มาจาก App store (iOS) หรือ Play Store (Android)  สำหรับคนที่เข้าไปค้นคำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักสิ่งแวดล้อมวางแผนลดประชากรโลก ก่อนโควิด-19 ระบาด จริงหรือ?

เจน กูดดอลล์ เชื่อว่ายิ่งผู้หญิงมีการศึกษามากเท่าไหร่ โอกาสการมีลูกเกินความจำเป็นก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ เสี่ยงระเบิดได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าไปในลิฟต์ เพราะประจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก จนระเบิดได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น ที่เขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ในปี 2564 ส่วนสาเหตุการระเบิด ไม่ได้เกิดจากการนำแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์แต่อย่างใด เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการชาร์จหรือการคายประจุเท่านั้น ดังนั้น การระเบิดอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดัดแปลงแบตเตอรี่ หรือมีความร้อนสูงเกินไป นอกจากนั้น ยังพบรายงานเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากการดัดแปลงแบตเตอรี่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอาจลุกไหม้ได้ หากความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในการผลิต การใช้งานผิดวิธี ความเสียหายจากภายนอก ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้เกิดการระเบิดภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอนั้น ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ อ้างอิง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือแผนลดประชากรโลกของ WHO จริงหรือ?

อ้างถึงโครงการวัคซีนเพื่อการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ของ WHO เมื่อปี 1974 ที่มีการทดลองใช้วัคซีน anti-HCG ยับยั้งการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว ไม่ใช่การทำหมันอย่างถาวร

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเสริมแก้อาการหนังตาตก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความแนะนำอาหารเสริมที่สามารถช่วยแก้อาการหนังตาตกได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ไม่มีอาหารเสริมใด ๆ แก้อาการหนังตาตกได้ ภาวะ “หนังตาตก” เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการดึงเปลือกตา โดยทั่วไปที่เราเห็นเปลือกตามีร่อง 2 ชั้น เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อทางการแพทย์ว่ากล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา (levator muscle) ทำหน้าที่ดึงเปลือกตาทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น ถ้ากรณีที่มีปัญหากับการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา ไม่ว่าจะเป็นจากตัวกล้ามเนื้อตาเองหรือเป็นจากระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาหนังตาตก การรักษาเรื่องนี้ก็คงต้องรักษาตามสาเหตุ วิธีการรักษาหนังตาตก ? “หนังตาตก” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ กลุ่ม 1. หนังตาตกแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ดึงเปลือกตา กลุ่ม 2. หนังตาตกตอนโต อาจจะมีโรคทางระบบร่างกายบางชนิดที่พบบ่อย เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis : MG) ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอ่อนแรง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ออกกำลังกายวันละ 35 นาที ลดเสี่ยงภาวะซึมเศร้า จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า การออกกำลังกายวันละ 35 นาที สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.วิศรัชต์ พฤฒิถาวร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช การออกกำลังกายวันละ 35 นาที มีส่วนลดความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าได้จริง จากงานวิจัยที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้กล่าวถึงอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับการใช้การออกกำลังกายเป็นส่วนเสริมในการรักษาภาวะซึมเศร้า และพบว่าการออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการลดอาการซึมเศร้าได้ สำหรับข้อมูลที่แชร์มาเน้นเรื่องการป้องกัน เป็นลักษณะช่วยลดความเสี่ยงด้วย แต่การระบุว่าออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวสามารถลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้โดยตรง ยังต้องการข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม เพราะการวิจัยมีรูปแบบและข้อจำกัดหลายอย่าง เกณฑ์ประเมินภาวะซึมเศร้า ? ปัจจุบัน การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าจะเน้นที่กลุ่มอาการ เช่น มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ มีอาการเรื่องการนอน การกินอาหารที่เปลี่ยนไป หรือเรื่องของความคิดที่อาจจะเกิดความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือว่าคิดโทษตัวเอง รู้สึกไร้คุณค่า อาการเหล่านี้จะต้องมีต่อเนื่องและมากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 สัปดาห์ ถ้าไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือเป็นบางครั้งบางคราว และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติก็จะไม่เข้าเกณฑ์ภาวะซึมเศร้า สาเหตุ “ซึมเศร้า” มีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องของพันธุกรรม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสงแดดกับการปกป้องดวงตา

แสงแดดทำอันตรายกับดวงตาได้แค่ไหน แว่นกันแดดจำเป็นหรือไม่ และควรเลือกเลนส์แว่นกันแดดอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “แสงแดด” สามารถทำอันตรายกับดวงตาได้ทุกส่วน แสงที่เป็นอันตรายกับดวงตาอย่างมาก คือแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นที่เรียกว่า “อัลตราไวโอเลต” หรือที่คุ้นเคยกันคือ แสงยูวี (Ultra Violet) ที่มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 ถึง 400 นาโนเมตร ในแสงยูวียังแบ่งออกเป็นโซนของแสงยูวีเอ ยูวีบี ยูวีซี (มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 นาโนเมตรขึ้นไป) แสงยูวีซี (UV-C) มักจะไม่พบในแสงแดดธรรมชาติทั่วไป แต่นำไปใช้ทางการแพทย์ เช่น นำมาทำเลสิกผ่าตัดแก้ไขสายตา แสงยูวีเอ ยูวีบี ทำอันตรายกับดวงตาได้อย่างไร รังสีอัลตราไวโอเลต ทั้งยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B) คลื่นแสงทั้ง 2 ชนิดนี้มีอันตรายต่อดวงตาค่อนข้างมากและพบอยู่ในธรรมชาติ โดยยูวีเอ (UV-A) จะมีความสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในบริเวณดวงตาได้ค่อนข้างสูงมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ สำหรับยูวีบี (UV-B) […]

1 22 23 24 25 26 277
...