ศปฉ.ปชป.สรุปยอดหาเตียงผู้ป่วยโควิด ไร้ตกค้าง

ศปฉ.ปชป.สรุปตัวเลขช่วยหาเตียงผู้ป่วยโควิด หลังเปิดศูนย์ฯ เกือบเดือนครึ่ง ไม่มีผู้ป่วยตกค้าง หลายรายกลับบ้านได้ ช่วยทั้งคนไทยและต่างด้าว

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ไม่ป้องกันการตายจากโควิดกลายพันธุ์ จริงหรือ?

5 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางต่อโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ลดลง Oxford Research Group ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca ป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ ผลการทดสอบพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่บนโลกออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า วัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักหรือการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca ที่ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้โพสต์อ้างข้อมูลการศึกษาเมื่อวันที่ […]

มั่นใจความบริสุทธิ์ ความยุติธรรมของศาล

“วิรัช” บอกเตรียมใจมาแล้ว 2 ปี หลังอัยการ-ป.ป.ช.สั่งฟ้อง คดีถูกกล่าวหาทุจริตสร้างสนามฟุตซอล มั่นใจความบริสุทธิ์ ความยุติธรรมของศาล

ชัวร์ก่อนแชร์: มีอนุภาคนาโนในวัคซีน ช่วยชี้เป้าผู้รับวัคซีนผ่านระบบ 5G จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนไม่มีไมโครชิปสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย 5G อนุภาคนาโนที่มีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA คืออนุภาคนาโนของลิพิด ทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอที่ถูก Facebook แจ้งเตือนว่าเป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาอ้างว่าในวัคซีนโควิด 19 มีอนุภาคนาโนคล้ายกับไมโครชิปที่ติดตั้งบนผิวหนังสัตว์เลี้ยง เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตำแหน่งของคนผู้นั้นจะเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนทันที และด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ที่อยู่ของคนผู้นั้นก็จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน อนุภาคนาโนชนิดเดียวที่ยืนยันได้ว่ามีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ก็คือ อนุภาคนาโนของลิพิด สารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ส่วนอนุภาคนาโนที่ทำหน้าที่เป็นไมโครชิปหรือเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G นั้น เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อมูลอ้างอิง: https://www.politifact.com/factchecks/2021/mar/12/facebook-posts/no-covid-19-vaccines-do-not-contain-nanoparticles-/https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2673971/ หากได้รับอะไรมา […]

ร้องเปิดข้อมูลก่อสร้างรัฐสภาล่าช้า ต่อสาธารณชน

รัฐสภา 4 มิ.ย.-วัชระ-สมบูรณ์ ร้อง “ชวน” เปิดเผยข้อมูลมหากาพย์ก่อสร้างรัฐสภาล่าช้า เอื้อเอกชน งดค่าปรับเกือบ 2 พันล้านบาทหรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าวัคซีนโควิด19 จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: แม้สถิติการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดจะมากกว่าวัคซีนโควิด 19 แต่บริเวณเกิดลิ่มเลือดอุดตันแตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 มักจะพบที่หลอดเลือดดำในสมอง (CVT) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ความเห็นบนโลกออนไลน์ว่า ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อความที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์รวมกันกว่า 5 หมื่นครั้ง ตามการประเมินของเว็บไซต์ CrowdTangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 เมษายา 2021 ระบุว่า โอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดของผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 1 คน ต่อ 250,000 คน ส่วนอัตราการเกิดกับผู้รับวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้เกิดรอยช้ำทั้งแขน จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Mythdetector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: เป็นการสร้างความเข้าใจผิดด้วยรูปภาพที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาลงความเห็นว่ารอยช้ำในภาพซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ข้อศอก ไม่ใช่อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เพราะรอยช้ำจากวัคซีนจะอยู่บริเวณต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ใช้ฉีดยา ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลและรูปภาพจากผู้ใช้ Facebook ที่ชื่อว่า Katya Petrova โดยอ้างว่า Mayya Zankova ซึ่งอยู่ในรูปภาพเพิ่งจะผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มาได้ 7 ชั่วโมง และเกิดรอยช้ำรุนแรงไปทั่วทั้งแขน จนภาพและข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปแชร์ต่อกันกว่า 7 หมื่นครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Mythdetector พบว่าภาพดังกล่าวถูกนำไปส่งต่ออีกหลายครั้งโดยกลุ่มผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลในรูปที่ระบุชื่อว่า Mayya Zankova มีตัวตนหรือไม่ ลาลี เพิร์ทชาลิสวิลลี นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากโรงพยาบาล Evex Hospitals อธิบายว่าการฉีดวัคซีนอาจก่อให้เกิดรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยา หากเกิดอาการข้างเคียง รอยช้ำจะขยายตัวจากต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ฉีดยา แต่รอยช้ำที่ดูเหมือนมีการตกเลือดในรูปภาพที่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ไม่น่าเชื่อถือ ผลข้างเคียงเหมือนยาหลอก จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Colombiacheck (โคลัมเบีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ในฉบับ pre-print พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่รับยาหลอกประมาณ 11% กลุ่มผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4% ข้อมูลที่ถูกแชร์: บทความโจมตีประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดย The Epoch Times สำนักข่าวสายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปเผยแพร่ในหลายประเทศ ทั้งทาง Facebook และ Twitter บทความได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovac โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของผู้รับวัคซีน กลับไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเกิดขึ้นน้อยกว่าด้วยซ้ำ และอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำๆ ยังไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูงๆ อีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 […]

สธ.ดีเดย์ฉีดวัคซีนโควิดทั่วไทย 7 มิ.ย. ด้าน WHO ชี้แอสตร้าฯ-ซิโนแวคประสิทธิภาพดี ปลอดภัยสูง

สำนักข่าวไทย 2 มิ.ย.- กระทรวงสาธารณสุข เผยสัปดาห์นี้กระจายวัคซีนโควิด 2 ล้านโดสทุกจังหวัด สัดส่วนตามสถานการณ์ระบาด รองรับคิกออฟฉีดวัคซีนวันที่ 7 มิถุนายนนี้ WHO ชี้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวคที่ไทยใช้ ป้องกันอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ มีความปลอดภัยสูง ขอคนไทยเข้ารับการฉีดวัคซีน วันนี้ (2 มิถุนายน 2564) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดบรรยายสรุปเรื่องการกระจายวัคซีนในประเทศไทย ผ่านทางออนไลน์ด้วยระบบ Zoom โดยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทยอยส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวค ให้ทุกโรงพยาบาลแล้ว เพื่อคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 พร้อมกันทุกพื้นที่ โดยคนที่ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับการฉีดวัคซีนตามการนัดหมายของสถานพยาบาล ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะทยอยส่งวัคซีนให้โรงพยาบาลเป็นงวดๆ ในแต่ละสัปดาห์ ตามการจัดส่งของผู้ผลิต โดยสัปดาห์นี้จะกระจายวัคซีนทั้งของแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวครวมประมาณ 2 ล้านโดส คาดว่าทั้งเดือนมิถุนายนจะมีการส่งวัคซีนประมาณ 5-6 ล้านโดส จัดส่งให้ทุกจังหวัด ส่วนพื้นที่ระบาดจะได้รับสัดส่วนสูงกว่าพื้นที่ระบาดน้อย เช่น กรุงเทพมหานครได้รับประมาณ 1 ล้านโดส จะส่งให้ […]

1 236 237 238 239 240 499
...