เตือนแก๊งมิจฉาชีพหลอกเล่นแชร์-กู้เงินออนไลน์

กทม. 17 ก.ย. – เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้บางคนตกงาน ต้องการนำเงินเก็บไปลงทุน จึงเป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพหาผลประโยชน์ ด้วยการชักจูงให้มาลงทุนแชร์ในรูปแบบเงินออมผ่านเฟซบุ๊ก หรือไลน์ โดยเสนอผลตอบแทนสูงในเวลาสั้นๆ และวิธีการที่ง่ายแสนง่าย เพียงโอนเงินเข้ามา ก็จะได้เงินกลับไปในจำนวนที่มากขึ้น ยิ่งโอนมามากยิ่งได้เงินมาก ทำให้มีผู้เสียหายหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อสูญเงินนับแสนนับล้านบาท


ลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนสูง ในระยะเวลาอันสั้น” ข้อความจูงใจประชาชนให้ตกหลุมพรางเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพหลอกลงทุนออนไลน์ที่พบเห็นในข่าวเป็นประจำ เช่นเดียวกับกรณีนักเรียนหญิงชั้น ม.6 ที่ก่อเหตุจี้ชิงทองร้านทองย่านรัตนาธิเบศร์ เพราะถูกโกงเงิน 50,000 บาท จากการเล่นแชร์ออนไลน์

การหลอกลงทุนออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แชร์ลูกโซ่ และแชร์ออนไลน์ ที่เป็นการออมเงิน ซึ่งตั้งชื่อบ้านต่างๆ ตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้รับการร้องเรียนจากผู้เสียหายกว่า 400 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 43 ล้านบาท มีเหยื่อตั้งแต่วัยเรียนไปจนถึงวัยทำงาน แพราะเข้าถึงง่าย เพียงมีเฟซบุ๊ก ไลน์ รูปแบบการหลอกลวงส่วนใหญ่จะเหมือนๆ กันคือ เมื่อเหยื่อตัดสินใจร่วมลงทุน แก๊งมิจฉาชีพจะจ่ายค่าตอบแทนให้ในช่วงแรก เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อและตายใจว่าได้ผลตอบแทนแน่นอน จนมีการเพิ่มจำนวนเงินลงทุน สุดท้ายเหล่ามิจฉาชีพในคราบเท้าแชร์ก็จะปิดไลน์ ปิดเฟซบุ๊กหอบเงินหนีไป


ส่วนวิธีการสังเกตว่า การลงทุนออนไลน์ปลอดภัย หรือเป็นการหลอกให้ลงทุน สามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากการเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติในเวลาอันรวดเร็ว ให้สันนิษฐานได้เลยว่า เป็นมิจฉาชีพแฝงตัวมา

นอกจากนี้ยังพบแก๊งแอปเงินกู้ระบาดหนัก ส่ง SMS ทั้งในรูปแบบการได้รับโชค หรือแอปปล่อยสินเชื่อ ชักชวนให้กู้เงิน จากนั้นจะหลอกให้โอนค่าธรรมเนียมก่อนกู้ เมื่อเหยื่อโอนเงินแล้วจะบล็อกเบอร์หนี หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือ ให้กู้เงินจริง โดยใช้ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อยเพียงบัตรประชาชนใบเดียว ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่เช็กแบล็กลิสต์ แต่ในความเป็นจริงอาจจะขูดรีดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และเมื่อไม่ชำระหนี้ จะโทรศัพท์ข่มขู่ และส่งข้อความทวงหนี้ไปยังบุคคลที่อยู่ในบัญชีราชื่อในโทรศัพท์มือถือของผู้กู้

เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกลโกงของมิจฉาชีพ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจถูกต้องหรือไม่ เพียงนำชื่อบริษัทเงินกู้ไปเช็คที่ BOT License Check ของแบงก์ชาติ หรือหากตกเป็นเหยื่อแล้วให้รีบแจ้งความ หรือติดต่อศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร.1599 .- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นหาร่างใต้ตึกถล่ม

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.หรือไม่

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง. หรือไม่ ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบ ตร.พาผู้ต้องหาลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบกรณีมีตำรวจพาผู้ต้องหาลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ทั้งที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด

รวบมือปาหิน

รวบแล้วมือปาหินใส่รถ ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า

รวบแล้วมือปาหินใส่รถประชาชน ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า พบประวัติเคยถูกจับมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13

ข่าวแนะนำ

สร้างสถานการณ์ ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธที่ปัตตานี

คนร้ายสร้างสถานการณ์ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธ ในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบลายนิ้วมือ หาตัวผู้ก่อเหตุ