4 วัดดัง กทม. เตรียมจัดสงกรานต์ วิถีน้ำ วิถีไทย

4 วัดดังในกรุงเทพฯ เตรียมจัดงานสงกรานต์ แต่งดกิจกรรมสาดน้ำ ประแป้ง ตามมติ ศบค. ชุมชนโดยรอบเชื่อจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง

ดาวพฤหัสบดีย้าย ราศีไหนปัง ราศีไหนพัง

วันนี้ดาวพฤหัสบดีย้ายจากราศีมังกร เข้าสู่ราศีกุมภ์ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อราศีต่างๆ วันนี้คับข่าวครบประเด็นจึงจะพาไปดูว่า การย้ายราศีครั้งใหญ่ของดาวพฤหัสบดีครั้งนี้ จะส่งผลให้ราศีไหนปัง และราศีไหนพัง รวมถึงวิธีทำบุญรับดาวพฤหัส เพื่อความเป็นสิริมงคล

“ทัวร์เที่ยวไทย” ความหวังใหม่ให้ผู้ประกอบการ

โครงการทัวร์เที่ยวไทย ที่รัฐบาลเพิ่งคลอดออกมา ถือเป็นโครงการแรกที่มุ่งตรงเข้าช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้สามารถต่อลมหายใจธุรกิจได้ แต่ในภาพรวมภาคเอกชนกลับเกิดคำถามถึงความชัดเจนจากโครงการนี้

ทำความรู้จัก “ซีม่าโลชั่น” ต้องใช้ปริมาณเหมาะสม

กรุงเทพฯ 25 มี.ค. – กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึง สำหรับยารักษาโรคผิวหนัง “ซีม่าโลชั่น” ที่มีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถูกรุ่นพี่ 2 คน นำซีม่า 6 ขวด ราดบนลำตัว จนเกิดแผลพุพอง อาการสาหัส วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ “ซีม่าโลชั่น” ซึ่งมีตัวยาชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นกรด หากใช้ในปริมาณมากและไม่ถูกวิธี เป็นอันตรายกับผิวหนังได้. – สำนักข่าวไทย

ความหวังธุรกิจการบิน กระตุ้นเที่ยวไทย

อุตสาหกรรมการบินเริ่มมีความหวัง เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก เริ่มคลี่คลายจากวัคซีน และรัฐบาลไทยส่งสัญญาณบวกเริ่มเปิดประเทศ 1 เม.ย.นี้ หลังผู้โดยสารหดหายไปเกือบ 70% จากผลพวงจากการปิดประเทศร่วม 1 ปี เชื่อหากเปิดประเทศแบบไม่ต้องกักตัว 1 ต.ค.นี้ นักท่องเที่ยวจะกลับมาเกือบ 60-70%

รับตัวผู้ต้องกักเมียนมาเข้า รพ.สนามชั่วคราวของ ตม.

หลังจากพบปัญหาการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองในสถานที่ต้องกักใน กทม. วันนี้โรงพยาบาลสนามชั่วคราว สำนักงานตรวจคนเมือง เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีระบบสุขาภิบาลครบครันตามมาตรฐาน ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย

วิธีเลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้ปลอดพยาธิ

นครราชสีมา 23 มี.ค. – การพบพยาธิตืดวัวที่ยาวถึง 18 เมตร ออกมากับอุจจาระของชายชาวหนองคาย ทำให้คนที่ชอบกินเนื้อวัวกังวลใจ นักปรสิตวิทยา เตือนว่า ต้องไม่ซื้อยาถ่ายพยาธิมากินเอง เนื่องจากการรักษาโรคพยาธิ มีความแตกต่างตามชนิดของพยาธิ และความรุนแรงของอาการ ควรพบแพทย์ รวมทั้งมีคำแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ปลอดพยาธิ. – สำนักข่าวไทย

ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม

บทความเนื่องในวันความสุขสากล 20 มีนาคม 2564 โดย ผศ.ดร. เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ เครือข่ายงานวิจัยนานาชาติเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (ไอร่าห์) ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม : ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนาน มีการวิเคราะห์สาเหตุทางวิชาการกันมามากมาย   แต่การแก้ไขในระดับโครงสร้างอย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล เราจึงเห็นปัญหานี้ยังคงอยู่แบบไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นได้ในเร็ววัน ตรงกันข้ามดูเหมือนจะปัญหานี้จะมากขึ้น โดยความเหลื่อมล้ำในสังคมจะรุนแรงขึ้นรื่อยๆ โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว หรือมี technological disruption และยิ่งซ้ำเติมด้วยการระบาดของของโควิด 19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะต่อแรงงานไร้ฝีมือและคนด้อยโอกาสที่ไม่มีทางเลือกในการทำงานมากนัก ซ้ำเติมโอกาสทางเศรษฐกิจและรายได้ที่น้อยอยู่แล้ว ปัญหาในสถานการณ์เช่นนี้ ที่มีช่องว่างทางเทคโนโลยี รวมทั้งช่องว่างทางรายได้และโอกาสในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ยิ่งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ  อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่ได้มาวิเคราะห์สาเหตุของความเหลื่อมล้ำที่มีการพูดกันมากในวงวิชาการและวิจัยอย่างมากมาย แต่จะพูดถึงประเด็นนี้ในอีกมุมหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำสัมพันธ์กับความสุขอย่างไรในทางวิชาการและทำไมเราจึงควรลดการเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อเพิ่มความสุขในสังคมอย่างจริงจัง มีการศึกษาวิจัยโดยนักวิชาการด้านความสุขจากนานาประเทศรวมทั้งจากงานของผู้เขียนเอง พบว่า ในประด็นเรื่องรายได้ บทบาทของรายได้โดยเปรียบเทียบหรือรายได้สัมพัทธ์ (relative income) มีความสัมพันธ์ต่อความสุขอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่ารายได้สัมบรูณ์ (absolute income) อาจจะไม่มีผลมากนักต่อความสุขก็ตาม จากการทดสอบเชิงประจักษ์จากงานศึกษาวิจัยต่างๆพอจะสรุปได้ว่า ในสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันน้อย ระดับความสุขของคนในสังคมจะสูงกว่า เมื่อเทียบกับสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันมาก ในขณะที่ระดับรายได้โดยตัวมันเองหรือรายได้สัมบูรณ์อาจจะไม่มีผลต่อความสุขเลย หมายความว่า ถึงแม้บุคคลหรือประเทศมีระดับรายได้ที่เป็นตัวเงินหรือ GDP สูงขึ้นเรื่อยๆ […]

ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร การันตี หน้ากากอนามัย ป้องกันโควิด

หลังจากป่วยโควิด-19 ต้องนอนรักษาตัวที่ รพ.ศิริราช นาน 82 วัน วันนี้ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร หายดีแล้ว ออกจาก รพ. กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แง่มุมของการรักษาโรค ปัจจัยที่อะไรที่ทำให้ ผู้ว่าฯ พ้นวิกฤติ และอัตราการติดเชื้อจากผู้ว่าฯ ทำไมมีแค่รายเดียว ติดตามจากรายงาน

จุฬาฯ ฝึกน้องหมาคัดแยกผู้ป่วย COVID-19 สำเร็จ

จุฬาฯ ฝึกน้องหมาคัดแยกผู้ป่วย covid-19 สำเร็จ น้องหมา เพื่อนสนิทของมนุษย์ ซึ่งมีความสามารถหลากหลาย ได้กลายเป็นข่าวโด่งดังขึ้นมา ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เมื่อสามารถดมกลิ่น และคัดแยกผู้ป่วยโควิด-19 ได้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังของคนไทย ที่อาจทำให้การแพร่ระบาด covid-19 ในประเทศมีตัวเลขเป็น 0

เร่งพัฒนาคลองในกรุงเทพฯ เชื่อมการท่องเที่ยวยั่งยืน

กทม.เปิดแผนพัฒนาคลองรอบกรุง เชื่อมโยงการท่องเที่ยว หลังคลองโอ่งอ่างได้รับรางวัลระดับโลก เชื่อหลังเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวจะมาเที่ยวมากขึ้น

ฉีดวัคซีนโควิด–19 ให้ชาว กทม. 7 กลุ่มเสี่ยง

หลังจาก กทม. เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มบุคลากรการแพทย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานมีโอกาสสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไปแล้ว วันนี้ถึงคิวของประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ 6 เขตติดกับสมุทรสาคร ที่เปิดให้เริ่มลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม” แต่วันนี้กลับพบว่ามีประชาชนเข้าเดินทางเข้าไปรับวัคซีนยังไม่มากนัก และหลายคนที่ไปก็ยังไม่เข้าใจกับการลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม

1 28 29 30 31 32 141
...