ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม

บทความเนื่องในวันความสุขสากล 20 มีนาคม 2564 โดย ผศ.ดร. เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ เครือข่ายงานวิจัยนานาชาติเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (ไอร่าห์) ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม : ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนาน มีการวิเคราะห์สาเหตุทางวิชาการกันมามากมาย   แต่การแก้ไขในระดับโครงสร้างอย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล เราจึงเห็นปัญหานี้ยังคงอยู่แบบไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นได้ในเร็ววัน ตรงกันข้ามดูเหมือนจะปัญหานี้จะมากขึ้น โดยความเหลื่อมล้ำในสังคมจะรุนแรงขึ้นรื่อยๆ โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว หรือมี technological disruption และยิ่งซ้ำเติมด้วยการระบาดของของโควิด 19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะต่อแรงงานไร้ฝีมือและคนด้อยโอกาสที่ไม่มีทางเลือกในการทำงานมากนัก ซ้ำเติมโอกาสทางเศรษฐกิจและรายได้ที่น้อยอยู่แล้ว ปัญหาในสถานการณ์เช่นนี้ ที่มีช่องว่างทางเทคโนโลยี รวมทั้งช่องว่างทางรายได้และโอกาสในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ยิ่งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ  อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่ได้มาวิเคราะห์สาเหตุของความเหลื่อมล้ำที่มีการพูดกันมากในวงวิชาการและวิจัยอย่างมากมาย แต่จะพูดถึงประเด็นนี้ในอีกมุมหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำสัมพันธ์กับความสุขอย่างไรในทางวิชาการและทำไมเราจึงควรลดการเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อเพิ่มความสุขในสังคมอย่างจริงจัง มีการศึกษาวิจัยโดยนักวิชาการด้านความสุขจากนานาประเทศรวมทั้งจากงานของผู้เขียนเอง พบว่า ในประด็นเรื่องรายได้ บทบาทของรายได้โดยเปรียบเทียบหรือรายได้สัมพัทธ์ (relative income) มีความสัมพันธ์ต่อความสุขอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่ารายได้สัมบรูณ์ (absolute income) อาจจะไม่มีผลมากนักต่อความสุขก็ตาม จากการทดสอบเชิงประจักษ์จากงานศึกษาวิจัยต่างๆพอจะสรุปได้ว่า ในสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันน้อย ระดับความสุขของคนในสังคมจะสูงกว่า เมื่อเทียบกับสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันมาก ในขณะที่ระดับรายได้โดยตัวมันเองหรือรายได้สัมบูรณ์อาจจะไม่มีผลต่อความสุขเลย หมายความว่า ถึงแม้บุคคลหรือประเทศมีระดับรายได้ที่เป็นตัวเงินหรือ GDP สูงขึ้นเรื่อยๆ […]

ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร การันตี หน้ากากอนามัย ป้องกันโควิด

หลังจากป่วยโควิด-19 ต้องนอนรักษาตัวที่ รพ.ศิริราช นาน 82 วัน วันนี้ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร หายดีแล้ว ออกจาก รพ. กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แง่มุมของการรักษาโรค ปัจจัยที่อะไรที่ทำให้ ผู้ว่าฯ พ้นวิกฤติ และอัตราการติดเชื้อจากผู้ว่าฯ ทำไมมีแค่รายเดียว ติดตามจากรายงาน

จุฬาฯ ฝึกน้องหมาคัดแยกผู้ป่วย COVID-19 สำเร็จ

จุฬาฯ ฝึกน้องหมาคัดแยกผู้ป่วย covid-19 สำเร็จ น้องหมา เพื่อนสนิทของมนุษย์ ซึ่งมีความสามารถหลากหลาย ได้กลายเป็นข่าวโด่งดังขึ้นมา ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เมื่อสามารถดมกลิ่น และคัดแยกผู้ป่วยโควิด-19 ได้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังของคนไทย ที่อาจทำให้การแพร่ระบาด covid-19 ในประเทศมีตัวเลขเป็น 0

เร่งพัฒนาคลองในกรุงเทพฯ เชื่อมการท่องเที่ยวยั่งยืน

กทม.เปิดแผนพัฒนาคลองรอบกรุง เชื่อมโยงการท่องเที่ยว หลังคลองโอ่งอ่างได้รับรางวัลระดับโลก เชื่อหลังเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวจะมาเที่ยวมากขึ้น

ฉีดวัคซีนโควิด–19 ให้ชาว กทม. 7 กลุ่มเสี่ยง

หลังจาก กทม. เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มบุคลากรการแพทย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานมีโอกาสสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไปแล้ว วันนี้ถึงคิวของประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ 6 เขตติดกับสมุทรสาคร ที่เปิดให้เริ่มลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม” แต่วันนี้กลับพบว่ามีประชาชนเข้าเดินทางเข้าไปรับวัคซีนยังไม่มากนัก และหลายคนที่ไปก็ยังไม่เข้าใจกับการลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม

เสนอ ศบค.เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 เม.ย.

ก.ท่องเที่ยวฯ เตรียมเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 เมษายนนี้ พร้อมเสนอหลายแพ็กเกจท่องเที่ยวกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศ

ไอเดียเจ๋ง! สเก็ตบอร์ดฝาโลงศพ “เทพพนม”

ช่วงนี้จะเห็นหลายคนถือสเก็ตบอร์ด เพราะเป็นกระแสกลับมานิยมอีกครั้ง ร้านขายโลงศพย่านสายไหม กรุงเทพมหานคร นำเอาโลงศพมาทำเป็นสเก็ตบอร์ด เรียกว่าเป็นไอเดียเก๋ๆ “สเก็ตบอร์ดลายเทพพนม”

ขึ้นบัญชีจับตาผู้พ้นโทษก่อเหตุซ้ำ

หลายครั้งที่พบว่าผู้พ้นโทษคดีฆ่า ก่อเหตุซ้ำต่อเนื่องหลังออกจากเรือนจำ กระทรวงยุติธรรมเร่งหาวิธีเฝ้าระวัง จัดวอชลิสต์ผู้พ้นโทษคดีสะเทือนขวัญ

งานสงกรานต์ 64 จุดไฟหวังการท่องเที่ยว

กรุงเทพฯ 6 มี.ค. – “สงกรานต์” หนึ่งในเทศกาลสำคัญของไทยที่สร้างความคึกคักให้กับทั้งภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แต่ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่สามารถจัดงานได้ ปีนี้สถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น แม้ภาครัฐยังไม่ประกาศรูปแบบชัด แต่ก็พอจะสร้างภาพฝันให้เหล่าผู้ประกอบการมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้. – สำนักข่าวไทย

ตัดไฟแต่ต้นลม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

กรุงเทพฯ 4 มี.ค. – คดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงในครอบครัว ทั้งลูกเมายาทำร้ายพ่อแม่ พ่อเมาเหล้าทำร้ายลูกและภรรยา นับวันจะเพิ่มมากขึ้น มีกฎหมายที่น้อยคนนักจะรู้จัก ซึ่งสามารถตัดไฟแต่ต้นลม ป้องกันปัญหาเหล่านี้. – สำนักข่าวไทย

หนุนวัคซีนพาสปอร์ต กระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หนุนรัฐออกมาตรการวัคซีนพาสปอร์ต ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครึ่งปีหลัง ขณะที่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติระดับบนซื้ออีลิทการ์ด โปรแกรมดูแลพิเศษ เข้าประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว เพราะเชื่อมั่นการป้องกันโควิด และอยากมาพักผ่อนในเมืองไทย

1 29 30 31 32 33 142
...