fbpx

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไปต่อ

กรุงเทพฯ 26 ต.ค.- สำนักงานอีอีซี ระบุรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ใช้เงินกู้ปลายปี 65 ยอมรับโควิด-19 กระทบผู้โดยสารเหลือเพียง 1-2 หมื่นคน/วัน เอกชนรายใหม่เข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไม่พบปัญหา แนะลงทุนไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม


นายคณิศ แสงสุพรรณ  เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี  เปิดเผยว่า การลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน  ยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เอกชนต้องได้สินเชื่อ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน  เพราะยัง มีความก้าวหน้าตามกำหนดอย่างต่อเนื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) แล้วร้อยละ 98.11 ระยะทาง 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่  

โดยภาคเอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563 ประกอบด้วย การสร้างถนน และสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน  โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีกร้อยละ 1.89 ภายในเดือนมกราคม 2565  เมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ  รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (Notice to Proceed, NTP) คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2565 ดังนั้น ปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพราะสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่า ให้เอกชนคู่สัญญาจัดหาสินเชื่อ ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ รฟท. ออก NTP ดังนั้นขั้นตอนการหาสินเชื่อจะแล้วเสร็จประมาณเดือน พฤศจิกายน 2565


กรณีภาคเอกชนรายใหม่เข้าบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์  เมื่อเผชิญกับไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารลดลงจากประมาณ 7-8 หมื่นคน/วัน เหลือเพียง 1-2 หมื่น คน/วัน นับเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน   รฟท. จึงรับขาดทุนมาโดยตลอด และต้องให้มีการถ่ายโอนการดำเนินการตามกำหนดจึงไม่จัดเตรียมงบประมาณไว้ล่วงหน้า  ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จึงหาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร วันที่ 20 ตุลาคม 2564 รฟท. และเอกชนคู่สัญญา จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลง  เพื่อให้ภาคเอกชนเข้าบริหาร แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง 

ประกอบด้วย  การเข้าบริหารรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต ลิงก์  ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2564 ตามกำหนดการที่วางไว้  โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่าย  บุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  เพื่อทำให้การเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษาระบบแอร์พอร์ต เรลลิงก์เป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด หรือ KPI ที่ รฟท. กำหนด ซึ่งได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบ  ฝึกอบรมพนักงาน 

อย่างไรก็ตาม รฟท. ยังเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร ไม่โอนรายได้ให้เอกชนในทันที แต่จะโอนให้เมื่อแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ โดยจะให้เอกชนนำค่าโดยสาร  ไปหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกำไรต้องส่งคืน รฟท. ดังนั้น รฟท. จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุน จากแอร์พอร์ต เรลลิงก์ อีกต่อไป  ประมาณ 600 ล้านบาทในปี 2564 โดยในวันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงิน  1,067  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10  สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์จำนวน 10,671  ล้านบาท ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะดำเนินการตามข้อตกลง ในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเจรจาหาทางออกร่วมกัน โดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ เพื่อนำ ครม.ต่อไป 


โดยภาคเอกชนได้เข้าบริหารรถไฟฟ้า ตามบันทึกข้อตกลง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ไม่พบปัญหาอุปสรรค  ในการให้บริการประชาชน โดย รฟท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดแนะ เอกชนรายใหม่  เริ่มลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์  ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม  อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม เพื่อเป็นตัวอย่างของการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเงินทุนภาคเอกชนมาร่วมในการพัฒนาประเทศ 

การร่วมทุนคือทั้ง 2 ฝ่าย รัฐและเอกชนเข้ามาร่วม “รับความเสี่ยงด้วยกัน”  โดยเอกชนนำเงินทุนมาลงทุนด้วย ต่างกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เอกชนรับจ้างรัฐบาล ซึ่งรัฐลงเงินจ้างเอกชนทั้งหมด และรัฐรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียวหากเกิดเหตุสุดวิสัย   การเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด  ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ  หวังเป็นกรณีโครงการร่วมทุนใน EEC เพื่อไม่จำเป็นต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา อย่างเช่นกรณีแอร์พอร์ท ลิงก์ เพราะ โครงการท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินอู่ตะเภา:เมืองการบินภาคตะวันออก กำลังจะเริ่มก่อสร้าง คาดว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จในช่วง 4 ปี ข้างหน้า คาดว่าผลกระทบจากโควิด-19 คงลดลงหมดไปแล้ว ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เตรียมลงนาม และได้พิจารณากระทบเหล่านี้ในสัญญา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบรอง ผอ.โรงเรียนดัง หน.แก๊งค้ายา พบข้าราชการเป็นลูกค้าเพียบ

รวบหัวหน้าแก๊งค้ายาเป็น “รอง ผอ.” โรงเรียนดังย่านปากเกร็ด พร้อมสมุน ขยายผลพบลูกค้าเป็นข้าราชการอีกจำนวนมาก

คนไทย-คนจีนขับรถไล่ชนกันหน้าคลับดังเมืองพัทยา คาดหึงหวงสาวที่มาด้วย

รถตู้ 3 คัน และรถฟอร์จูนเนอร์ 1 คัน ขับไล่ชนกันไปมา บริเวณหน้าคลับแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา พบเป็นศึกระหว่างคนไทย 1 กลุ่ม และคนจีน 1 กลุ่ม สาเหตุคาดมาจากคนจีนหึงหวงแฟนสาวที่มาด้วย

ปัญหาต่างชาติในภูเก็ต ตอนที่ 3

ปัจจุบันการเข้ามาทำธุรกิจรถเช่าของต่างชาติที่ใช้คนไทยเป็นนอมินีในภูเก็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถของชาวต่างชาติในภูเก็ตก็มากขึ้นด้วย ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่โยงใยไปถึงเรื่องของภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ไม่เฉพาะแค่ภูเก็ต แต่เป็นของเมืองไทยด้วย

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง คุณหญิงพรทิพย์ และพวก ในคดี GT200

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง “คุณหญิงพรทิพย์” และพวกรวม 10 คน ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ระบุไม่พบมีมูลความผิด ทุจริต มีการแสวงหาประโยชนแก่ตนเองและผู้อื่นโดยมิชอบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ขอให้เชื่อมั่น นำ ปท.แก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย  

“เศรษฐา” ขอให้เชื่อมั่นในตัวนายกฯ เข้าใจธุรกิจ พร้อมนำประเทศแก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย ลงมามือเปื้อนดิน ตีนเปื้อนโคลนบ้าง น้อยใจ รมว.คลัง ไม่มีอำนาจลดดอกเบี้ย  

“บิ๊กต่อ” ส่งทนายยื่นฟ้อง “ทนายตั้ม” แฉโยงเส้นเงินพนัน

“บิ๊กต่อ” ส่ง “อัจฉริยะ” เดินหน้าชน “ทนายตั้ม” ยกแรกยื่นฟ้องฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท หลังถูกกล่าวหาว่ามีเส้นเงินจากเว็บพนันโยงคนใกล้ชิด ผบ.ตร.

ทองคำนิวไฮ พุ่งกระฉูด 550 บาท ทองรูปพรรณแตะ 39,000 บาท

ทองคำเปิดตลาดปรับขึ้นรวดเดียว 550 บาท ทองแท่งขายออก 38,500 บาท ทองรูปพรรณขายออก 39,000 บาท ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่

รถไฟฟ้าสีเหลืองขัดข้องอีกแล้ว (29 มี.ค.)

รถไฟฟ้าสีเหลืองขัดข้องอีกแล้วช่วงสายวันนี้ (29 มี.ค.) ทำให้รถจากสถานีลาดพร้าว เดินทางไปถึงสถานีหัวหมาก ต้องสิ้นสุดที่สถานีศรีกรีฑา