ครม.ไฟเขียวแผนก่อหนี้ใหม่ 2 หมื่นล้าน

ทำเนียบฯ 4 ม.ค.-ครม. ปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ เดินหน้าแผนก่อหนี้ใหม่ 20,700 ล้านบาท เสริมสภาพคล่อง  ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-การคลัง


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.เห็นชอบ ปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 โดยปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับพิ่ม 20,700 ล้านบาท จากเดิม  วงเงิน 1.344 ล้านล้านบาท เพิ่มเป็น 1.365 ล้านล้านบาท ส่วนแผนการชำระหนี้ ปรับเพิ่มขึ้น  22,941  ล้านบาท เป็น 362,233 ล้านบาท จากวงเงินเดิม ตาม 339,291 ล้านบาท ส่วนแผนบริหารหนี้เดิม ปรับปรุงเพิ่ม  31,588  ล้านบาท ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินรวมเพิ่มขึ้น 75,230 ล้านบาท จึงมอบหมายให้ บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบฯ 65 ปรับปรุงครั้งที่ 1 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนดังกล่าว  

สำหรับ แผนการก่อหนี้ใหม่ 20,700 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ 700 ล้านบาท คือ แผนเงินกู้เพื่อการลงทุนในโครงการพัฒนาของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.)  200  ล้านบาท และแผนเงินกู้ใช้หมุนเวียนของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) 500 ล้านบาท สำหรับอีก 20,000 ล้านบาท เป็นแผนเงินกู้เพื่อ  ใช้เป็นทุนหมุนเวียน ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อชดเชยราคาน้ำมันขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในส่วนของรัฐบาลไม่มีแผนการก่อหนี้ใหม่


ด้านการบริหารหนี้เดิม ปรับเพิ่มขึ้น 31,588 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยแผนการบริหารหนี้เดิมของรัฐบาล ปรับเพิ่มขึ้น  52,793 ล้านบาท และ แผนการบริหารหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจ ปรับลดลงสุทธิ 21,204  ล้านบาท โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับเพิ่มวงเงินกู้ออมสิน จากการปรับโครงสร้างหนี้ครบกำหนดในงบประมาณปี  66 วงเงิน 956 ล้านบาท  ขสมก.    ปรับลดวงเงินกู้ ธ. ออมสิน และ ธ. กรุงไทย จำนวน 5,222  ล้านบาท  ธพส.  ปรับเพิ่มสัญญาเงินกู้ ธ. กรุงไทย  จำนวน 2,400 ล้านบาท และ ธ.ก.ส.  ปรับลดวงเงินกู้โครงการจำนำผลิตผลทางการเกษตร (ปีการผลิต 2551/2552/2555/2556  2556/2557)  จากที่ได้ชำระคืนก่อนครบกำหนด วงเงิน 19,338 ล้านบาท 

ทั้งนี้ การปรับปรุงแผนฯ เป็นการปรับเพิ่มวงเงินปปรับโครสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ 2566-2569  เป็นหนี้เงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19  โดยออกพันธบัตรรัฐบาล  60,000 ล้านบาท  รวมทั้งการกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงการพัฒนา  เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ของรัฐวิสาหกิจ  เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง 

“ครม. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง  พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียด ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยง ตามความเหมาะสม และจำเป็น  หากรัฐวิสาหกิจ สามารถกู้เงินได้เอง ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม และจำเป็นของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง” นายธนกร กล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี