กรุงเทพฯ 18 ก.ย. สวทช.จับมือ กฟผ. ชูความสําเร็จ ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ สู่ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าตอบโจทย์ สภาวะฉุกเฉิน นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. พร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้าน คุณภาพของประเทศ หรือNational Quality Infrastructure หรือ NQI ซึ่งปัจจุบันสวทช.ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนี้เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาทครอบคลุมหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยหนึ่งในนั้นคือ ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ หรือ Energy Storage ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไว้วางใจให้ สวทช.ร่วมดําเนินการ ซึ่งเป็นการใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะ มาบริหารจัดการพลังงานจากแหล่งผลิตและการใช้งาน โดยที่การใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือโซล่าร์เซลล์นั้น เป็นที่ทราบกันว่ามีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน การใช้ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน (Load) การที่จะทําให้แหล่งผลิต (Source) และLoad มีความสัมพันธ์กันนั้นเป็นเรื่องลําบาก ดังนั้นในโครงการนี้จึงใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะในการบริหารจัดการให้มีความสัมพันธ์กัน โดยอาศัยองค์ความรู้และศักยภาพของศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบ และวิศวกรรมหรือ DECC ในการออกแบบนําแบตเตอรี่ในระดับเซลล์มาประกอบเป็น แบตเตอรี่ระดับ โมดูลแพ็ค เพื่อนําไปใช้งานเฉพาะแบบทางด้านกักเก็บพลังงานทดแทนและปัจจุบันใช้งานจริงโดยมี Proven sites อยู่ที่ลําตะคองจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกักเก็บจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์จึงมีความสําคัญและนับเป็นก้าวสําคัญในการการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการใช้พลังงานสีเขียวในประเทศ ให้มีพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่นช่วงวิกฤต โควิด-19 ทั้งนี้ปัจจุบันระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าวได้รับการรับรองให้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายอัมพร โพธิ์ใย ผู้อํานวยการศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ (Cell battery) สําหรับยานยนต์ไฟฟ้าและแหล่งกักเก็บพลังงานในประเทศเนื่องจากไทยไม่มีวัตถุดิบในการทําขั้วแบตเตอรี่เหมือนกับประเทศจีนและประเทศในอเมริกากลาง ดังนั้นอุตสาหกรรมในประเทศจึงมีการซื้อแบตเตอรี่ระดับเซลล์มาจาก ต่างประเทศแล้วนํามาประกอบกันเป็น แบตเตอรี่โมดูล (Battery module) และแบตเตอรี่แพ็ค (Battery pack) และนําไปประยุกต์ใช้งานตามความต้องการการใช้พลังงานในแต่ละแบบอย่างไรก็ตามหากจะซื้อ แบตเตอรี่ในระดับโมดูล แล้วมาประกอบเป็นแบตเตอรี่แพ็คนั้น มักจะประสบปัญหาการนําไปใช้งาน เนื่องจาก แบตเตอรี่ในระดับโมดูลนั้น ผู้ผลิตมักจะจํากัดจํานวนเซลล์เป็นจํานวนเฉพาะมาด้วย และกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะขึ้นกับจํานวนเซลล์ที่นํามาต่อกัน หากเราต้องการออกแบบแบตเตอรี่ ให้มีแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้งานเฉพาะ จะไม่สามารถทําได้ เนื่องจากบริษัทที่ขายแบตเตอรี่โมดูลจะไม่ทําตามขนาดของเราเป็นการเฉพาะ หรือหากทําได้ก็ต้องใช้วงจร อิเล็กทรอนิกส์ในการแปลงแรงดันและกระแสไฟฟ้าเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้จะทําให้ราคาของแบตเตอรี่ โมดูลสูงขึ้น ทําให้มีน้ําหนักเพิ่ม แต่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายตามมาได้อีกเช่น การติดไฟ การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ในเวลาสั้น ฯลฯ นายอัมพร กล่าวว่า ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการออกแบบแบตเตอรี่ระดับโมดูล แพ็คของ DECCในการพัฒนาและออกแบบแบตเตอรี่ระดับโมดูล ต้องอาศัยระบบการบริหารจัดการพลังงานของแบตเตอรี่ (Battery Management System: BMS) ในระดับเซลล์ที่ถูกนํามาต่อร่วมกันจํานวนมาก โดยต้องบริหารจัดการ ทั้งการประจุไฟฟ้า (Charge) การคายประจุไฟฟ้า (Discharge) และการควบคุมทั้งอุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าทั้งนี้เพื่อให้ประสิทธิภาพการทํางานออกมาตามที่ออกแบบ และมีความปลอดภัยสามารถนําไปใช้ งานได้ในการบริหารจัดการทํางานของแบตเตอรี่ (Battery Management System, BMS) จะมีวงจร อิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์(Sensors) เช่นระบบควบคุมด้านความร้อน (Thermal Management System) กระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าประกอบกัน จากนั้นการนําแบตเตอรี่หลายๆโมดูลไปต่อรวมกันกลายเป็นแบตเตอรี่ แพ็ค ก็จะมีวงจรควบคุมตัวหลัก (Master BMS) คอยบริหารจัดการแบตเตอรี่ในระดับโมดูลอีกที จะเห็นได้ว่าหาก สามารถออกแบบแบตเตอรี่ในระดับโมดูลได้ก็จะเป็นการง่ายที่จะนําไปต่อขยายกันกลายเป็นแบตเตอรี่ ในระดับแพ็คได้ และทําให้สามารถออกแบบได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานแต่ละประเภทได้ทั้งนี้การออกแบบแบตเตอรี่โดยมีวงจรควบคุม BMS เป็นเรื่องใหม่สําหรับประเทศไทย ต้องใช้ความรู้ขั้นสูง แต่ก็มีความสําคัญอย่างมาก การนําเซลล์ที่ผลิตจากแหล่งอื่นมารวมกันแบบอนุกรมและแบบขนานเป็นแบตเตอรี่ โมดูล (Battery module) ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าในแต่ละเซลล์และนํามาบริหารจัดการเพื่อให้ได้ พลังงานทั้งการประจุและการคายประจุตามที่ต้องการ ทั้งนี้หากอุตสาหกรรมหรือนักออกแบบในประเทศสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมแบตเตอรี่ได้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเพื่อการนําแบตเตอรี่ไปใช้ขึ้นอีก มากมาย เช่น ใช้ในเครื่องมือแพทย์ การบิน การทหาร การขนส่ง ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างความมั่นคงด้าน พลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือwww.decc.or.th-สำนักข่าวไทย.