เกษตรฯ ออกประกาศคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ 7 ชนิด

กรุงเทพฯ 29 ต.ค. -กรมวิชาการเกษตรแจ้ง 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว หลังผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชเข้าหลักเกณฑ์ให้นักปรับปรุงพันธุ์จดทะเบียนเป็นเจ้าของพันธุ์พืชใหม่ผลิตขายได้แต่เพียงผู้เดียว เผยยอดรวมชนิดพืชตามประกาศขอรับความคุ้มครองได้ถึง 100 ชนิดแล้ว โดยยูคาลิปตัสขึ้นแท่นแชมป์แห่จดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิ์มากสุด


นางสาวอิงอร  ปัญญากิจ  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2564 นี้มีผู้แจ้งความประสงค์ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้เพิ่มเติมจำนวน 7 ชนิดพืช ได้แก่  พืชสกุลแคนนาบิส ถั่วลิสง  กะเพรา  บัวบก  โกโก้  กล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมและลูกผสม  และหอมแดง  กรมวิชาการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จึงนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช  เพื่อมีมติเห็นชอบเสนอพืชจำนวน 7 ชนิดพืชดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้   

สำหรับการพิจารณาชนิดพืชเพื่อออกประกาศเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถนำมาขอรับความคุ้มครองได้ พิจารณาเลือกจาก 3 ประเด็น คือ พืชที่มีความสำคัญและโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ  พืชที่มีนักปรับปรุงพันธุ์พืชของไทยทำการปรับปรุงพันธุ์ และพืชที่มีพันธุ์พืชพื้นเมืองให้เกษตรกรเลือกใช้ ซึ่งขณะนี้พืชทั้ง 7 ชนิดดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชและประกาศลงราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้แล้วส่งผลให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ สามารถนำพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ทั้ง 7 ชนิดมายื่นขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายได้  ทำให้ปัจจุบันมีชนิดพืชที่สามารถนำมาขอจดทะเบียนรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งมีจำนวน 93 ชนิดรวมเป็น 100 ชนิดแล้ว


รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวต่อว่า การนำพันธุ์พืชใหม่ตามชนิดที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มายื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองจะทำให้เจ้าของพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตขายหรือจำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร แต่มีข้อยกเว้นสามารถใช้ได้ในกรณีเพื่อการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพาะปลูกหรือขยายพันธุ์โดยเกษตรกร ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์หรือเพื่อการค้า  และถูกนำออกจำหน่ายด้วยความยินยอมของเจ้าของพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่ต้องการส่งเสริม กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช 

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมามีพืชตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ที่นักปรับปรุงพันธุ์ สถาบันการศึกษา เอกชน  มูลนิธิ  องค์กร และหน่วยงานภาครัฐได้ยื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองรวมจำนวนทั้งสิ้น 44 ชนิดพืช  รวม 1,732 คำขอ โดยชนิดพืชที่ขอยื่นจดทะเบียนรับความคุ้มครองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ยูคาลิปตัส   ข้าวโพด  แตงกวา/แตงร้าน  พริก   ข้าว  กล้วยไม้สกุลหวาย  มะเขือเทศ  ไม้ดอกสกุลขมิ้น  แตงโม  และบัว  นักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ต้องการจดทะเบียนพันธุ์พืชเพื่อขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช  สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช  โทรศัพท์  0 2940 7214.- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้